การเงิน

กรุงไทย : มาตรการเยียวยาโควิด-19 สินเชื่อ, ลด-พักการชำระ, เปลี่ยนเงินกู้

ธนาคาร กรุงไทย ออกนโยบาย มาตรการ เยียวยาโควิด ให้แก่ลูกค้าที่ใช้บริการทางการเงินต่าง ๆ เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 ในเวลานี้

เยียวยาโควิดกรุงไทย – หลังจากที่ทางหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐบาลได้มีการดำเนินการออกนโยบาย มาตรการเยียวยา – ช่วยเหลือ ให้แก่ประชาชนทั้งหลายในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 ทางด้านธนาคาร – สถาบันการเงิน ทั้งของเอกชน และภาครัฐต่าง ๆ ก็ได้เริ่มมีการออกนโยบายดังกล่าวตามมาด้วยเช่นกัน เช่น ธนาคาร กรุงไทย, บริษัท อิออน ธนสินทรัพย์ เป็นต้น

โดยทางธนาคารนั้นได้มีการแบ่งมาตรการออกเป็น 2 กลุ่มหลักดังต่อไปนี้

  • มาตรการสำหรับลูกค้าบุคคล
    • มาตรการดังกล่าวนี้ถือว่าเป็น มาตรการช่วยเหลือระยะที่ 2 โดยมีระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. – 30 มิ.ย. 64 และแบ่งออกเป็น 3 ด้านด้วยกันดังนี้
      • สินเชื่อบุคคล ประเภทวงเงินหมุนเวียน : เปลี่ยนเป็นวงเงินกู้แบบกำหนดระยะเวลา (Term Loan) 48 งวด หรือ ขยายระยะเวลาได้ตามความสามารถในการชำระหนี้
      • สินเชื่อบุคคล แบบกำหนดระยะเวลา : ลดการผ่อนชำระลง 30% จากการผ่อนชำระตามสัญญากู้เดิม นานสูงสุด 6 เดือน
      • สินเชื่อที่อยู่อาศัย และสินเชื่อที่มี ที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกัน : พักชำระเงินต้น (ชำระเฉพาะดอกเบี้ย) นาน 3 เดือน หรือ ลดค่างวด โดยการขยายระยะเวลาการชำระหนี้
        • (สินเชื่อบ้าน, สินเชื่อ Home for Cash, สินเชื่อกรุงไทยบ้านให้เงิน)
    • คุณสมบัติของผู้เข้าร่วม
      • ลูกค้าที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมจากสถานการณ์แพร่ระบาดโรคโควิด 19 เช่น ธุรกิจสายการบิน, ธุรกิจโรงแรม หรือธุรกิจที่ปิดกิจการชั่วคราวตามประกาศทางราชการ เป็นต้น
      • ลูกค้าที่มีสินเชื่อส่วนบุคคลและสินเชื่อที่อยู่อาศัยกับธนาคาร
      • ลูกค้าที่มีประวัติการชำระปกติ ก่อนวันที่ 1 มี.ค. 63
        • หมายเหตุ : การพิจารณาเข้าร่วมมาตรการฯ อยู่ในดุลพินิจของธนาคาร กรณีที่ลูกค้าไม่สามารถชำระหนี้ได้ กรุณาติดต่อธนาคาร เพื่อรับคำปรึกษาและความช่วยเหลือที่เหมาะสมแก่ท่าน
    • เอกสารที่ใช้ในการลงทะเบียน
      • สำเนาบัตรประชาชนของผู้กู้
      • เอกสารแสดงการเปลี่ยนชื่อ-สกุล ผู้กู้ (ถ้ามี)
      • เอกสารแสดงรายได้ก่อนได้รับผลกระทบ
      • เอกสารแสดงรายได้หลังได้รับผลกระทบ
