ข่าวอาชญากรรม

มือตบพยาบาลสาว ไม่รอดคุก! ศาลระยองสั่งขัง 1 เดือน 15 วัน ชดใช้ 7.7 หมื่น

ศาลแขวงระยอง จำคุก สรรค์พงศ์ หนุ่มมือตบพยาบาลสาว 1 เดือน 15 วัน ชดใช้ 7.7 หมื่น 77,273 บาท พร้อมดอกเบี้ย อัตราร้อยละ 5 ของต้นเงิน

จากากรณีโรงพยาบาลระยองเดินหน้าเอาผิด นายสรรค์พงศ์ เพชรหนุน อายุ 42 ปีหนุ่มมือตบพยาบาลในห้องไอซียู หลังไม่พอใจที่ตักเตือนเมียไม่ให้นำลูกเล็กเข้าไปเยี่ยมยายที่ป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ติดเชื้อลงปอดในห้องไอซียู ทำให้แม่เด็กไปบอกแฟนหนุ่มจนระงับอารมณ์โกรธไม่อยู่ลงมือทำร้ายพยาบาลขณะปฏิบัติหน้าที่ถึง 2 ครั้งซ้อนต่อหน้าเพื่อนพยาบาล กระทั่งมีคลิปเผยแพร่ในโซเชียลแล้วต่อมาถูกแจ้ง 2 ข้อหาหนัก คือ 1.ฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่น และ 2.ข้อหาหนักทำร้ายเจ้าพนักงานขณะปฏิบัติหน้าที่

ล่าสุด วันนี้ (19 มี.ค.) ศาลอ่านคำพิพากษาคดีที่พนักงานอัยการคดีศาลแขวงระยอง เป็นโจทก์ฟ้องนายสรรค์พงศ์ อายุ 42 ปี เป็นจำเลยในความผิดฐาน ทำร้ายร่างกายเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ หรือได้กระทำการตามหน้าที่จนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ

กรณีนายสรรค์พงศ์ก่อเหตุตบหน้าพยาบาลผู้เสียหาย 2 ครั้ง ภายในโรงพยาบาลระยอง เนื่องจากโมโหที่พยาบาลบอกแม่เด็กไม่ควรพาลูกเล็กเข้าไปเยี่ยมยายที่ป่วยไข้หวัดใหญ่ติดเชื้อลงปอด ทำให้นายสรรค์พงศ์จำเลยไม่พอใจถึงกับใช้กำลังทำร้ายพยาบาลดังกล่าว จำเลยให้การรับสารภาพ

ศาลพิพากษาจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 296 ฐานทำร้ายร่างกายเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ หรือได้กระทำการตามหน้าที่จนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ลงโทษจำคุก 3 เดือน รับสารภาพ ลดโทษกึ่งหนึ่ง คงจำคุก 1 เดือน 15 วัน ไม่มีเหตุรอการลงโทษ แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยได้รับโทษจำคุกมาก่อนจึงให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นกักขังมีกำหนด 1 เดือน 15 วัน

ขณะเดียวกันยังสั่งให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่พยาบาลผู้เสียหาย 77,273 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 5 ของต้นเงิน 19,113 บาท ต้นเงิน 40,000 บาท ต้นเงิน 10,000 บาท และต้นเงิน 8,160 บาท โดยหักออกจากเงินที่จำเลยวางบรรเทาความเสียหาย 40,000 บาท

ข่าวตบพยาบาล
แฟ้มภาพ
แฟ้มภาพ @Facebook
แฟ้มภาพ @Hon-Kra-Sae

โทษกักขัง ต่างจาก “จำคุก” อย่างไร ?

ตามบริบททางกฎหมายอาญา “กักขัง” ถือเป็นโทษทางอาญาสถานหนึ่ง ซึ่งก มาตรา 24 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ำหนดให้ผู้ต้องโทษถูกกักตัวไว้ในสถานที่ที่กำหนด แต่ไม่ใช่เรือนจำ สถานีตำรวจ หรือสถานที่ควบคุมผู้ต้องหาของพนักงานสอบสวน

