
ราชกิจจานุเบกษา ประกาศ เงินประจำตำแหน่งตำรวจปรับใหม่ 2568 มีผล 25 มี.ค.นี้ เช็กเลยใครได้บ้าง กำหนดชัดทั้งระดับสูง-กลาง-วิชาชีพเฉพาะ-ผู้เชี่ยวชาญ หลายสาขา
ข่าวดี เว็บไซต์ ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศจาก พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ์ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ กําหนดประเภทตําแหน่งและการได้รับเงินประจําตําแหน่งของข้าราชการตํารวจ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 175 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา 98 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติตํารวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา 1 พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า ‘พระราชกฤษฎีกาการได้รับเงินประจําตําแหน่ง ของข้าราชการตํารวจ พ.ศ. 2568’ เป็นต้นไป
มาตรา 2 พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา 3 ให้ยกเลิกพระราชกฤษฎีกาการได้รับเงินประจําตําแหน่งของข้าราชการตํารวจ พ.ศ. 2558
มาตรา 4 ให้ข้าราชการตํารวจซึ่งดํารงตําแหน่งที่มีฐานะและหน้าที่ในการบริหารงานดังต่อไปนี้ ได้รับเงินประจําตําแหน่งประเภทบริหารระดับสูง
- ผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติ
- รองผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติ จเรตํารวจแห่งชาติ หรือเทียบเท่า
- ผู้ช่วยผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติ รองจเรตํารวจแห่งชาติ หรือเทียบเท่า
- ผู้บัญชาการ จเรตํารวจ หรือเทียบเท่า
- รองผู้บัญชาการ รองจเรตํารวจ หรือเทียบเท่า
- ผู้บังคับการหรือเทียบเท่า
- รองผู้บังคับการหรือเทียบเท่า
มาตรา 5 ให้ข้าราชการตํารวจซึ่งดํารงตําแหน่งผู้กํากับการหรือเทียบเท่าที่มีฐานะ และหน้าที่ในการบริหารงาน ได้รับเงินประจําตําแหน่งประเภทบริหารระดับกลา
มาตรา 6 ให้ข้าราชการตํารวจซึ่งมียศตั้งแต่พันตํารวจโทขึ้นไปและดํารงตําแหน่งดังต่อไปนี้ ได้รับเงินประจําตําแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะ (วช.)
6.1 ตําแหน่งที่มีลักษณะงานวิชาชีพที่ต้องปฏิบัติโดยผู้สําเร็จการศึกษาในระดับปริญญาที่ไม่อาจมอบหมายให้ผู้มีคุณวุฒิอย่างอื่นปฏิบัติงานแทนได้ และเป็นงานที่มีผลกระทบต่อชีวิต และทรัพย์สินของประชาชนอย่างเห็นได้ชัด โดยมีองค์กรตามกฎหมายทําหน้าที่ตรวจสอบ กลั่นกรอง และรับรองการประกอบวิชาชีพ รวมทั้งลงโทษผู้กระทําผิดกฎหมายเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพดังกล่าว ซึ่งได้แก่ตําแหน่งที่ปฏิบัติหน้าที่ในวิชาชีพเฉพาะ ดังต่อไปนี้
(ก) วิชาชีพเฉพาะกายภาพบําบัด
(ข) วิชาชีพเฉพาะกายอุปกรณ์
(ค) วิชาชีพเฉพาะการทันตแพทย์
(ง) วิชาชีพเฉพาะการพยาบาล