      • เอกสารแสดงความสัมพันธ์ของผู้ได้รับผลกระทบและผู้กู้* (ถ้ามี)
        • *หากเป็นบิดา มารดา บุตร แสดงเป็นสำเนาทะเบียนบ้าน หรือ เป็นคู่สมรสแสดงสำเนาทะเบียนสมรส เป็นต้น
    • สามารทำการลงทะเบียนได้ผ่านช่องทาง – ที่นี่
  • มาตรการสำหรับลูกค้าธุรกิจ
    • เป็นมาตรการภายใต้ชื่อ : โครงการ DR BIZ การเงินร่วมใจ ธุรกิจไทยมั่นคง มีระยะเวลาเริ่มต้นตั้งแต่ : ตั้งแต่ 1 ก.ย. 63 – 31 ธ.ค. 64
    • โดยมุ่งเน้นไปที่ลูกค้าที่มีวงเงินสินเชื่อกับธนาคารมากกว่า 1 แห่ง, มีวงเงินสินเชื่อรวมทุกธนาคาร ตั้งแต่ 50-500 ล้านบาท และได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและวิกฤติโควิค-19
    • ลูกค้าที่ขอรับมาตรการช่วยเหลือดังกล่าวจะได้รับการช่วยเหลือภายใน 3 รูปแบบด้วยกันได้แก่
      • ลด ค่างวดการผ่อนชำระ ตามความสามารถของลูกค้า
      • ยืด ระยะเวลาการปลอดชำระ ขยายระยะเวลาชำระหนี้ และทบทวนการใช้วงเงินที่เหลืออยู่ ตามความเหมาะสม
      • เสริม สภาพคล่องให้แก่ลูกค้าที่มีศักยภาพ มีความตั้งใจในการทำธุรกิจ มีแผนธุรกิจที่ชัดเจน
        • โดยธนาคารจะพิจารณาประกอบกับประวัติการชำระหนี้ที่ผ่านมา และเป็นไปตามหลักเกณฑ์การพิจารณาสินเชื่อของธนาคาร
    • คุณสมบัติของผู้เข้าร่วมโครงการ
      • เป็นลูกค้านิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดาที่มีวงเงินสินเชื่อธุรกิจกับธนาคารมากกว่า 1 แห่ง และมีวงเงินสินเชื่อธุรกิจรวมทุกธนาคาร ตั้งแต่ 50 – 500 ล้านบาท
      • ไม่เป็นหนี้เสีย ณ 1 ม.ค. 63 หรือเป็นหนี้เสียกับธนาคารบางแห่ง ตั้งแต่ 1 ม.ค.62 แต่สามารถพิสูจน์ได้ว่าได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สงครามการค้า และภัยธรรมชาติ โดยยังคงมีศักยภาพในการดำเนินธุรกิจต่อไปได้
      • ไม่ได้ถูกเจ้าหนี้รายใดรายหนึ่งฟ้องดำเนินคดีตามกฎหมาย หรือ เว้นแต่เจ้าหนี้ยอมถอนฟ้อง
    • ผู้ที่สนใจสามารถทำการลงทะเบียนเข้าร่วมได้ที่ : DR BIZ

 

ที่มา : ธนาคารกรุงไทย (KTB – KrungThai Bank)

 


#ข่าวเศรษฐกิจ #ข่าวการเงิน #ข่าวโควิด-19 #ธนาคารกรุงไทย #ธ.กรุงไทย #กรุงไทย #KrungThai Bank #KTB #มาตรการช่วยเหลือ #มาตรการเยียวยา #โควิด-19 #โควิด-19 ประเทศไทย #Covid-19

ไทยเกอร์นิวส์

นำเสนออัปเดตข่าวสารบ้านเมือง ข่าวล่าสุด มั่นใจว่าคุณจะทันทุกสถานการณ์ ไม่ว่า สังคมเศรษฐกิจ การเงิน การเมือง เรื่องร้อนออนไลน์ ดราม่าดารา อัปเดตบันเทิง ซีรีส์ หนัง เพลง ท่องเที่ยว กีฬา ตรวจหวย เลขเด็ด พร้อมเสิรฟ์ทุกเรื่องยาก ๆ ย่อยให้คุณเข้าใจง่าย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button