วิธีขอ เงินเยียวยาประกันสังคม ม.33 ม.39 ม.40 หลังติดโควิด
สำนักงานประกันสังคม ได้ออกมาตรการให้ เงินเยียวยาประกันสังคม ม.33 ม.39 ม.40 แก่ผู้ป่วยโควิด 19 ที่กลับมาหายดีแล้ว แต่ในระหว่างการรักษาทำให้มีผลกระทบต่อการขาดรายได้ โดยสามารถขอรับ เงินขาดรายได้ หลังหายโควิด ต้องยื่นเรื่องภายใน 2 ปี โดยวันนี้ The Thaiger ได้รวบรวมมาให้แล้ว ใครที่สามารถใช้สิทธิ์นี้ได้ ? ต้องทำอย่างไรบ้าง ?
เช็คเลย เงินเยียวยาประกันสังคม ม.33 ม.39 ม.40 หลังติดโควิด
เงินทดแทนการขาดรายได้ คืออะไร ?
เงินทดแทนการขาดรายได้สำหรับการหยุดงาน เพื่อการรักษาพยาบาลตามคำสั่งแพทย์ในรอบปีปฏิทิน ถ้าผู้ประกันตนลาป่วยโดยได้รับค่าจ้างจากนายจ้างครบ 30 วัน ตามกฎหมายของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานแล้วต้องหยุดงานตามคำสั่งแพทย์ต่อไปอีก ทางสำนักงานประกันสังคมจะจ่ายเงินเรียกว่า “เงินทดแทนการขาดรายได้” ซึ่งผู้ประกันตนได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ร้อยละ 50 ของค่าจ้าง
หลักเกณฑ์และเงื่อนไข ขอรับเงินขาดรายได้ เงินเยียวยาประกันสังคม
- ผู้ประกันตนม.33 ม.39 ม.40 จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ร้อยละ 50 ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 90 วัน ในรอบปีหนึ่งจะจ่ายให้ปีละไม่เกิน 180 วัน เว้นแต่เป็นอาการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ใช้จ่ายครั้งละไม่เกิน 365 วัน
- ในกรณีที่ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับค่าจ้างจากนายจ้างในระหว่างหยุดงาน เพื่อการรักษาพยาบาลตามกฎหมายของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน หรือมีสิทธิตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานสัญญาจ้างแรงงาน หรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างแล้ว
- กรณีผู้ประกันตนไม่มีสิทธิได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้จนกว่าสิทธิที่ได้รับเงินค่าจ้างนั้นได้สิ้นสุด จึงจะมีสิทธิได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ดังกล่าวเท่ากับระยะเวลาที่คงเหลือ
ผู้ประกันตน หลังติดโควิดรับเงินเยียวยาประกันสังคมอย่างไร ?
- ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 (ม.33)
กรณีลาป่วย จะได้รับค่าจ้าง 30 วันแรกจากนายจ้าง หากมีการรักษาตัวเกิน 30 วัน สามารถเบิกสิทธิประโยชน์กรณีขาดรายได้ จากประกันสังคมนับตั้งแต่วันที่ 31 ของการลาป่วยโดยได้รับเงินทดแทนร้อยละ 50 ของค่าจ้างจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท โดยได้รับครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน เว้นแต่โรคเรื้อรังไม่เกิน 365 วัน
- ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 (ม.39)
รับเงินทดแทนขาดรายได้ร้อยละ 50 โดยคิดจากฐานอัตราการนำส่งเงินสมทบ (4,800 บาท) ครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน เว้นแต่โรคเรื้อรังไม่เกิน 365 วัน
***ม.33 และ ม.39 จะพิจารณาจากเอกสารหลักฐาน และใบรับรองแพทย์ และผู้ประกันตนต้องมีการนำส่งเงินสมทบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนวันรับบริการทางการแพทย์ ตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขฯ***
- ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 (ม.39)
รับเงินทดแทนขาดรายได้ตามทางเลือก 1-2-3
เอกสารประกอบการยื่นคำขอรับเงินเยียวยาประกันสังคม
- แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (สปส.2-01)
- ใบรับรองแพทย์
- หนังสือรับรองจากนายจ้าง
- สำเนาบัตรประชาชนหรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้
- สถิติวันลาของผู้ยื่นคำขอ
- หลักฐานอื่น ๆ ที่เจ้าหน้าที่ขอเพิ่มเติมเพื่อประกอบการพิจารณา
- สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์ของธนาคารหน้าแรกที่มีชื่อ–เลขที่บัญชี (กรณีขอรับเงินทางธนาคาร)
ขอบคุณข้อมูลจาก : กระทรวงแรงงาน
เรื่อง : สิทธิโชติ ลังกากาศ
บรรณาธิการ : ทศพล ถิรเจริญสกุล
- สินเชื่อ A-Cash Gold ธ.ก.ส. วงเงินกู้รายละ 1 แสนบาท
- กู้สูงสุด 10 ล้านบาท สินเชื่อไทรทอง เช็คเงื่อนไขจากออมสินก่อน 30 เมษานี้
- สินเชื่อบุคคล Speedy loan กู้วงเงินสูงสุด 5 ล้านบาท ไม่ต้องมีหลักทรัพย์
- สรรพากร แจ้ง Youtuber ต้อง เสียภาษี 2564 เช็คเลย เสียภาษีอะไรบ้าง
- ประวัติ ลูกหนัง ศีตลา ลูกสาว ตั้ว ศรัณยู วง H1-KEY
? ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน The Thaiger