ข่าวการเมือง

สมรสเท่าเทียมเดือด สว.วรพงษ์ ไม่เห็นด้วย ลบคำว่าสามีภรรยา กดชายหญิงให้ลงไปเท่า LGBTQ

พลเอกวรพงษ์ สมาชิกวุฒิสภา ไม่เห็นด้วยขั้นตอนแก้กฎหมายสมรสเท่าเทียม กลัวคำว่า สามี-ภรรยา หายจากระบบภาษาไทย ชี้แก้แบบนี้ เซาะกร่อน บ่อนทำลายสถาบันครอบครัว แถมกดชายหญิงลงไปเท่า LGBTQ

วันนี้ (18 มิ.ย.67) ในการประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ 1 (สมัยวิสามัญ) พลเอกวรพงษ์ สง่าเนตร สมาชิกวุฒิสภา กล่าวถึงประเด็น พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือ สมรสเท่าเทียม วาระสองและวาระสาม หลังจากที่กรรมาธิการพิจารณาแล้วเสร็จ

พล.อ.วรพงษ์ กล่าวว่า ก่อนอื่นตนต้องขอทำความเข้าใจก่อนว่า ตนไม่ได้บอกว่าเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย กับการแก้ไขกฏหมายฉบับนี้เพื่อให้เกิดสภาพสมรสเ่ทาเทียม แต่ที่ตนจะบอก คือ ตนไม่ห็นด้วยในส่วนของวิธีการ แล้วก็หลักการในการแก้กฏหมายในครั้งนี้

โดยเฉพาะวิธีการแก้กฎหมายที่จะเอาคำว่าสามีและภรรยา เพศชาย-เพศหญิงออกไป แล้วใช้คำอื่นมาแทน เช่น คู่สมรส คู่หมั้น ซึ่งไม่ได้ระบุเพศที่ชัดเจนมาแทน โดยอ้างว่าเพื่อครอบคลุมเพศทุกกลุ่ม

การแก้ไขกฏหมายแบบนี้ ตนถือว่าเป็นการเซาะกร่อน บ่อนทำลายสถาบันครอบครัวอย่างรุนแรงที่สุด เพราะสถาบันครอบครัวเป็นสถาบันที่สำคัญสถาบันหนึ่งของสังคมไทย และกำลังอยู่ในสภาพที่เปราะบาง การดำเนินการดังกล่าวจะทำให้สถาบันครอบครัวพังทลายลงเร็วขึ้น

สมาชิกวุฒิสภารายนี้ยังยกเหตุผลหากไปถามคนทั่วไปว่า ครอบครัประกอบด้วยใครบ้าง ถามเด็ก ถามผู้ใหญ่ที่โรงเรียน คำตอบที่ได้ก็ประกอบด้วยพ่อ-แม่-ลูก พ่อคือผู้ชาย แม่คือผุ้หญิง หรืออาจบอกประกอดบด้วยสามี ภรรยาและบุตร คำพวกนี้มีการระบุเพศกำเนิดไว้ชัดเจน

สว วรพงษ์ สมรสเท่าเทียม

ที่สำคัญคือ คำว่าสามี-ภรรยาจะปรากฏอยู่ในกฏหมายฉบับบนี้เป็นที่แรก เพราะสามี-ภรรยาต้องเกิดจากการสมรส แต่หากเอาคำว่าสามีภรรยาออกไป ทั้งสองงคำนี้ก็จะหายออกไปจากระบบภาษาไทยทันที และหากถูกตัดสทิ้งไปก็จะสะเทือนไปถึงสถาบันครอบครัว สะเทือนไปถึงเรื่องเพศชาย-หญิง โครงสร้างทางสังคม สืบเนื่องไปจนโครงสร้างทางการศึกษา โครงสร้างของมหาดไทยด้วย

ดังนั้น พล.อ.วรพงษ์ จึงกล่าวว่าการแก้ไขตรงนี้จะบานปลายต่อไปอีก ต้องคิดให้ดีว่าผลกระทบที่จะเกิดขึ้นเป็นอย่างไร ตนจึงบอกว่าการแก้กฏหมายแบบนี้ ไม่ได้เป็นการยกระดับ LGBTQ ให้ขึ้นมาเท่าเทียมกับเพศชาย-หญิง แต่เป็นการกดเพศชายเพศ-หญิง ลงไปให้ไปเท่ากับ LGBTQ เอาไปรวมเป็นกลุ่มเดียวกัน แบบนี้ถามว่าอีกหน่อยคำว่าเพศมีเพศอะไรบ้าง เพศก็มี M-F ท่านเอาไปรวมกันทำให้ภาพมันเบลอๆ ไม่ชัด โดยที่ไม่ระบุเพศ

ครั้งนี้ ตนมั่นใจแล้วว่าถ้ากฏหมายนี้ออกไป ทางกลุ่มหลากหลายทางเพศจะต้องออกไปเรียกร้องโครงสร้างทางสังคม ขงองแบบเรียน ของมหาดไทยต่าง ๆ เพื่อให้เข้าไปในกลุ่มของท่าน เหมือนอย่างทะเบียนสมรสก็แออกแบบใหม่อีกแล้ว แล้วสังคมจะเป็นอย่างไร

พล.อ.วรพงษ์ ในฐาะสว. ย้ำว่า ติดใจวิธีการแก้กฏหมายฉบับนี้ ที่อ้างว่าประโยชน์จะเกิดกับกลุ่ม LGBTQ ที่มีอยู่ราว 10 % ในประเทศ แต่ขณะเดียวกันก็เป็นการทำลายสิทธิโดยชอบธรรมของคนส่วนใหญ่อีก 90 เปอร์เซนต์ คตรงนี้ที่สำคัญ

ตนจึงขอสรุปว่า การแก้ไขกฏหมายแบบนี้ได้ 10 เสีย 90 สังคมสภาพครอบครัว ถูกเซาะกร่อน บ่อนทำลายแบบมีนัยยะสำคัญ เพราะว่าท่านทำให้ภาพของครอบครัวเบลอไม่ชัดเจน ครอบครัวคืออะไรก็เบลอ ๆ เป็นสีเทาไป แทนที่จะบอกว่า พ่อแม่ลูก สามีภรรยาบุตร ก็กลายเป็นคู่สมรสบวกเด็กที่รับมาเลี้ยงอุปการะ มันก็เกิดปัญหาสังคมตามมา

ด้วยเหตุนี้ ตนเองจึงเสวนอแนวทางแก้ไขว่าให้คงคำว่า สามี-ภรรยา เพศชาย เพศหญิงไว้ ไม่ใช่เอาออกแล้วนำคำเดียวมาใส่.

อ่านข่าวเพิ่มเติม

 

 

 

 

 

 

 

Pachara

นักเขียนประจำที่ Thaiger จบการศึกษาด้านศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เคยผ่านประสบการณ์ผู้สื่อข่าวกีฬา เริ่มเขียนบทความกับ Thaiger ตั้งแต่ปี 2021 วิ่งกับการอ่านหนังสือ คือ กิจกรรมที่สนใจเป็นพิเศษ ช่องทางติดต่อ pachara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button