ข่าวอาชญากรรม

ระวัง 11 กลลวง ข่าวปลอม แก๊งมิจฉาชีพ-คอลเซ็นเตอร์ ใช้หลอกเหยื่อ

ชำแหละ 11 กลลวง-ข่าวปลอม ที่แก๊งมิจฉาชีพมักใช้หลอกเหยื่อให้โอนเงิน สูญทั้งทรัพย์สินและข้อมูลส่วนตัว หากเจอตามนี้ หนีไปให้ไกล!

เฟซบุ๊กเพจ ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย (Anti-Fake News Center Thailand) โดยกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) โพสต์ข้อมูลเตือนภัยพี่น้องประชาชนให้ระวัง กลลวง-ข่าวปลอม 11 ข้อ ที่เหล่ามิจฉาชีพมักใช้หลอกเหยื่อให้ติดกับจนเป็นเหตุให้เสียเงินหรือข้อมูลส่วนตัวอย่างแนบเนียน โดยเฉพาะในช่องทางออนไลน์ เช่น โซเชียลมิเดีย, อีเมล ฯลฯ ดังนี้

Advertisements

เช็กกลลวงแก๊งคอลเซ็นเตอร์ เจอแบบนี้ แจ้งตำรวจทันที

1. โทรแอบอ้างหน่วยงานต่าง ๆ หลอกเหยื่อสแกน คิวอาร์โค้ด (QR Code) รับเงินคืน

2. ส่งเอสเอมเอส (SMS) ปลอมหลอกรับเงินจากดิจิทัลวอลเล็ต

3. ทักข้อความแอบอ้างเป็นตำรวจเข้าช่วยเหลือเหยื่อคดีดัง เช่น คดีดิไอคอนกรุ๊บ ฯลฯ

4. ส่งจดหมายปลอม แอบอ้างธนาคาร หลอกสแกน คิวอาร์โค้ด

5. สร้างอีเมลปลอมอ้างเป็น NETFLIX แจ้งต่ออายุ หรือไม่ก็เป็นบริการสมัครสมาชิกรายเดือนอื่น ๆ ที่เหยื่อกำลังใช้อยู่

Advertisements

6. เปิดเพจปลอมหลอกทำใบขับขี่

7. เปิดเพจที่พักปลอมเลียนแบบของจริง หลอกคนเข้ามาจองห้องพักก่อนหลงโอนเงินมัดจำ

8. เปิดเพจร้านทองปลอม หลอกลงทุนออมทอง

9. สร้างแอปพลิเคชัน กู้เงินปลอม หลอกให้โอนค่าธรรมเนียมก่อนจากนั้นค่อยล็อกบัญชีทำให้เหยื่อต้องโอนเงินเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

10. หลอกผู้ปกครอง ปั้นลูกเป็นดารา (เคสนี้อาจมีการหลอกให้เหยื่อที่เป็นประชาชนถ่ายรูปลับที่ไม่เหมาะสมเพื่อเรียกเป็นค่าแบล็กเมล)

11. หลอกผู้ประสบภัยต่าง ๆ ให้ลงทะเบียนรับเงินเยียวยา

11 กระบวนการมิจฉาชีพหลอกเหยื่อโอนเงิน
ภาพจาก Anti-Fake News Center Thailand

นอกจากกระบวนการหลอกเหยื่อในช่องทางออนไลน์ข้างต้นนั้น ทีมงานไทยเกอร์ขอยกตัวอย่างเคสมิจฉาชีพใช้เทคนิคหลอกเหยื่อแบบซึ่งหน้าเพิ่มอีก 2 กรณีด้วยกัน โดยตัวอย่างแรกคือเคส “ผู้กองเก๊” ของสืบนครบาล ที่แก๊งมิจฯ จะมีพฤติกรรมแอดไลน์-โซเชียลมิเดียของเรามา พร้อมตั้งชื่อเป็นตำรวจ สภ. ฯลฯ จากนั้นจะส่งข้อความมาบอกว่าเราต้องคดีอะไรบางอย่าง อาจเป็นคดีฟอกเงิน บัญชีม้า ฉ้อโกง ต่าง ๆ นา ๆ หรือบางครั้งยังมีการส่งเอกสารปลอมประทับตราครุฑมาข่มขู่ให้เหยื่อหลงเชื่ออีกด้วย