(จ) วิชาชีพเฉพาะการแพทย์
(ฉ) วิชาชีพเฉพาะการสัตวแพทย์
(ซ) วิชาชีพเฉพาะกิจกรรมบําบัด
(ช) วิชาชีพเฉพาะจิตวิทยาคลินิก
(ฌ) วิชาชีพเฉพาะเทคนิคการแพทย์
(ญ) วิชาชีพเฉพาะเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก
(ฎ) วิชาชีพเฉพาะแพทย์แผนไทย
(ฎ) วิชาชีพเฉพาะเภสัชกรรม
(ฐ) วิชาชีพเฉพาะวิศวกรรมเครื่องกล
(ฑ) วิชาชีพเฉพาะวิศวกรรมไฟฟ้า
(ฒ) วิชาชีพเฉพาะวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสาร
(ณ) วิชาชีพเฉพาะวิศวกรรมโยธา
(ค) วิชาชีพเฉพาะเวชศาสตร์การสื่อความหมาย
(ต) วิชาชีพเฉพาะสถาปัตยกรรม
(ถ) วิชาชีพเฉพาะสังคมสงเคราะห์
6.2 ตําแหน่งที่มีลักษณะงานวิชาชีพที่ต้องปฏิบัติโดยผู้สําเร็จการศึกษาในระดับปริญญาที่ไม่อาจมอบหมายให้ผู้มีคุณวุฒิอย่างอื่นปฏิบัติงานแทนได้และเป็นงานที่มีผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนอย่างเห็นได้ชัด อีกทั้งเป็นงานที่ขาดแคลนกําลังคนในภาคราชการ ซึ่งได้แก่ตําแหน่งที่ปฏิบัติหน้าที่ในวิชาชีพเฉพาะ ดังต่อไปนี้
(ก) วิชาชีพเฉพาะการเดินเรือ
(ข) วิชาชีพเฉพาะฟิสิกส์รังสี
(ค) วิชาชีพเฉพาะรังสีการแพทย์
(ง) วิชาชีพเฉพาะวิศวกรรมจราจร
(จ) วิชาชีพเฉพาะวิศวกรรมนิวเคลียร์
(ฉ) วิชาชีพเฉพาะวิศวกรรมโลหการ
6.3 ตําแหน่งที่มีลักษณะงานวิชาชีพที่ต้องปฏิบัติโดยผู้สําเร็จการศึกษาในระดับปริญญาที่ไม่อาจมอบหมายให้ผู้มีคุณวุฒิอย่างอื่นปฏิบัติงานแทนได้ และเป็นงานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีลักษณะในเชิงวิจัยและพัฒนา อีกทั้งเป็นงานที่ขาดแคลนกําลังคนในภาคราชการ ซึ่งได้แก่ตําแหน่ง ที่ปฏิบัติหน้าที่ในวิชาชีพเฉพาะ ดังต่อไปนี้
(ก) วิชาชีพเฉพาะการผลิตไอโซโทป
(ข) วิชาชีพเฉพาะกีฏวิทยารังสี
(ค) วิชาชีพเฉพาะชีววิทยารังสี
(ง) วิชาชีพเฉพาะนิวเคลียร์เคมี
(จ) วิชาชีพเฉพาะนิวเคลียร์ฟิสิกส์
(ฉ) วิชาชีพเฉพาะวิชาการคอมพิวเตอร์
(ช) วิชาชีพเฉพาะวิศวกรรมการเกษตร
(ซ) วิชาชีพเฉพาะวิศวกรรมอากาศยาน
มาตรา 7 ให้ข้าราชการตํารวจซึ่งดํารงตําแหน่งรองผู้บังคับการหรือเทียบเท่าขึ้นไป ที่ต้องปฏิบัติงานที่เป็นงานหลักของหน่วยงาน โดยอาศัยพื้นฐานของความรู้ ประสบการณ์ หรือ การฝึกฝนทฤษฎีหรือหลักวิชาอันเกี่ยวข้องกับงาน และเป็นงานเชิงพัฒนาระบบหรือมาตรฐานของงาน งานอนุรักษ์ตามภารกิจ หรืองานที่ต้องปฏิบัติโดยผู้มีความรู้ ความสามารถ หรือประสบการณ์เป็นอย่างสูง เฉพาะด้าน อันเป็นที่ยอมรับในวงวิชาการหรือวงการนั้น ๆ และต้องใช้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน โดยมีคุณวุฒิการศึกษาตรงกับความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านดังต่อไปนี้ ได้รับเงินประจําตําแหน่ง ประเภทผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ (ชช.)
