การเงินเศรษฐกิจ

ด่วน! ไฟเขียว รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย เริ่มใช้ 1 ตุลาคม 68

มติ ครม. วันนี้ เคาะรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย เริ่ม 1 ต.ค. 68 หวังกระตุ้นเศรษฐกิจ-ดึงดูดนักท่องเที่ยว เปิดวิธีลงทะเบียน

8 กรกฎาคม 2568 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบมาตรการอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสูงสุด 20 บาทตลอดสาย ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ เริ่มบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2568 เป็นต้นไป เป็นหนึ่งในมาตรการเร่งด่วนของรัฐบาล เพื่อลดภาระค่าครองชีพให้กับประชาชน และคาดว่าจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวในภาพรวม

นโยบายนี้จะครอบคลุมโครงข่ายรถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวม 13 เส้นทาง ระยะทางเกือบ 280 กิโลเมตร จำนวน 194 สถานี ประกอบด้วยรถไฟฟ้าสายสีเขียว, สีทอง, สีเหลือง, สีชมพู, สีน้ำเงิน, สีม่วง, สีแดง และแอร์พอร์ต เรล ลิงก์

รัฐบาลประเมินว่า มาตรการดังกล่าวจะสร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม คิดเป็นมูลค่ากว่า 10,000 ล้านบาทต่อปี โดยผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจโดยตรงมาจากการที่ประชาชนสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง เมื่อเปลี่ยนจากการใช้รถยนต์ส่วนตัวมาใช้บริการรถไฟฟ้าแทน เงินส่วนต่างที่ประหยัดได้จะช่วยเพิ่มกำลังซื้อของภาคประชาชน และกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยในระบบเศรษฐกิจ

นอกจากนี้ การเดินทางที่สะดวกและมีค่าใช้จ่ายที่แน่นอน ยังช่วยส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้า ทั้งในด้านการค้าปลีก การบริการ และการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์

สำหรับภาคการท่องเที่ยว แม้ว่าเงื่อนไขการลงทะเบียนรับสิทธิ์ในเบื้องต้นจะจำกัดเฉพาะผู้มีสัญชาติไทย แต่การลดความหนาแน่นของการจราจรบนท้องถนน จะเป็นประโยชน์ทางอ้อมต่อนักท่องเที่ยวด้วยเช่นกัน เมื่อการจราจรคล่องตัวขึ้น จะช่วยให้นักท่องเที่ยวเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ ได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น

การมีระบบขนส่งมวลชนที่มีประสิทธิภาพและราคาเข้าถึงได้ ยังช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์ของกรุงเทพฯ ในฐานะเมืองท่องเที่ยวที่ทันสมัยและเป็นมิตรต่อนักเดินทาง ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการดึงดูดนักท่องเที่ยวคุณภาพจากทั่วโลก

รถไฟฟ้า BTS

เงื่อนไขการใช้สิทธิ์ วิธีลงทะเบียน รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย

ประชาชนที่ต้องการใช้สิทธิ์ค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสาย จะต้องลงทะเบียนเพื่อยืนยันตัวตนผ่านแอปพลิเคชัน “ทางรัฐ” ซึ่งจะเปิดให้ลงทะเบียนในช่วงเดือนสิงหาคม 2568 โดยใช้เลขบัตรประชาชน 13 หลัก

ผู้ใช้บริการสามารถผูกบัตรเครดิต บัตรเดบิต หรือบัตรแรบบิทที่เคยลงทะเบียนไว้กับแอปพลิเคชันเพื่อรับสิทธิ์ได้โดยอัตโนมัติเมื่อนโยบายเริ่มมีผลบังคับใช้ ทั้งนี้ ในอนาคตจะมีการพัฒนาระบบการชำระเงินผ่าน QR Code เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายยิ่งขึ้น

รูปแบบการจ่ายเงิน ชำระด้วยบัตรประเภทไหนบ้าง

ในระยะแรก ผู้โดยสารจำเป็นต้องใช้บัตรโดยสารให้ถูกต้องตามระบบของแต่ละสายเพื่อรับสิทธิ์ค่าโดยสาร 20 บาท ดังนี้

1. รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (MRT Blue Line) และ แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ (ARL)

    • สามารถใช้ บัตร MRT Plus หรือ บัตร EMV Contactless (Visa/Mastercard) ได้

บัตร MRT plus เป็นบัตรโดยสารชนิดเติมเงิน สามารถสะสมมูลค่าไว้ใช้เดินทางรถไฟฟ้าได้หลายเที่ยว ชำระค่าโดยสารรถไฟฟ้าอัตราปกติ

2. รถไฟฟ้าสายสีเขียว, สีทอง, สีเหลือง และสีชมพู

    • ต้องใช้ บัตร Rabbit ในการชำระค่าโดยสาร

ทั้งนี้ หากผู้โดยสารไม่ได้ลงทะเบียนผ่านแอปพลิเคชั่นทางรัฐ หรือใช้บัตรโดยสารที่ไม่รองรับในสายนั้นๆ จะต้องชำระค่าโดยสารในอัตราปกติ

จากนั้น ในปี 2569 จะเริ่มใช้ระบบ QR Code สำหรับสแกนจ่ายค่าโดยสารผ่านโทรศัพท์มือถือ โดยจะยกเลิกการใช้บัตรโดยสารในระยะยาว

ติดตาม The Thaiger บน Google News:

0 0 โหวต
Article Rating
สมัครรับข้อมูล
แจ้งเตือนเกี่ยวกับ
0 Comments
เก่าแก่ที่สุด
ใหม่ล่าสุด ถูกโหวตมากที่สุด
Inline Feedbacks
ดูความคิดเห็นทั้งหมด

Aindravudh

นักเขียนประจำ Thaiger มีประสบการณ์เขียนข่าวมากกว่า 5 ปี จบการศึกษาด้านภาษาและประวัติศาสตร์ จากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีความสนใจ ประเด็นความเคลื่อนไหวทางสังคมและการเมือง เจาะประเด็นข่าวทางสังคม ด้วยกลวิธีการเล่าเรื่องแบบย่อยง่าย อย่างงานเขียนสร้างสรรค์ สั้น กระชับ จับทุกประเด็น หัวข้อที่เชียวชาญคือเรื่องไลฟ์สไตล์ เลขเด็ด หวยรัฐบาลไทย หวยลาว ช่องทางติดต่อ vajara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button
0
เราอยากทราบความคิดเห็นของคุณ โปรดแสดงความคิดเห็นx