หากเหยื่อยังใจแข็งไม่ยอมโอนเงินหรือหลงกลอยู่ มิจฉาชีพจะเริ่มดำเนินการขั้นสองคือ “วิดีโอคอล” ให้หนึ่งในลิ่วล้อในแก๊งแต่งตัวคล้ายตำรวจ ใส่ชุดผู้พิทักษ์สันติราษชัดเจน แถมยังตกแต่งสถานที่พื้นหลังให้คล้ายสถานีตำรวจของจริงอีกเช่นกัน โดยในกรณีนี้ทีมงานไทยเกอร์มีสองข้อสังเกตระหว่างวิดีโอคอล 1. ดูว่าพื้นหลังมีโต๊ะหมู่บูชาหรือไม่ เพราะสถานีตำรวจจริงจะไม่วางอล่างฉ่างเช่นนี้ 2. ให้เราเปิดคลิป-ภาพที่เหยื่อท่านอื่นเคยโดนวิดีโอคอลเหมือนเราว่า “ตำรวจ” ที่เราคุยอยู่ใส่ชุดหรือมีพร๊อบตกแต่งฉากอะไรเหมือนกันหรือไม่ เพราะแก๊งมิจฉาชีพมักใช้เซ็ตเดิมในการหลอกลวงครั้งต่อ ๆ ไป

ผู้กองมิจฉาชีพ
ภาพจาก สืบนครบาล IDMB

ต่อมาในเคสที่ 2 รอบนี้จะเป็นลักษณะของการแอบ ลักทรัพย์” เสียมากกว่าหลอกให้เหยื่อโอนเงินโดยตรง เพราะล่าสุดเมื่อไม่นานมานี้ มีชาวเน็ตท่านหนึ่งได้แชร์ประสบการณ์เตือนภัยผ่านเพจ Drama-addict ว่าตนเจอมิจฯ ขโมยบัตรเครดิตไปจากตู้ล็อกเกอร์ใส่รหัสอย่างดี ขณะกำลังใช้บริการออนเซ็นชื่อดังย่านทองหล่อ-สุขุมวิท

เธอเล่าว่าตอนที่ใช้บริการเรียบร้อย หยิบทรัพย์สินออกจากตู้ (เช็กแล้วว่าล็อกสนิทในตอนแรก) เดินออกจากสถานบริการ อยู่ดี ๆ กลับมาแจ้งเตือนยอดรูดบัตรกว่า 85,000 บาท จากทั้งหมด 3 รอบการรูด ได้แก่ 49,000, 29,000 และ 7,900 โดยมีการรูดใช้ที่ ME TER NONTHABURI TH

ภาพจาก Drama-addict

เจ้าตัวจึงรีบเช็กกระเป๋าทันทีและพบว่าทรัพย์สินอย่างอื่นเช่น มือถือ iphone15 กระเป๋าแบรนด์เนม และเงินในกระเป๋าตังค์ ทั้งหมดอยู่ครบ นอกจากบัตรเครดิต-เดบิตข้างต้นที่หายไป แต่บัตรของธนาคารอื่นอีก 2 ใบยังอยู่เพราะเก็บไว้ช่องอื่นที่โจรน่าจะมองไม่เห็น

ผู้เสียหายท่านนี้จึงรีบโทรแจ้งอายัดกับธนาคารของบัตรต้นทางทันที โดยได้รับคำตอบว่าทางธนาคารจะ Hold ยอดไว้ให้ แต่ต้องมีใบแจ้งความจากสถานีตำรวจภายในเขตที่เกิดเรื่อง (น.ยานนาวา) เพื่อทำเรื่องทักท้วงยอด เนื่องจากเจ้าหน้าที่แจ้งว่าเคสนี้เป็นคดีลักทรัพย์

หลังโพสต์เตือนภัยได้ถูกแชร์ออกไปเป็นวงกว้าง ได้มีชาวเน็ตหลายท่านคาดการณ์ว่าโจรน่าจะใช้เทคนิคตรวจจับสัญญาณรหัสผ่านบนสายข้อมือของเหยื่อที่ใส่อยู่ขณะใช้บริการออนเซ็น ทำให้มิจฯ สามารถเดินไปปลดล็อกด้วยรหัสดังกล่าวก่อนฉกทรัพย์ไปอย่างแนบเนียนนั่นเอง

ภาพประกอบไม่เกี่ยวกับเนื้อหา
ภาพประกอบไม่เกี่ยวกับเนื้อหา

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

yo

First jobber Gen z ใหม่แกะกล่องส่งตรงจาก อักษรศาสตร์ สาขาวิชาปรัชญา มศก. งานอดิเรกชอบท่องโลกออนไลน์ เล่นกับแมว เที่ยวกับครอบครัว อ่านมังงะ เล่นเกม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button