เทคโนโลยี

Clubhouse คืออะไร? วิธีเล่นแอป Clubhouse โซเชียลน้องใหม่พูดคุยผ่านเสียง

ถือว่าเป็นแอปพลิเคชั่นที่อยู่ ๆ ก็ได้รับความนิยมอย่างน่าสนใจ ทั้งในต่างประเทศ และประเทศไทย กับ Clubhouse แพลตฟอร์มโซเซียลมีเดียที่เน้นปฏิสัมพันธ์ผ่านทาง ‘เสียง’ เป็นหลัก

Clubhouse คืออะไร – อย่างที่ได้กล่าวไปว่า Clubhouse ถือว่าเป็นแอปพลิเคชั่นที่ได้รับความนิยมอย่างในสนใจมากในช่วงนี้ โดยได้รับความสนใจจากไม่ว่าจะเป็นบุคคลชื่อดังทั้งหลาย และผู้คนจำนวนมากทั้งในต่างประเทศ และในประเทศไทย ซึ่งก็ได้รับการขนานนามจากสื่อต่าง ๆ ว่ามันจะเป็นแอปพลิเคชั่นดาวรุ่งตัวใหม่ในเวลานี้

แล้ว Clubhouse นั้นคืออะไร ในวันนี้ทาง The Thaiger จะมานำเสนอข้อมูลแบบคร่าว ๆ ให้ได้ทราบกัน รวมไปถึงวิธีการใช้งานมันด้วย

Clubhouse เป็นแอปพลิเคชั่นสื่อสังคม (Social Networking) ที่มุ่งเน้นไปในการเชื้อเชิญ และการสนทนาผ่านเสียงเท่านั้น พัฒนาโดย Alpha Exploration Co. ได้ทำการเปิดตัวในเดือนเมษายน ปี 2020 (2563) ซึ่งตัวแอปนั้นก็ได้มีการเติบโตอย่างคงที่นับตั้งแต่เปิดตัว แต่พอภายหลังจากที่ Elon Musk ได้ทำการให้สัมภาษณ์โดย GOOD TIME club ผ่านทางแอปนี้ และเจ้าตัวเองก็ได้มีการโปรโมทผ่านช่องทาง Twitter ทำให้แอปนี้เริ่มได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว

นอกจาก Elon แล้วนั้น ในบางประเทศเช่น เยอรมันนี ที่ 2 ผู้จัดรายการ Podcast ได้ทำการเชิญชวนแบบลูกโซ่ผ่านทาง Telegram ทำให้มีบรรดาผู้มีชื่อเสียงในวงการต่าง ๆ เริ่มหันมาใช้งานตามต่อกันมา

โดยในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ตัวแอปนี้ได้ถูกปิดกั้นการเข้าถึงในประเทศจีน เนื่องด้วยผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตชาวจีนเป็นจำนวนมาก ได้มีการใช้แอปพลิเคชั่นในการพูดคุน สนทนาแลกเปลี่ยนในหัวข้อต่าง ๆ รวมไปถึง หัวข้อทางการเมืองที่นับว่ามีความอ่อนไหวเป็นอย่างยิ่ง เช่น การประท้วนในพื้นที่ฮ่องกง และสถานะทางการเมืองของไต้หวัน

วิธีเล่น Clubhouse

ในส่วนของคุณลักษณะ (Features) ของมันนั้น ก็พอจะทำการแจงได้ประมาณนี้

  • เป็นแอปพลิเคชั่นที่เน้นในการใช้งานเสียงสนทนาเป็นหลัก
  • มีการเปิดให้ทำการสร้างห้องสนทนา หรือห้องสัมมนาจำลองขึ้นมา
  • สามารถทำการใช้งานเชิงสนทนาได้อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น การสัมมนา, การสนทนาแลกเปลี่ยน, ทอล์กโชว์, การแสดงดนตรี, การโต้วาที, แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นต่าง ๆ เป็นต้น
  • มีการจัดตั้งตำแหน่งเพื่อทำการบริหารจัดการห้องสนทนาดังกล่าว 3 ตำแหน่งด้วยกัน
    • Moderator (ผู้ดูแล) : เป็นตำแหน่งตั้งต้นเมื่อทำการสร้างห้องสนทนาของตัวเองขึ้น ซึ่งก็คือคุณเป็นทั้งผู้พูดหลัก และเป็นผู้ถือพลังควบคุมในห้องสนทนานี้ด้วย ไม่ว่าจะเป็น
      • การเชิญผู้พูดคนอื่น ๆ, การจัดประเภทของห้อง (ขนาด, จำนวนผู้พูด และอื่น ๆ)
      • ทำการบริหารจัดการสนทนา ในแนวทางต่าง ๆ
    • Speaker (ผู้พูด) : เป็นตำแหน่งหลักในห้องสนทนา โดยจะเป็นผู้ที่มีสิทธิ์ในการพูด และเป็นแรงขับเคลื่อนการสนทนาของห้อง
    • Listener (ผู้ฟัง) : เป็นตำแหน่งรองที่ก็สำคัญเช่นกัน โดยจะเป็นผู้ที่รับฟังการสนทนาในห้องต่าง ๆ หัวข้อต่าง ๆ ที่สนใจ
  • ตัวแอปนี้ก็มีกฎการใช้งานด้วยกันดังนี้
    • ต้องมีการใช้งานชื่อ-นามสกุลจริง รวมไปถึงตัวตนจริงในการใช้งาน
    • มีอายุขั้นต่ำอย่างน้อย 18 ปี (หรือแก่กว่า ถ้ามีการกำหนดในบางประเทศ)
    • จะต้องไม่มีการล่วงเกินผู้คนในกลุ่มต่าง ๆ รวมไปถึงการกระทำที่เป็นการเหยียดหยาม หรือก่อให้เกิดความรุนแรงแก่ผู้อื่น
    • จะต้องไม่มีการข่มขู่ หรือทำการเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวของบุคคลอื่น ๆ ที่อาจจะส่งผลเสียต่อบุคคลนั้น
    • จะต้องไม่มีการแลกเปลี่ยน บันทึก หรือทำการผลิตซ้ำเนื้อหาของการสนทนาในแอป โดยไม่ได้รับการยินยอมก่อน
    • จะต้องไม่มีสนทนาในบทสนทนา หรือเนื้อหาที่จะกระทบต่อลิขสิทธิ์ต่าง ๆ
    • จะต้องไม่มีการเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นเท็จ หรือข้อมูลที่มีการดัดแปลงเพื่อหวังผลบางอย่าง
    • จะต้องไม่มีการใช้งานบริการนี้เพื่อดำเนินการกิจกรรมที่ผิดกฎหมาย

