ข่าวการเมือง

ประวัติ ‘ชิเงรุ อิชิบะ’ อดีตรัฐมนตรีกลาโหมสู่เส้นทางนายกคนใหม่ของญี่ปุ่น

ประวัติ ‘ชิเงรุ อิชิบะ’ อดีตรัฐมนตรีกลาโหม ว่าที่นายกญี่ปุ่นคนใหม่ หลังเคยพ่ายแพ้ให้ “ชินโซ อาเบะ” อดีตนายกรัฐมนตรีที่ถูกลอบสังหารเมื่อ 2 ปีก่อน

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า การเลือกตั้งหัวหน้าพรรคเสรีประชาธิปไตย(แอลดีพี) พรรครัฐบาลญี่ปุ่น ที่เป็นไปอย่างดุเดือดจนต้องแข่งขันกันถึง 2 รอบ ล่าสุดผลปรากฎว่า นายชิเกรุ อิชิบะ อดีตรัฐมนตรีกลาโหม วัย 67 ปี เป็นฝ่ายคว้าชัยชนะไปได้เตรียมขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ของประเทศญี่ปุ่น จากที่พยายามต่อสู้ช่วงชิงเก้าอี้นี้มาแล้วถึง 5 ครั้ง หลังนายฟูมิโอะ คิชิดะ นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันที่ประกาศลาออกจากตำแหน่งไป ลองมารู้จักเขาให้มากขึ้นในบทความนี้

Advertisements

ชิเงรุ อิชิบะ คือใคร

ชิเงรุ อิชิบะ อายุ 67 ปี เติบโตมาในเขตชนบทแห่งทอตโตริ จบนิติศาสตร์จากมหาวิทยาลัย ทำงานธนาคารก่อนลงเล่นการเมือ ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.พรรคแอลดีพีครั้งแรกในปี 1986 ในวัย 29 ปี มีพ่อชื่อนาย จิโระ อิชิบะ ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการทอตโตริ ก่อนที่จะได้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในเวลาต่อมา

เส้นทางการเมือง

นายอิชิบะเคยทำงานด้านการเงินก่อนที่จะเข้าสู่วงการการเมืองหลังจากพ่อของเขาเสียชีวิต เขาเป็นผู้สมัครชิงตำแหน่งหัวหน้าพรรคมาแล้ว 4 สมัยและอดีตรัฐมนตรีกลาโหม อิชิบะกลายเป็นบุคคลสำคัญในพรรค LDP ดำรงตำแหน่งประธานพรรค ในปี 2024 และเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมตั้งแต่ปี 2007 ถึง 2008 ก่อนได้ดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมงตั้งแต่ปี 2008 ถึง 2009 รวมถึงดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรค LDP ตั้งแต่ปี 2012 ถึง 2014

เขาลงสมัครชิงตำแหน่งหัวหน้าพรรคหลายครั้ง ครั้งแรกในปี 2008 ที่ผ่านมาอิชิบะไม่ใช่ที่รักของคนในพรรคเท่าไรนัก เพราะมักวิพากษ์วิจารณ์และต่อต้านพรรคของตัวเอง แต่ความตรงไปตรงมานี้กลับทำให้เขากลายเป็นที่รักของสมาชิกพรรคระดับรากหญ้าและประชาชนทั่วไป

Advertisements

แนวคิดทางการเมืองในฝ่ายอนุรักษ์นิยมหัวก้าวหน้า

ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา พรรค LDP ได้เข้าไปพัวพันกับเรื่องอื้อฉาวทางการเมืองครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งของญี่ปุ่นในรอบหลายทศวรรษ โดยกลุ่มที่มีอิทธิพลมากที่สุด 2 กลุ่มในพรรค LDP ถูกกล่าวหาว่าไม่แสดงรายได้และรายจ่ายของตนอย่างถูกต้อง และถูกกล่าวหาว่าโอนเงินทุนทางการเมืองไปให้สมาชิกรัฐสภาเพื่อติดสินบน ในฐานะหัวหน้าพรรครัฐบาล อิชิบะพยายามปรับปรุงภาพลักษณ์ของพรรค LDP ก่อนการเลือกตั้งทั่วไป

