ภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ VAT (Value Added Tax) เป็นภาษีที่เรียกเก็บจากมูลค่าเพิ่มในแต่ละขั้นตอนของการผลิตและการจัดจำหน่ายสินค้าและบริการ กล่าวคือ ทุกครั้งที่มีการซื้อขายสินค้าและบริการ ผู้บริโภคจะต้องจ่ายภาษีนี้เพิ่มจากราคาสินค้าหรือบริการ โดยอัตราภาษีในประเทศไทยกำหนดไว้ที่ 7% ซึ่งถือว่าเป็นอัตราที่ต่ำเมื่อเทียบกับหลายประเทศในภูมิภาคและทั่วโลก
ทำไมต้องเป็น 7%?
ประเทศไทยกำหนดอัตรา VAT ที่ 10% มาเป็นตั้งต้น กระทั่งตั้งแต่ปี 2540 ได้ตรากฎหมายพิเศษลดเหลือ 7% แบบปีต่อปี โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือ
- สนับสนุนเศรษฐกิจ อัตรา 7% เป็นอัตราที่ไม่สูงจนเกินไปเพื่อไม่ให้กระทบกำลังซื้อของประชาชน และในขณะเดียวกันยังสร้างรายได้ที่เพียงพอสำหรับรัฐบาล
- เสถียรภาพทางการคลัง ภาษี VAT เป็นแหล่งรายได้สำคัญที่ช่วยเสริมสร้างเสถียรภาพทางการคลังของประเทศ โดยรายได้จากภาษี VAT ใช้ในการสนับสนุนโครงการสาธารณะต่าง ๆ เช่น การก่อสร้างถนน โรงพยาบาล และโรงเรียน
- ความยืดหยุ่น กฎถูกออกแบบให้สามารถปรับเพิ่มหรือลดได้ตามความจำเป็นทางเศรษฐกิจในอนาคต
สินค้าและบริการที่มี VAT
สำหรับผู้ประกอบการ จำเป็นต้องเข้าใจว่าถ้าสินค้าและบริการของเรามีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ต้องยื่นคำขอจะเทียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
โดยทั่วไป สินค้าและบริการที่มี VAT ครอบคลุมเกือบทุกประเภท ยกเว้นบางรายการที่ได้รับการยกเว้นตามกฎหมาย ดังนี้
ตัวอย่างสินค้าที่มี VAT
1. สินค้าอุปโภคบริโภค
- เครื่องใช้ไฟฟ้า
- เสื้อผ้า
- อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
- เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ความงาม
2. สินค้าอุตสาหกรรมและการผลิต
- ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ในกระบวนการผลิต
- วัตถุดิบต่างๆ ที่ใช้ในอุตสาหกรรม
3. สินค้าในกลุ่มบริการ
- ค่าโทรศัพท์และอินเทอร์เน็ต
- บริการบันเทิง เช่น ค่าสมาชิกฟิตเนส หรือค่าสมัครสตรีมมิ่ง
- ค่าบริการจัดส่งสินค้า
ตัวอย่างบริการที่มี VAT
1. บริการด้านวิชาชีพ
- บริการที่ปรึกษาด้านกฎหมาย บัญชี และการตลาด
- บริการออกแบบกราฟิกและโฆษณา
2. บริการด้านการท่องเที่ยวและโรงแรม
- ค่าห้องพักในโรงแรม
- บริการทัวร์ที่ไม่รวมอยู่ในรายการยกเว้น
3. บริการขนส่งส่วนบุคคล
- บริการรถเช่า
- บริการขนส่งเอกชน (ที่ไม่ใช่ระบบขนส่งสาธารณะ)
สินค้าและบริการที่ได้รับการยกเว้น VAT
อย่างไรก็ตาม มีบางสินค้าและบริการที่ได้รับการยกเว้นจาก VAT เพื่อช่วยลดภาระให้กับผู้บริโภคและส่งเสริมเศรษฐกิจในบางภาคส่วน ตัวอย่างได้แก่
1. สินค้าเกษตรและอาหาร ในประเทศ
- ข้าว ผัก ผลไม้สด
- เนื้อสัตว์สดที่ไม่ได้ผ่านกระบวนการแปรรูป
2. บริการด้านสาธารณสุขและการศึกษา
- การรักษาพยาบาลในโรงพยาบาล
- การศึกษาในสถานศึกษา
3. บริการขนส่งสาธารณะ
- รถเมล์ รถไฟ รถไฟฟ้า
ความสำคัญของ VAT ต่อผู้ประกอบการ
สำหรับผู้ประกอบการ การเข้าใจและจัดการเรื่องภาษี VAT อย่างถูกต้องมีความสำคัญมาก เพราะ VAT มีผลโดยตรงต่อการดำเนินธุรกิจในหลายด้าน เช่น