- ด้านการข่าว
- ด้านการเงิน
- ด้านการบิน
- ด้านการฝึกอบรม
- ด้านการสอน
- ด้านการสอบสวน
- ด้านการสืบสวน
- ด้านการสืบสวนสอบสวน
- ด้านความมั่นคงและกิจการพิเศษ
- ด้านจราจร
- ด้านช่างศิลปกรรม
- ด้านตรวจคนเข้าเมือง
- ด้านตรวจพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์
- ด้านตรวจสอบบัญชี
- ด้านตรวจสอบภายใน
- ด้านถ่ายภาพทางการแพทย์
- ด้านนิติการ
- ด้านนิติวิทยาศาสตร์
- ด้านป้องกันปราบปราม
- ด้านมัณฑนศิลป์
- ด้านวิเคราะห์งบประมาณ
- ด้านวิเคราะห์งานบุคคล
- ด้านวิเคราะห์นโยบายและแผน
- ด้านวิจัยสังคมศาสตร์
- ด้านวิชาการคอมพิวเตอร์
- ด้านวิชาการเงิน
- ด้านวิชาการดนตรี
- ด้านวิชาการตรวจสอบบัญชี
- ด้านวิชาการทางการแพทย์
- ด้านวิชาการบัญชี
- ด้านวิชาการประชาสัมพันธ์
- ด้านวิชาการโภชนาการ
- ด้านวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์
- ด้านวิชาการศึกษา
- ด้านวิชาการสถิติ
- ด้านวิชาการสอบ
- ด้านวิชาการสัตวบาล
- ด้านวิชาการสาธารณสุข
- ด้านวิชาการสิ่งแวดล้อม
- ด้านวิชาการอาหารและยา
- ด้านวิทยาศาสตร์
- ด้านวิเทศสหการ
- ด้านวิเทศสัมพันธ์
- ด้านวิศวกรรม
- ด้านส่งเสริมและสอนการพลศึกษา
- ด้านสรรพาวุธ
- ด้านสังคมสงเคราะห์
- ด้านสัตววิทยา
มาตรา 8 ให้ข้าราชการตํารวจซึ่งมียศตั้งแต่พันตํารวจตรีขึ้นไปและดํารงตําแหน่งทางวิชาการ ดังต่อไปนี้ ได้รับเงินประจําตําแหน่งประเภทวิชาการในโรงเรียนตํารวจ
- ศาสตราจารย์
- รองศาสตราจารย์
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์
มาตรา 9 ข้าราชการตํารวจซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งตามมาตรา 4 มาตรา 5 มาตรา 6 มาตรา 7 หรือมาตรา 8 ตําแหน่งใด ชั้นยศใด หรือชั้นยศและอัตราเงินเดือนใด และปฏิบัติหน้าที่หลักของตําแหน่งดังกล่าว ให้ได้รับเงินประจําตําแหน่งในอัตราสําหรับตําแหน่งนั้น ชั้นยศนั้น หรือชั้นยศและอัตราเงินเดือนนั้นของประเภทบริหารระดับสูง ประเภทบริหารระดับกลาง ประเภทวิชาชีพเฉพาะ (วช.) ประเภทผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ (ชช.) หรือประเภทวิชาการในโรงเรียนตํารวจ แล้วแต่กรณี ตามบัญชีอัตราเงินประจําตําแหน่งข้าราชการตํารวจท้ายกฎหมายว่าด้วยตํารวจแห่งชาติ ข้าราชการตํารวจซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งที่มีสิทธิได้รับเงินประจําตําแหน่งอยู่แล้ว
ถ้าต่อมาได้รับแต่งตั้งและปฏิบัติหน้าที่หลักในตําแหน่งสูงขึ้นโดยเป็นตําแหน่งที่มีเงินประจําตําแหน่ง ในอัตรามากกว่าที่ได้รับอยู่ แต่ยังไม่ได้รับชั้นยศสูงขึ้น ให้ได้รับเงินประจําตําแหน่งตามอัตราเดิมต่อไป จนกว่าจะได้รับยศสูงขึ้น
มาตรา 10 ข้าราชการตํารวจซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งที่มีสิทธิได้รับเงินประจําตําแหน่งใด หากได้รับคําสั่งให้ไปปฏิบัติหน้าที่อื่นที่ไม่มีสิทธิได้รับเงินประจําตําแหน่ง และมิได้ปฏิบัติหน้าที่หลักของตําแหน่งที่ตนดํารงอยู่ ไม่มีสิทธิได้รับเงินประจําตําแหน่งนั้นตั้งแต่วันที่ไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่หลัก ของตําแหน่งที่ตนดํารงอยู่ เว้นแต่ในกรณีที่ได้รับคําสั่งให้ไปปฏิบัติหน้าที่อื่นที่มีลักษณะงานวิชาชีพ หรือเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเหมือนหน้าที่หลักของตําแหน่งที่ตนดํารงอยู่เดิม ให้ได้รับเงินประจําตําแหน่ง
