ข่าวการเมือง

ประวัติ เอกราช ช่างเหลา สส.ภูมิใจไทย ในวันโดนคุก คดียักยอกสหกรณ์ฯครู 431 ล้าน

เอกราช ช่างเหลา เกิดเมื่อ 3 เมษายน 2501 จังหวัดขอนแก่น จบการศึกษาด้านครุศาสตร์ รัฐศาสตร์ระดับปริญญาโทและเอก เคยเป็นในเทศบาลนครขอนแก่น ก่อนผันตัวเป็นผู้จัดการสหกรณ์ออมทรัพย์ครูขอนแก่น จำกัด และเข้าสู่ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้างหลายแห่ง

เขาเข้าสู่การเมืองครั้งแรกในปี 2549 ในฐานะสมาชิกวุฒิสภา ก่อนลงสมัคร สส. ขอนแก่น ในนามพรรคเพื่อแผ่นดิน (2550) แต่ไม่ผ่านการเลือกตั้ง แต่ยังคงเคลื่อนไหวอยู่เบื้องหลัง พร้อมสร้างความสัมพันธ์กับกลุ่ม “เพื่อนเนวิน” ในพรรคภูมิใจไทย ก่อนเข้าร่วมสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ภายหลังรัฐประหาร 2557

ปี 2562 ได้รับเลือกเป็น สส. บัญชีรายชื่อพรรคพลังประชารัฐ ดำรงตำแหน่งรองประธาน กมธ.การปกครอง กระทั่งปี 2565 ถูกขับออกจากพรรค และย้ายสังกัดพรรคภูมิใจไทย ได้รับเลือกตั้งเป็น สส. ขอนแก่น เขต 4 ในปี 2566

ต่อมา มีนาคม2568 แสดงความจำนงจะย้ายไปร่วมพรรคกล้าธรรมที่มี ร.อ. ธรรมนัส พรหมเผ่า เป็นแกนนำ รอ​ภูมิใจไทย ขับพ้นพรรคโดยไม่รอเลือกตั้งใหม่อีก 2 ปี ยืนยันคุยอนุทิ ชาญวีรกูล จบกันด้วยดี ไม่มีแตกหัก

เอกราชมีบทบาทสำคัญในจังหวัดขอนแก่น ทั้งในการเลือกตั้งระดับชาติและท้องถิ่น เขาผลักดันลูกชาย นายวัฒนา ช่างเหลา สู่ตำแหน่งนายก อบจ. ขอนแก่น ในปี 2567 โดยลงสมัครในนามพรรคเพื่อไทย แม้จะต่างจากพรรคของบิดา

ล่าสุดนายวัฒนา ได้นั่งหัวหน้าสาขาพรรคกล้าธรรม เมื่อปลายปีนาคมที่ผ่านมา

คดีทุจริตยักยอกสหกรณ์ฯครู 431 ล้าน

ขณะดำรงตำแหน่งผู้จัดการสหกรณ์ฯ (2554–2562) เอกราชถูกกล่าวหาว่ายักยอกเงินและปลอมเอกสาร มูลค่าความเสียหายกว่า 431 ล้านบาท โดยมีผู้ร่วมกระทำผิดอีก 4 ราย นายนพรัตน์ สร้างนานอก, นายสมศักดิ์ โคตวงศ์, นายนิวัฒร นิราศสูงเนิน, นางวราพร ธรณี เขายอมรับสภาพหนี้และตกลงชำระเงินบางส่วน

วันที่ 17 เม.ย. 2568 ศาลจังหวัดขอนแก่นพิพากษา คดีเลขดำที่ อ258/2564 และคดีเลขแดงที่ อ1148/2566 ให้จำคุก 5 ปี 93 เดือน ฐานร่วมกันยักยอกและปลอมเอกสาร พร้อมสั่งชดใช้เงินที่เหลือราว 405 ล้านบาท ซึ่งก่อนหน้านี้ นายเอกราชเคยรับสารภาพในชั้นศาล (พ.ย. 2564) และทำหนังสือรับสภาพหนี้ (ธ.ค. 2562) โดย เงินที่ยักยอกไปกว่า 405 ล้านบาทนั้น ได้ทยอยชำระคืนบางส่วนเพื่อบรรเทาความผิด ได้แก่

วันที่ 19 ต.ค. 2565 จ่าย 10.5 ล้านบาท

วันที่ 27 ธ.ค. 2565 จ่าย 40 ล้านบาท

วันที่ 28 ธ.ค. 2566 จ่าย 10 ล้านบาท

วันที่ 26 มี.ค. 2567 จ่าย 40 ล้านบาท

ศาลสั่งให้นำเงินที่จำเลยจ่ายไปแล้วมาหักออกจากยอดเงินต้น และให้จำเลยชดใช้เงินที่เหลือคืนทั้งหมดให้ครบ.

ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับปี 2560 มีบทบัญญัติเกี่ยวกับลักษณะต้องห้ามของผู้ดำรงตำแหน่ง สส. ซึ่งรวมถึงการต้องคำพิพากษาให้จำคุกและถูกคุมขังอยู่โดยหมายของศาล แม้จะได้รับการประกันตัวระหว่างอุทธรณ์ แต่การต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในคดีที่เกี่ยวกับความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ หรือการทุจริต ก็อาจเป็นเหตุให้พ้นจากตำแหน่งได้

นอกจากนี้ มติของ ป.ป.ช. ที่ชี้มูลความผิดฐานฝ่าฝืนจริยธรรมอย่างร้ายแรง หากศาลฎีกามีคำวินิจฉัยยืนตาม ก็อาจนำไปสู่การเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งหรือสิทธิเลือกตั้ง ซึ่งจะส่งผลให้พ้นจากตำแหน่ง สส. และอาจถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองได้ ดังที่เคยมีกรณีตัวอย่างเกิดขึ้นกับอดีต สส. รายอื่น

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

Aindravudh

นักเขียนประจำ Thaiger มีประสบการณ์เขียนข่าวมากกว่า 5 ปี จบการศึกษาด้านภาษาและประวัติศาสตร์ จากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีความสนใจ ประเด็นความเคลื่อนไหวทางสังคมและการเมือง เจาะประเด็นข่าวทางสังคม ด้วยกลวิธีการเล่าเรื่องแบบย่อยง่าย อย่างงานเขียนสร้างสรรค์ สั้น กระชับ จับทุกประเด็น หัวข้อที่เชียวชาญคือเรื่องไลฟ์สไตล์ เลขเด็ด หวยรัฐบาลไทย หวยลาว ช่องทางติดต่อ vajara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button