นักการเมืองรุ่นเก๋าคนนี้ให้คำมั่นว่าจะทำให้ญี่ปุ่นหลุดพ้นจากวิกฤตอัตราเงินเฟ้อให้ได้โดยสมบูรณ์ พร้อมทั้งให้คำมั่นว่าจะ “เพิ่มค่าจ้างที่แท้จริง” นอกจากนี้ เขายังสนับสนุนกฎหมายที่จะอนุญาตให้ผู้หญิงที่แต่งงานแล้วใช้ชื่อสกุลเดิมของตนได้ รวมถึงกล่าวว่าญี่ปุ่นควรลดการพึ่งพาพลังงานนิวเคลียร์เพื่อหันมาใช้พลังงานหมุนเวียนแทน และเรียกร้องให้มีกลุ่มความมั่นคงของนาโต (NATO) ในเอเชียเพื่อต่อต้านภัยคุกคามจากจีนและเกาหลีเหนือ

กิจการทหาร

อิชิบะเป็นที่รู้จักในฐานะ “โอตาคุกุนจิ” (ผู้คลั่งไคล้การทหาร) และมีความสนใจในเรื่องการทหารเป็นอย่างมาก เขาเป็นที่รู้จักในฐานะผู้เชี่ยวชาญมากมายที่เกี่ยวข้องกับระบบอาวุธ ประเด็นทางกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันประเทศ และยังชื่นชอบการสร้างและการทาสีโมเดลเครื่องบินและเรืออีกด้วย อิชิบะกล่าวซ้ำแล้วซ้ำเล่าว่าเขาเชื่อว่าญี่ปุ่นจำเป็นต้องมีหน่วยเทียบเท่ากับหน่วยนาวิกโยธินสหรัฐเพื่อที่จะปกป้องหมู่เกาะเล็กๆ จำนวนมากได้ ในปี 2010

เคยพ่ายแพ้ให้กับ ชินโซ อาเบะ อดีตนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นผู้ล่วงลับ

สำหรับนาย อิชิบะ ในปี 2012 ได้ลงสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีของ LDP แต่ต้องพ่ายแพ้ต่อชินโซ อาเบะ ผู้นำญี่ปุ่นที่ดำรงตำแหน่งนานที่สุด และเสียชีวิตจากการลอบสังหารเมื่อปี 2022 เพราะไม่ได้รับเสียงสนับสนุนจากเพื่อนร่วมพรรคเท่าที่ควร ในศึกชิงประธานพรรคมาแล้ว และอาเบะได้แต่งตั้งให้เขาดำรงตำแหน่ง เลขาธิการเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2012 แม้นายอิชิบะ จะวิพากษ์วิจารณ์การแบ่งฝักแบ่งฝ่ายในพรรค LDP อย่างรุนแรง แต่ก็จัดตั้งกลุ่มของตนเองขึ้นในวันที่ 28 กันยายน 2015 โดยมีเป้าหมายที่จะสืบทอดตำแหน่งนายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ

อนาคตของ ชิเงรุ อิชิบะ

นาย อิชิบะ จะเริ่มทำหน้าที่นายกรัฐมนตรีในวันที่ 1 ตุลาคม พร้อมเดินหน้าสานความสัมพันธ์ระหว่างญี่ปุ่นกับผู้นำสหรัฐฯ คนใหม่ท่ามกลางความท้าทายด้านความมั่นคงที่เพิ่มมากขึ้นในเอเชีย เขาจะต้องเผชิญกับภัยคุกคามต่อความมั่นคงในภูมิภาค ทั้งจีนที่แข็งกร้าวมากขึ้นเรื่อย ๆ และมีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับรัสเซีย ไปจนถึงการทดสอบขีปนาวุธต้องห้ามของเกาหลีเหนือ ด้านกิจการภายใน อิชิบะ ได้รับมอบหมายให้ฟื้นคืนชีพเศรษฐกิจและแก้ปัญหาค่าครองชีพที่สูงขึ้น ในขณะที่ธนาคารกลางกำลังจะกลับมาเข้มงวดทางการเงินอีกครั้งในรอบหลายทศวรรษเพื่อแก้ปัญหาค่าเงินเยนที่อ่อนลงอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งประเด็นความเชื่อมั่นของพรรคฯที่สูญเสียไปจากเรื่องอื้อฉาวมากมายในสมัยของฟูมิโอะ คิชิดะ

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

อ้างอิง : wikipedia

somkiar

นักเขียนสายรีวิว ดีกรีแอดมินเพจ ชอบเล่าเรื่องผ่านตัวอักษร เนิร์ดหนังและซีรีส์ตัวพ่อ เอนจอยการถ่ายรูปและงานนิทรรศการ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button