ในอัตราของตําแหน่งเดิมต่อไป
มาตรา 11 ข้าราชการตํารวจซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งที่มีสิทธิได้รับเงินประจําตําแหน่ง และปฏิบัติหน้าที่หลักของตําแหน่งนั้นไม่เต็มเดือนในเดือนใด ให้ได้รับเงินประจําตําแหน่งสําหรับเดือนนั้น ตามส่วนจํานวนวันที่ได้ดํารงตําแหน่งและปฏิบัติหน้าที่หลักของตําแหน่งดังกล่าว
มาตรา 12 ข้าราชการตํารวจซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งที่มีสิทธิได้รับเงินประจําตําแหน่ง และได้ปฏิบัติหน้าที่หลักของตําแหน่งนั้นเกินหนึ่งตําแหน่ง ให้ได้รับเงินประจําตําแหน่งสําหรับตําแหน่ง ที่มีสิทธิได้รับเงินประจําตําแหน่งสูงสุดเพียงตําแหน่งเดียว เว้นแต่ข้าราชการตํารวจซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งประเภทบริหารของสถาบันการศึกษาสังกัดสํานักงานตํารวจแห่งชาติที่จัดการศึกษา ระดับอุดมศึกษาระดับปริญญาที่กําหนดให้เป็นตําแหน่งประเภทวิชาการอีกประเภทหนึ่ง ให้ได้รับ เงินประจําตําแหน่งประเภทบริหารโดยไม่ตัดสิทธิการได้รับเงินประจําตําแหน่งประเภทวิชาการ ตามตําแหน่งวิชาการที่ตนครองอยู่
มาตรา 13 ข้าราชการตํารวจซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งที่มีสิทธิได้รับเงินประจําตําแหน่ง และได้รับคําสั่งให้ไปปฏิบัติหน้าที่ในตําแหน่งที่มีสิทธิได้รับเงินประจําตําแหน่งประเภทเดียวกัน และได้ปฏิบัติหน้าที่หลักในตําแหน่งที่ตนไปปฏิบัติหน้าที่ ให้ได้รับเงินประจําตําแหน่งตามอัตราเดิมของตนต่อไป
ในกรณีที่ข้าราชการตํารวจซึ่งดํารงตําแหน่งที่มีสิทธิได้รับเงินประจําตําแหน่ง ได้รับคําสั่ง ให้ไปปฏิบัติหน้าที่หรือรักษาราชการแทนในตําแหน่งที่มีสิทธิได้รับเงินประจําตําแหน่งต่างประเภทกัน ให้ได้รับเงินประจําตําแหน่งในอัตราของตําแหน่งเดิมต่อไปนับแต่วันที่เข้าปฏิบัติหน้าที่ในตําแหน่ง ที่ได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่หรือรักษาราชการแทน แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินหกเดือน
มาตรา 14 การได้รับเงินประจําตําแหน่งของข้าราชการตํารวจซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่ง ที่มีสิทธิได้รับเงินประจําตําแหน่ง ให้เป็นไปตามคําสั่งของผู้มีอํานาจสั่งเลื่อนเงินเดือน ซึ่งจะต้องระบุด้วยว่า ให้ได้รับเงินประจําตําแหน่งในประเภทใด ตําแหน่งใด และอัตราใด ทั้งนี้ หากมีสิทธิได้รับเงินประจําตําแหน่ง อยู่ก่อนแล้ว ต้องระบุว่าให้ขาดจากเงินประจําตําแหน่งเดิมมารับเงินประจําตําแหน่งใหม่ตั้งแต่เมื่อใด ซึ่งต้องไม่ก่อนวันที่เริ่มเข้าปฏิบัติหน้าที่ในตําแหน่งใหม่
มาตรา 15 ข้าราชการตํารวจซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งที่มีสิทธิได้รับเงินประจําตําแหน่ง ผู้ใดละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่มีเหตุอันสมควร ไม่มีสิทธิได้รับเงินประจําตําแหน่งในวันที่ผู้นั้น ละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการ
