ราคาสินค้า / บริการ ในปี 2563 : ลดลง เช่นเดียวกับอัตรา เงินเฟ้อ
ทาง TPSO ได้ทำการแถลงสรุปในสถานการณ์ของ ราคาสินค้า และ บริการ ภายในช่วงเดือนธันวาคม และปี 2563 ที่ผ่านมา โดยรวมแล้วถือว่ามีการลดลงไปเป็นอย่างยิ่ง เช่นเดียวกับอัตรา เงินเฟ้อ
สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (TPSO) ได้ทำการสรุปถึงสถานการณ์ของ ราคาสินค้า และ บริการ ภายในระยะเวลาเดือนธันวาคม และปี 2563 ที่ผ่านมา โดยจากการสรุปนั้นทำให้พบว่า ราคาทั้ง 2 นั้นมีการลดลงไปอย่างมีนัยสำคัญ และอัตรา เงินเฟ้อ ก็ได้มีการลดลงไปเช่นเดียวกัน
โดยทางหน่วยงานได้ทำการสรุป แบ่ง 3 หัวข้อออกมาดังต่อไปนี้
- ภาพรวมทั้งหมด
ดัชนีราคาผู้บริโภค (เงินเฟ้อทั่วไป) เดือนธันวาคม 2563 เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน ลดลงร้อยละ 0.27 (YoY) นับว่าเป็นการปรับตัวที่ดีขึ้นตามสถานการณ์เศรษฐกิจที่เริ่มกลับมาทรงตัว โดยสินค้าที่มีราคาสูงขึ้นได้แก่ สินค้าจำพวกอาหารทั้งหลาย เนื่องด้วยยังคงมีความต้องการอย่างต่อเนื่อง และตัวสินค้าทางเกษตรทั้งหลายได้ผลจากภายธรรมชาติที่เกิดขึ้น
ส่วนสินค้าที่มีการปรับตัวลงนั้น ก็คือ สินค้าในกลุ่มพลังงาน เนื่องด้วยการใช้งานของน้ำมันเชื้อเพลิงลดลง, ค่าบริการการเดินทาง เช่น ค่าโดยสารสาธารณะ และค่าผ่านทางพิเศษ ที่มีการปรับลดลงตามมาตรการของภาครัฐ และสินค้าประเภทแป้งที่ก็ลดลงด้วยเช่น
ทั้งนี้สินค้าอื่น ๆ นอกจากนี้ยังถือว่ามีการเคลื่อนไหวแบบปกติ และเงินเฟ้อพื้นฐาน (เงินเฟ้อทั่วไปที่หักอาหารสดและพลังงานออกแล้ว) นั้น ได้เพิ่มสูงขึ้นมาร้อยละ 0.19 (YoY)
การปรับตัวของเงินนั้น มีผลส่วนหนึ่งมาจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ และพื้นฐานทางเศรษฐกิจของไทยยังอยู่ในระดับที่ดีในระดับหนึ่ง
- สถานการณ์เงินเฟ้อปี 2563
เงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยทั้งปี 2563 ปรับตัวลดลงร้อยละ 0.85 ซึ่งเป็นไปตามที่กระทรวงพาณิชย์คาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ -1.5 ถึง -0.7 และเงินเฟ้อพื้นฐาน (ไม่รวมอาหารสดและพลังงาน) สูงขึ้นร้อยละ 0.29 โดยปัจจัยที่ส่งในเชิงลบนั้นมาจาดสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 ที่กำลังแพร่ระบาดอยู่ทั่วโลก ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจต่าง ๆ และอุปสงค์ได้ชะลอตัวลงไป
ทางด้านของปัจจัยบวกที่ได้เข้ามาช่วยนั้นก็มาจาก การใช้จ่ายบริโภคในส่วนของสินค้าอาหารสด เนื่องด้วยการหันมาประกอบอาหารกันมากขึ้นทำให้การจับจ่ายในส่วนนี้เพิ่มขึ้นมา รวมไปถึงขณะที่เครื่องประกอบอาหาร เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ และอาหารบริโภคในบ้าน-นอกบ้าน ที่มีการปรับสูงขึ้นเล็กน้อย
ในส่วนของส่วนหมวดอื่น ๆ เคลื่อนไหวในทิศทางปกติชี้ว่าสถานการณ์ด้านราคาสินค้าและบริการของประเทศตลอดทั้งปี 2563 ยังอยู่ในระดับที่มีเสถียรภาพ สอดคล้องกับปัจจัยด้านอุปทานและด้านอุปสงค์
- แนวโน้มเงินเฟ้อภายในปี 2564
สถานการณ์เงินเฟ้อในปี 2564 คาดว่าจะยังคงเคลื่อนไหวในระดับเสถียรภาพ โดยมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น จากปัจจัยด้านอุปสงค์ ได้แก่ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐในรูปแบบต่าง ๆ อีกทั้งความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศมีทิศทางปรับตัวดีขึ้นตามสถานการณ์เศรษฐกิจ ซึ่งจะส่งผลดีต่อการส่งออกสินค้าและบริการของประเทศ
นอกจากนี้ อุปสงค์ด้านพลังงานที่เพิ่มขึ้นทั่วโลกจะส่งผลต่อราคาพลังงานภายในประเทศ โดยเฉพาะราคาน้ำมันเชื้อเพลิง สำหรับปัจจัยด้านอุปทานที่จะส่งผลบวกต่ออัตราเงินเฟ้อ ได้แก่ ราคาอาหารสดที่น่าจะยังขยายตัวต่อเนื่อง รวมถึง อุปทานด้านน้ำมันดิบ ที่มีการประกาศลดกำลังการผลิตเพิ่มเติม 0.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน ตั้งแต่เดือนมกราคม 2564 ส่วนราคาสินค้าและบริการในหมวดอื่น ๆ น่าจะยังคงเคลื่อนไหวในระดับปกติ
โดยได้มีการคาดการณ์ว่า เงินเฟ้อในปี 2564 จะเคลื่อนไหวระหว่างร้อยละ 0.7 – 1.7 (ค่ากลางอยู่ที่ 1.2) ซึ่งเป็นอัตราที่น่าจะช่วยสนับสนุนให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้อย่างเหมาะสมและต่อเนื่อง
แหล่งที่มาของข่าว : Facebook Page – สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า
- แรงงาน ลงมติลด เงินประกัน สมทบ พร้อมจ่ายทดแทน ว่างงาน โควิด-19
- ราคา Bitcoin ตกลง 13% ขณะที่ Altcoin ตัวอื่นยังคงเพิ่มขึ้น
- SHU เปิดสาขาใหม่ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา ศาลายา
- Disney+ หลุดราคาในไทย 219 บาท ต่อเดือน
#ข่าวการเงิน #ข่าวเศรษฐกิจ #ราคาสินค้า #ราคาบริการ #เงินเฟ้อ #อัตราเงินเฟ้อ #TPSO #สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า #กระทรวงพาณิชย์ #เศรษฐกิจไทย