2 วิธีการยืนยันตัวตนการฝากเงินสดผ่านตู้ฝากเงินอัตโนมัติ (CDM) เริ่มใช้มาตรการแล้ววันนี้ ศึกษาก่อนไปฝากเงินได้เลย
หลังจากที่ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ร่วมมือกับ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และ สมาคมธนาคาร ได้ออกมาตรการในการแสดงตนของผู้ฝากเงินผ่านตู้ CDM (Cash Deposit Machine) ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายน 2566 เป็นต้นไป วันนี้จึงขอพาทุกคนมาดูวิธียืนยันตัวตนเมื่อฝากเงินผ่านตู้ CDM ที่ใคร ๆ ก็สามารถทำตามได้ไม่ยาก
วิธียืนยันตัวตนของผู้ฝากเงินสด CDM
สำหรับผู้ที่ต้องยืนยันตัวตน จะต้องเป็นผู้ฝากเงินเข้าบัญชีภายในและต่างธนาคาร และชำระด้วยบิลเงินสดที่ตู้ CDM สามารถยืนยันตนได้ 2 ทาง โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ดังนี้
1. ยืนยันตัวตนด้วยหมายเลขบัตรประชาชน และ หมายเลขโทรศัพท์มือถือคู่กับรหัส OTP
ให้กรอกเลขบัตรประชาชน และเบอร์โทรศัพท์มือถือ จากนั้นรอรับ SMS OTP และกดรหัสที่ได้รับในระบบตู้ CDM (จำนวนวงเงินฝากสูงสุดไม่เกิน 30,000 บาทต่อครั้ง)
2. ยืนยันตัวตนด้วยบัตรเอทีเอ็ม บัตรเดบิต หรือ บัตรเครดิต
เสียบบัตรเอทีเอ็ม บัตรเดบิต หรือบัตรเครดิต พร้อมใส่ PIN (รหัสของบัตร) (จำนวนวงเงินฝากสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาทต่อครั้ง)
รายชื่อธนาคารที่ให้บริการยืนยันตัวตนผ่านตู้ฝากเงินสดอัตโนมัติ
วิธีการยืนยันตัวตนผู้ฝากเงิน | ตู้ฝากเงินสดอัตโนมัติ (CDM) | บัญชีรับปลายทาง |
1. กรอกหมายเลขบัตรประชาชน + หมายเลขโทรศัพท์มือถือ + OTP | 9 ธนาคาร ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย, ธนาคารกสิกรไทย, ธนาคารไทยพาณิชย์, ธนาคารกรุงเทพ, ธนาคารกรุงศรีอยุธยา, ธนาคารทหารไทยธนชาต, ธนาคารยูโอบี, ธนาคารส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และ ธนาคารออมสิน | 13 ธนาคาร ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย, ธนาคารกสิกรไทย, ธนาคารไทยพาณิชย์, ธนาคารกรุงเทพ, ธนาคารกรุงศรีอยุธยา, ธนาคารทหารไทยธนชาต, ธนาคารยูโอบี, ธนาคารส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร, ธนาคารออมสิน, ธนาคารแลนด์แอนด์เฮาส์, ธนาคารไทยเครดิต, ธนาคารเกียรตินาคิน และ ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย |
2. บัตรเอทีเอ็ม บัตรเดบิต บัตรเครดิต 2.1 บัตรเอทีเอ็ม 2 ธนาคาร ได้แก่ ธนาคารส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และธนาคารไทยเครดิต | ||
2.2 บัตรเดบิต 13 ธนาคาร ได้แก่ธนาคารกรุงไทย, ธนาคารกสิกรไทย, ธนาคารไทยพาณิชย์, ธนาคารกรุงเทพ, ธนาคารกรุงศรีอยุธยา, ธนาคารทหารไทยธนชาต, ธนาคารยูโอบี, ธนาคารส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร, ธนาคารออมสิน, ธนาคารแลนด์แอนด์เฮาส์, ธนาคารไทยเครดิต, ธนาคารเกียรตินาคิน และ ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย | ||
2.3 บัตรเครดิต 3 ธนาคาร ได้แก่ ธนาคารกสิกรไทย, ธนาคารทหารไทยธนชาต และ ธนาคารยูโอบี |
มาตรการยืนยันตัวตนของผู้ฝากเงินสด เป็นมาตรการที่ ปปง. ธปท. และสมาคมธนาคารไทย ได้กำหนดขึ้น เพื่อป้องกันการฟอกเงิน จากการก่ออาชญากรรม ยาเสพติด รวมถึงธุรกรรมหลอกลวงทางการเงิน เช่น แก๊งคอลเซนเตอร์ กลุ่มมิจฉาชีพหลอกขายสินค้า อีกทั้งยังช่วยให้การทำธุรกรรมเงินสดเกิดความโปร่งใส ตรวจสอบได้ทั้งต้นทางและปลายทาง เพิ่มความปลอดภัยและความมั่นใจของประชาชน และสร้างภูมิคุ้มกันให้ระบบการเงิน
เงื่อนไขและการให้บริการเพิ่มเติมของแต่ธนาคาร สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของธนาคาร หรือ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Call Center ของธนาคารที่ใช้บริการ
ค่าธรรมเนียมยืนยันตัวตนเมื่อฝากเงินกับตู้
กระบวนการยืนยันตัวตนกับตู้ทำได้ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย แต่ธนาคารจะคิดค่าธรรมเนียมสำหรับฝากเงินสด ดังนี้
ค่าธรรมเนียมฝากเงินจังหวัดเดียวกัน บัญชีอยู่จังหวัดเดียวกับตู้ที่ฝาก
- ไม่คิดค่าธรรมเนียม
ค่าธรรมเนียมการฝากเงินข้ามจังหวัด
- คิดค่าธรรมเนียม หมื่นละ 10 บาท + ค่าบริการ 10 บาท (ขั้นต่ำ 20 บาท/รายการ)
ค่าธรรมเนียมการฝากเงินข้ามธนาคาร
ฝากผ่านช่องทางตู้อัตโนมัติ ค่าธรรมเนียมเริ่มต้น 50 บาท/รายการ ดังนี้
- ยอดไม่เกิน 10,000 บาท ค่าธรรมเนียม 50 บาท/รายการ
- ยอด 10,001-20,000 บาท ค่าธรรมเนียม 60 บาท/รายการ
- ยอด 20,001-30,000 บาท ค่าธรรมเนียม 70 บาท/รายการ
- ยอด 30,001-40,000 บาท ค่าธรรมเนียม 80 บาท/รายการ
- ยอด 40,001-50,000 บาท ค่าธรรมเนียม 90 บาท/รายการ
- ยอด 50,001-65,000 บาท ค่าธรรมเนียม 100 บาท/รายการ
- ยอด 65,001-80,000 บาท ค่าธรรมเนียม 110 บาท/รายการ
- ยอด 80,001-100,000 บาท ค่าธรรมเนียม 120 บาท/รายการ
ขอบคุณข้อมูลจาก LH BANK
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- CIMB ประกาศงดยืนยันตัวตนผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิส คาดสาเหตุจากบัญชีม้า
- วิธีลงทะเบียนยืนยันตัวตน แอปฯ เป๋าตัง เตรียมรับเงินดิจิทัล 1 หมื่นบาท
- คลังแจงแล้ว เงินดิจิทัล 10,000 บาท ใครต้องยืนยันตัวตนใหม่บ้าง