มาตรา 16 ข้าราชการตํารวจซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งที่มีสิทธิได้รับเงินประจําตําแหน่ง ผู้ใดถึงแก่ความตายในระหว่างรับราชการ ให้ได้รับเงินประจําตําแหน่งจนถึงวันที่ถึงแก่ความตาย
มาตรา 17 การได้รับเงินประจําตําแหน่งของผู้มีสิทธิได้รับเงินประจําตําแหน่งในกรณีลาออก ให้ออก ปลดออก ไล่ออก หรือพ้นจากราชการเพราะเกษียณอายุ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้
17.1. กรณีลาออก ให้ได้รับเงินประจําตําแหน่งจนถึงวันก่อนวันถึงกําหนดลาออก เว้นแต่ ยังไม่ได้รับทราบคําสั่งอนุญาตให้ลาออก และผู้นั้นยังคงปฏิบัติหน้าที่หลักของตําแหน่งที่มีสิทธิได้รับ เงินประจําตําแหน่งต่อมา ให้ข้าราชการตํารวจผู้นั้นได้รับเงินประจําตําแหน่งจนถึงวันรับทราบคําสั่ง ควรรับทราบคําสั่ง หรือวันที่กฎหมายกําหนดให้ลาออก แล้วแต่กรณี
17.2 กรณีให้ออก ปลดออก หรือไล่ออก ให้ได้รับเงินประจําตําแหน่งจนถึงวันก่อนวันที่ระบุใน คําสั่ง เว้นแต่ยังไม่ได้รับทราบคําสั่งและผู้นั้นยังคงปฏิบัติหน้าที่หลักของตําแหน่งที่มีสิทธิได้รับ
เงินประจําตําแหน่งต่อมา ให้ได้รับเงินประจําตําแหน่งจนถึงวันรับทราบคําสั่งหรือควรรับทราบคําสั่ง แล้วแต่กรณี
17.3 ในกรณีตาม (1) หรือ (2) หากจําเป็นต้องส่งมอบงานในหน้าที่ ให้ได้รับเงินประจําตําแหน่ง ต่อไปได้จนถึงวันส่งมอบงานเสร็จภายในเวลาอันไม่ชักช้าตามที่ผู้บังคับบัญชาจะกําหนดตามสภาพของงาน แต่ต้องไม่เกินสิบห้าวันนับแต่วันที่ระบุในคําสั่ง วันรับทราบคําสั่งหรือควรรับทราบคําสั่ง แล้วแต่กรณี
17.4 กรณีพ้นจากราชการเพราะเกษียณอายุตามกฎหมายว่าด้วยบําเหน็จบํานาญข้าราชการ ให้ได้รับเงินประจําตําแหน่งถึงวันสิ้นปีงบประมาณ
มาตรา 18 ข้าราชการตํารวจซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งที่มีสิทธิได้รับเงินประจํา ตําแหน่งผู้ใดถูกสั่งพักราชการหรือให้ออกจากราชการไว้ก่อน ไม่มีสิทธิได้รับเงินประจําตําแหน่ง ตั้งแต่วันที่ถูกสั่งพักราชการหรือให้ออกจากราชการไว้ก่อน
มาตรา 19 ข้าราชการตํารวจซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งที่มีสิทธิได้รับเงินประจําตําแหน่ง ผู้ใดลาป่วย ให้ได้รับเงินประจําตําแหน่งระหว่างลาได้ในปีหนึ่งไม่เกินหกสิบวันทําการ
มาตรา 20 ข้าราชการตํารวจซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งที่มีสิทธิได้รับเงินประจําตําแหน่ง ผู้ใดลาคลอดบุตร ให้ได้รับเงินประจําตําแหน่งระหว่างลาสําหรับผู้นั้นได้ไม่เกินเก้าสิบวัน
มาตรา 21 ข้าราชการตํารวจซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งที่มีสิทธิได้รับเงินประจําตําแหน่ง ผู้ใดลากิจส่วนตัว ให้รับเงินประจําตําแหน่งระหว่างลาได้ในปีหนึ่งไม่เกินสี่สิบห้าวันทําการ แต่ในปีที่เริ่ม รับราชการให้จ่ายเงินประจําตําแหน่งระหว่างลาได้ไม่เกินสิบห้าวันทําการ