ในส่วนของการใช้งานนั้นก็พอจะอธิบายคร่าว ๆ ได้ดังนี้

  • ตัวแอปนั้นยังคงจำกัดอยู่เพียงทาง App Store เท่านั้น หมายความว่ามีเพียงแค่ผู้ที่ใช้งานอุปกรณ์ของ Apple (โดยเฉพาะ iPhone เท่านั้น) เท่านั้นที่จะสามารถใช้งานได้ในเวลานี้
  • เมื่อทำการโหลดมาแล้วนั้น ตัวแอปจะจัดเราให้อยู่ในห้องรอการรับเชิญ ที่รอการเชิญเข้าห้องสนทนาเพื่อที่จะเปิดการใช้งานได้อย่างเป็นทางการ
    • ในกรณีที่อยากใช้งานได้เลยนั้น ก็ต้องมีการเชิญให้ทำการดาวน์โหลดตัวแอปจากผู้ใช้งานที่มีการใช้งานก่อนหน้า
    • โดยคาดว่านี้เป็นการคัดกรองผู้ใช้งานในเบื้องต้น เพื่อจำกัดจำนวนของผู้ใช้งานไม่พึงประสงค์ (Spam Accounts, Trolls และอื่น ๆ)
    • หรืออาจะเป็นความตั้งใจของผู้พัฒนาที่ต้องการใช้งานในความหมายของชุมชนให้มากขึ้น
  • ผู้ที่มีตำแหน่ง ๆ ต่างทั้ง 3 นั้นจะมีฟังก์ชั่นการใช้งานที่ต่างกันไป
    • Moderator สามารถที่จะทำการรับหรือปฏิเสธผู้พูดได้ โดยการกดเลือกที่โปรไฟล์ผู้ใช้งานที่ต้องการ เช่นเดียวกันกับการที่จะใบ้หรือยกเลิกผู้พูด รวมไปถึงการนำเอาผู้ใช้งานออกจากห้องสนทนาดังกล่าวด้วย
    • Speaker นั้นจะสามารถที่ปิดเสียงของตัวเองได้ ขณะทำการสนทนา และสามารถออกจากวงสนทนาได้อย่างเงียบด้วยเช่นกัน
    • Listener ก็จะสามารถทำการเข้าห้องสนทนาต่าง ๆ ตามแต่ที่ต้องการได้ ซึ่งก็สามารถดำเนินการได้โดยไม่ขัดการสนทนาในห้องนั้น ๆ
  • ในส่วนของระบบผู้ใช้งานทั่วไปนั้น เราสามารถทำการติดตาม, ปิดกั้น และแลกเปลี่ยนรายชื่อผู้ที่ปิดกั้นได้เช่นกัน
  • นอกจากนี้แล้วยังคงมีระบบการรายงานที่สามารถดำเนินการได้ทั้งในรูปแบบของในขณะนั้น (Real Time) หรือจะเป็นการรายงานในภายหลัง (Past) โดยระบบนั้นจะมีการบันทึกเสียงสนทนาชั่วคราวในระหว่างที่มีการสนทนาอยู่ แต่ถ้าเป็นการรายงานในภายหลังแล้วนั้นจะไม่มีการใช้งานการบันทึกดังกล่าว

โดยทั้งหมดนี้นั้นก็เป็นข้อมูลโดยคร่าว ๆ ของ แอปพลิเคชั่น Clubhouse ซึ่งผู้สนใจนั้นก็สามารถทำการดาว์นโหลดมาใช้งานกันได้ และยิ่งมีเพื่อนที่รู้จักได้ทำการใช้งานก่อนปล้วนั้นก็ยิ่งจะสะดวกต่อการใช้งานมากยิ่งขึ้น หากใครใคร่สนใจมุ่งเน้นในการสนทนาเป็นแล้วหลักแล้วนั้น ก็ถือเป็นแอปที่น่าสนใจไม่ใช้น้อยเลยทีเดียว

 

แหล่งที่มาของข้อมูล : Community Guideline – Clubhouse

สามารถติดตามข่าวเทคโนโลยีเพิ่มเติมได้ที่นี่ : ข่าวเทคโนโลยี

 

Thaiger deals

N. Siripariyasak

นักเขียนคอนเทนต์ จับประเด็นด้านเศรษฐกิจ-การเงิน, เทคโนโลยี, ไอที และเกมส์ อัปเดตข่าวทั้งจากในประเทศไทย และต่างประเทศ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button