สถานที่ดังกล่าวอาจรวมถึงที่อยู่อาศัยของผู้ต้องโทษเอง หรือสถานที่อื่นใดที่ผู้ยินยอมรับผู้นั้นไว้ ความเป็นไปได้ที่การกักขังจะเกิดขึ้น ณ ที่อยู่อาศัยของตนเองหรือสถานที่อื่นที่ยินยอมนั้น บ่งชี้ถึงลักษณะที่อาจมีความเข้มงวดน้อยกว่าการจำคุกในเรือนจำ

โดยทั่วไประยะเวลาของการกักขัง จะมีกำหนดไม่เกิน 3 เดือน

อย่างไรก็ตามมีข้อยกเว้นในกรณีที่การกักขังเป็นการลงโทษแทนค่าปรับที่ค้างชำระ ในกรณีเช่นนี้ระยะเวลาอาจยาวนานกว่า โดยมีอัตรา 500 บาทต่อวันและกักขังได้ไม่เกิน 2 ปี การใช้โทษกักขังแทนค่าปรับที่ค้างชำระแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยงระหว่างโทษปรับและโทษจำกัดอิสรภาพในระบบกฎหมายไทย

การกำหนดให้มีการกักขังแทนค่าปรับที่ค้างชำระ ก่อให้เกิดประเด็นเกี่ยวกับความเท่าเทียมและความยุติธรรม เนื่องจากผู้ที่มีฐานะทางการเงินสามารถหลีกเลี่ยงการถูกกักขังได้ ในขณะที่ผู้ที่ขาดแคลนทรัพยากรอาจต้องเผชิญกับการจำกัดอิสรภาพเป็นระยะเวลานาน ระบบนี้อาจส่งผลกระทบต่อบุคคลจากกลุ่มผู้มีรายได้น้อยอย่างไม่สมส่วน

ผู้ที่ถูกกักขังมีสิทธิที่จะรับอาหารจากภายนอกโดยออกค่าใช้จ่ายเอง สวมเสื้อผ้าของตนเอง ได้รับการเยี่ยมอย่างน้อยวันละหนึ่งชั่วโมง และรับและส่งจดหมายได้ หากการกักขังเกิดขึ้น ณ ที่อยู่อาศัยของตนเองหรือสถานที่อื่นที่ตกลงกันไว้ ผู้ถูกกักขังอาจสามารถประกอบวิชาชีพหรืออาชีพของตนได้ในสถานที่นั้น

สิทธิที่มอบให้กับผู้ถูกกักขัง เช่น การได้รับผู้มาเยี่ยมทุกวันและการสามารถประกอบอาชีพได้ในบางกรณี บ่งชี้ถึงความมุ่งเน้นในการรักษาระดับความเป็นปกติและการเชื่อมต่อกับโลกภายนอก ซึ่งอาจเป็นประโยชน์ต่อการฟื้นฟูสภาพจิตใจของผู้ต้องโทษ

ความแตกต่างที่สำคัญระหว่าง “กักขัง” กับ “จำคุก”

ลักษณะ กักขัง (Detention/Confinement) จำคุก (Imprisonment)
สถานที่ สถานที่ที่กำหนดอื่นที่ไม่ใช่เรือนจำ สถานีตำรวจ หรือสถานที่ควบคุมผู้ต้องหา (อาจรวมถึงที่พักอาศัย) เรือนจำ (เรือนจำ)
ความรุนแรง น้อยกว่า มากกว่า
ระยะเวลาโดยทั่วไป ไม่เกินสามเดือน หนึ่งเดือนถึงตลอดชีวิต หรือประหารชีวิต
วัตถุประสงค์หลัก การแก้ไขฟื้นฟูสำหรับความผิดที่ไม่ร้ายแรง การลงโทษแทนค่าปรับ การลงโทษและการป้องกันสังคมจากผู้กระทำผิด
สิทธิ โดยทั่วไปมีสิทธิมากกว่า (เช่น รับอาหารจากภายนอก สวมเสื้อผ้าตนเอง เยี่ยมได้ทุกวัน) โดยทั่วไปมีสิทธิน้อยกว่า

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Pachara

นักเขียนประจำที่ Thaiger จบการศึกษาด้านศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เคยผ่านประสบการณ์ผู้สื่อข่าวกีฬา เริ่มเขียนบทความกับ Thaiger ตั้งแต่ปี 2021 วิ่งกับการอ่านหนังสือ คือ กิจกรรมที่สนใจเป็นพิเศษ ช่องทางติดต่อ pachara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button