มาตรา 22 ข้าราชการตํารวจซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งที่มีสิทธิได้รับเงินประจําตําแหน่ง ผู้ใดลาพักผ่อนประจําปี ให้ได้รับเงินประจําตําแหน่งระหว่างลาได้ไม่เกินระยะเวลาที่ผู้นั้นมีสิทธิ ลาพักผ่อนประจําปีตามที่กําหนดไว้ในระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ
มาตรา 23 ข้าราชการตํารวจซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งที่มีสิทธิได้รับเงินประจําตําแหน่ง ผู้ใดยังไม่เคยอุปสมบทในพระพุทธศาสนาหรือยังไม่เคยประกอบพิธีฮัจย์ ณ เมืองเมกกะ ประเทศซาอุดิอาระเบีย หากได้รับราชการมาแล้วไม่น้อยกว่าสิบสองเดือน และได้รับอนุญาต ให้ลาอุปสมบทหรือลาไปประกอบพิธีฮัจย์ ณ เมืองเมกกะ ประเทศซาอุดิอาระเบีย แล้วแต่กรณี ให้ได้รับเงินประจําตําแหน่งระหว่างลาได้ไม่เกินหกสิบวัน
มาตรา 24 ข้าราชการตํารวจซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งที่มีสิทธิได้รับเงินประจําตําแหน่ง ผู้ใดได้รับอนุญาตให้ลาไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัย ให้ได้รับเงินประจําตําแหน่งระหว่าง ลาได้ไม่เกินหกสิบวัน
มาตรา 25 ข้าราชการตํารวจซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งที่มีสิทธิได้รับเงินประจําตําแหน่ง ผู้ใดลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ ไม่มีสิทธิได้รับเงินประจําตําแหน่งระหว่างลา
มาตรา 26 ข้าราชการตํารวจซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งที่มีสิทธิได้รับเงินประจําตําแหน่ง ผู้ใดลาติดตามคู่สมรส ไม่มีสิทธิได้รับเงินประจําตําแหน่งระหว่างลา
มาตรา 27 ในกรณีมีการกําหนดตําแหน่งและจํานวนตําแหน่งที่จะได้รับเงินประจําตําแหน่ง
ตามพระราชกฤษฎีกานี้เพิ่มขึ้นจากที่มีอยู่แล้วในวันก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ให้สํานักงาน ตํารวจแห่งชาติรายงานให้คณะกรรมการพิจารณาเงินเดือนแห่งชาติทราบภายในเดือนธันวาคมของทุกปี
มาตรา 28 ข้าราชการตํารวจซึ่งดํารงตําแหน่งที่มีสิทธิได้รับเงินประจําตําแหน่งอยู่ในวันก่อน วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ให้ยังคงมีสิทธิได้รับเงินประจําตําแหน่งในอัตราของตําแหน่งนั้นต่อไป จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง
มาตรา 29 ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา 98 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติตํารวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 บัญญัติให้ข้าราชการตํารวจตําแหน่งใดจะได้รับเงินประจําตําแหน่ง ท้ายพระราชบัญญัติดังกล่าวในอัตราใดให้เป็นไปตามที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา จึงจําเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้










ข้อมูลจาก : ราชกิจจานุเบกษา
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- เปิดเงินเดือนตำรวจ สงกรานต์ เตชะณรงค์ ติดยศพันตำรวจตรี เห็นแล้วมีอึ้ง
- เงินเดือนทหาร 2568 ปรับใหม่ 18000 เริ่ม 1 พ.ค. รับลายพรางอาสาอีก 500 อัตรา
- ‘เศรษฐา’ ส่งต่อเงินเดือน-เงินประจำตำแหน่ง ให้อีก 4 มูลนิธิ ช่วยกลุ่มเปราะบาง