การเงิน

รวมเยียวยาโควิดจาก อิออน : ลด, พัก, เปลี่ยนสินเชื่อ

บริษัท อิออน ธนสินทรัพย์ (Aeon) หรือ อิออน ไออกนโยบายมาตรการเยียวยา ให้แก่ลูกค้าที่ใช้บริการบัตรเครดิต/สินเชื่อ เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 ในเวลานี้

อิออนเยียวยาโควิด – หลังจากที่ทางหน่วยงาน และสถาบันทางการเงินต่าง ๆ ของรัฐบาลได้มีการดำเนินการออกนโยบาย มาตรการเยียวยา – ช่วยเหลือ ให้แก่ประชาชนทั้งหลายในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 โดยบรรดาธนาคาร – สถาบันการเงินพาณิชย์ต่าง ๆ ก็ได้เริ่มมีการออกนโยบายดังกล่าวตามมาด้วยเช่นกัน เช่น ธนาคารทิสโก้, บริษัท อิออน ธนสินทรัพย์, ธนาคารยูโอบี เป็นต้น

โดยทาง อิออน นั้นได้มีการออกมาตรการในการช่วยเหลือ และเยียวยาให้กับบรรดาลูกค้า / ลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบ โดยก็มีอยู่ด้วยกัน 3 มาตรการดังนี้

  • มาตรการที่ 1 – ลดอัตราชำระคืนขั้นต่ำ (ไม่ต้องลงทะเบียน)
    • มาตรการนี้เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2563 ซึ่งจะมีผลตามใบแจ้งหนี้ครบกำหนดชำระ วันที่ 2 พฤษภาคม 2563 เป็นต้นไป
      • บัตรเครดิต : ลดอัตราชำระคืนขั้นต่ำ (เดิม 10%) – 5% ในรอบบัญชี (2/5/63 – 2/12/64) / 8% ในรอบบัญชี (2/1/65 – 2/12/65) / 10% ในรอบบัญชี (2/1/66)
        • ยกเว้นบัตรเครดิต AEON CORPORATE CARD ทุกประเภท / ยกเว้นรายการผ่อนชำระสินค้าและ/หรือบริการรายเดือน (AEON Happy Plan)
      • บัตรสมาชิกอิออน (สินเชื่อยัวร์แคช) : ลดอัตราชำระคืนขั้นต่ำ (เดิม 3%) – 1% แต่ไม่น้อยกว่า 300 บาท* ต่อรอบบัญชี ในรอบบัญชีที่ครบกำหนดชำระวันที่ 2/5/2563 ถึง 2/6/2564

        • ยกเว้นรายการผ่อนชำระสินค้าและ/หรือบริการรายเดือนของบัตร (AEON Happy Pay) / *ยอดชำระขั้นต่ำต้องไม่ต่ำกว่าดอกเบี้ยที่เรียกเก็บในรอบบัญชีนั้น
    • **ลูกค้าที่ค้างชำระเงินต้นหรือดอกเบี้ยเกินกว่า 90 วัน หรือ 3 เดือนนับแต่วันครบกำหนดชำระ วันที่ 1 กรกฎาคม 2563 จะไม่ได้รับสิทธิตามมาตรการช่วยเหลือด้านสินเชื่อนี้

บอกละเอียดยิบ โครงการเราชนะ ช่องทางลงทะเบียน ใครได้สิทธิ รูปแบบการจ่ายเงิน คลิกอ่านรายละเอียด