- การตั้งราคาสินค้าและบริการ ผู้ประกอบการต้องพิจารณารวม VAT ในราคาสินค้าหรือบริการ ซึ่งส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขัน
- การบริหารภาษี ผู้ประกอบการที่จดทะเบียน VAT จะสามารถ ขอคืนภาษีซื้อ ที่จ่ายไปในกระบวนการผลิตหรือจัดจำหน่ายได้ ทำให้ลดภาระต้นทุนในธุรกิจ
- การปฏิบัติตามกฎหมาย การไม่จัดเก็บหรือไม่ยื่นภาษี VAT ตามกำหนด อาจนำไปสู่บทลงโทษทางกฎหมายและค่าปรับ
ใครมีหน้าที่เสียภาษี VAT ตามกฎหมาย
ความจริงแล้ว หน้าที่เสียภาษีูลค่าเพิ่มคือ ผู้ประกอบการ ไม่ว่าจะเป็น คนธรรมดา ห้างร้านต่าง ๆ หรือบริษัท แล้วมีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี คุณต้องจดทะเบียนเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (แต่ถ้ารายได้ไม่ถึง ก็สามารถสมัครจดทะเบียนได้นะ)
แต่ตามพฤตินัย ผู้ประกอบการจะผลักภาระภาษีนี้มาให้ผู้บริโภคจ่าย ในรูปแบบการบวกเข้าไปในราคาสินค้า
แล้วประชาชนจะเลือกไม่จ่ายได้ไหม?
ตามกฎหมาย ผู้บริโภคไม่มีสิทธิหลีกเลี่ยงการจ่าย VAT หากคุณซื้อสินค้าหรือบริการที่มีการเรียกเก็บ VAT คุณต้องจ่ายโดยอัตโนมัติ
แล้วภาษี VAT ที่เก็บไป เอาไปทำอะไร?
ภาษี VAT ที่เราจ่ายไป จะกลายเป็นรายได้สำคัญของรัฐบาล นำไปใช้พัฒนาประเทศ และช่วยเหลือประชาชนในด้านต่างๆ เช่น พัฒนาสาธารณูปโภค สร้างถนน สะพาน ระบบขนส่ง สาธารณูปโภคต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวก และยกระดับคุณภาพชีวิต
สนับสนุนการศึกษา สร้างโรงเรียน ห้องสมุด ทุนการศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพคน และลดความเหลื่อมล้ำ ดูแลสุขภาพประชาชน สร้างโรงพยาบาล ศูนย์บริการสาธารณสุข จัดหาอุปกรณ์การแพทย์ และยา เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการสาธารณสุข ได้อย่างทั่วถึง
ส่งเสริมเศรษฐกิจ ลงทุนในโครงการต่างๆ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ สร้างงาน สร้างรายได้ ให้กับประชาชน ช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส: จัดสวัสดิการ และโครงการช่วยเหลือ ผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ยากไร้ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในสังคม
รักษาความมั่นคงของประเทศ ดูแลด้านความปลอดภัย ป้องกันประเทศ และรักษาความสงบเรียบร้อย เพื่อให้ประชาชน มีชีวิตอยู่อย่าง ปลอดภัย
ดังนั้น ภาษี VAT ที่ 7% ไม่ได้เป็นเพียงตัวเลขที่เพิ่มในใบเสร็จของคุณ แต่มันคือส่วนหนึ่งของการสร้างอนาคตที่มั่นคงและยั่งยืนของประเทศ รายได้จาก VAT ช่วยสนับสนุนการพัฒนาทุกมิติของสังคม ตั้งแต่สาธารณสุข การศึกษา ไปจนถึงโครงสร้างพื้นฐาน ดังนั้น การจ่าย VAT จึงไม่ใช่แค่ภาระ แต่คือการลงทุนเพื่อความก้าวหน้าของประเทศในระยะยาว
อ้างอิงจาก : กรมสรรพากร
- กิตติรัตน์ ณ ระนอง พูดชัด ปมถูกติไม่เหมาะสม ปธ.บอร์ดแบงก์ชาติคนใหม่เผยแพร่: 12 พฤศจิกายน 2567
- ยังไงแน่ เพจใหม่ทางรัฐ เช็กเงินดิจิทัล 10000 บาท รับเงินอีกที 21 พ.ย.นี้เผยแพร่: 12 พฤศจิกายน 2567
- เปิดธุรกิจ ฟิล์ม รัฐภูมิ อดีตดาราตัวท็อป นั่งแท่นกรรมการบริษัทเพียบเผยแพร่: 12 พฤศจิกายน 2567
- ปฏิทินรับนักเรียน สพฐ ปีการศึกษา 2568 อนุบาล ถึง ม.4เผยแพร่: 12 พฤศจิกายน 2567