  • มาตรการที่ 2 – พักชำระหนี้ และ/หรือลดค่างวด (ต้องลงทะเบียน)
    • พักชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยเป็นระยะเวลาตั้งแต่ 3 เดือนแต่สูงสุดไม่เกิน 6 เดือน ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2563 เป็นต้นไป
    • ละ/หรือ ลดค่างวดสินเช่าซื้อรถยนต์/รถจักรยานยนต์ 30% – 50% เป็นระยะเวลาสูงสุดไม่เกิน 6 เดือน ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 เป็นต้นไป
    • สำหรับลูกค้าที่มีสถานะบัญชีปกติ*** และได้รับผลกระทบจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรค COVID-19 ซึ่งส่งผลให้รายได้ลดลง
      • สามารถทำการลงทะเบียนได้ – ที่นี่
      • ได้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2563 ถึง 30 มิถุนายน 2564 บริษัทจะพิจารณาอนุมัติเป็นรายกรณี
      • *การขอพักชำระหนี้ หมายความว่าลูกค้าสามารถหยุดการชำระทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยตามระยะเวลาที่พักชำระหนี้ แต่ทั้งนี้บริษัทฯ มีการคิดดอกเบี้ยในระหว่างที่หยุดพักชำระ
  • มาตรการที่ 3 – เปลี่ยนประเภทสินเชื่อเป็นสินเชื่อระยะยาว อัตราดอกเบี้ยพิเศษ 12% (ต้องลงทะเบียน)
    • ลูกค้าที่เป็นผู้ถือบัตรเครดิตและบัตรสมาชิกอิออน (สินเชื่อยัวร์แคช)
    • สามารถขอเปลี่ยนประเภทสินเชื่อเป็นสินเชื่อระยะยาว โดยได้รับอัตราดอกเบี้ยพิเศษ 12% ต่อปี อัตราชำระคืนขั้นต่ำ 3% ต่อเดือน
    • สำหรับลูกค้าที่มีสถานะบัญชีปกติ*** และได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ซึ่งส่งผลทำให้รายได้ลดลง
      • สามารถทำการลงทะเบียนได้ – ที่นี่
      • ได้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2563 ถึง 30 มิถุนายน 2564 บริษัทจะพิจารณาอนุมัติเป็นรายกรณี
      • **ลูกค้าต้องขอโอนหนี้เดิมไปเป็นสินเชื่อสินเชื่อระยะยาวใหม่ โดยบริษัทฯ จะระงับการใช้งานบัตรเครดิตและ/หรือบัตรสมาชิกอิออนเป็นการชั่วคราว
      • **ภายหลังลูกค้าชำระหนี้ปิดบัญชีสินเชื่อระยะยาวครบถ้วนแล้ว ลูกค้าจะสามารถใช้งานบัตรเครดิตและ/หรือบัตรสมาชิกอิออนได้ดังเดิม ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับประวัติการชำระเงินของลูกค้า

ภายในมาตรการที่ 2-3 นั้น ลูกค้าที่มีสถานะบัญชีปกติ*** คือ ***ลูกค้าที่ค้างชำระเงินต้นหรือดอกเบี้ยเกินกว่า 90 วัน หรือ 3 เดือนนับแต่วันครบกำหนดชำระ ณ วันที่ 1 กรกฎาคม 2563 จะไม่ได้รับสิทธิตามมาตรการช่วยเหลือด้านสินเชื่อนี้

 

แหล่งที่มาของข้อมูล – บริษัท อิออน ธนสินทรัพย์ (Aeon)

 


#ข่าวเศรษฐกิจ #ข่าวการเงิน #ข่าวโควิด-19 #บริษัท อิออน ธนสินทรัพย์ #อิออน #Aeon #มาตรการช่วยเหลือ #มาตรการเยียวยา #โควิด-19 #โควิด-19 ประเทศไทย #Covid-19

ไทยเกอร์นิวส์

นำเสนออัปเดตข่าวสารบ้านเมือง ข่าวล่าสุด มั่นใจว่าคุณจะทันทุกสถานการณ์ ไม่ว่า สังคมเศรษฐกิจ การเงิน การเมือง เรื่องร้อนออนไลน์ ดราม่าดารา อัปเดตบันเทิง ซีรีส์ หนัง เพลง ท่องเที่ยว กีฬา ตรวจหวย เลขเด็ด พร้อมเสิรฟ์ทุกเรื่องยาก ๆ ย่อยให้คุณเข้าใจง่าย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button