ข่าวการเมือง

ประวัติ สมศักดิ์ เทพสุทิน สส. 10 สมัย สู่ตำแหน่ง รมว.สาธารณสุข

เปิดประวัติ สมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ครม. อิ๊ง 1 สส. ผู้คร่ำหวอดงานสาธารณสุข

นายสมศักดิ์ เทพสุทิน สส.เพื่อไทย ผู้คร่ำหวอดในแวดวงการเมืองมากว่า 40 ปี ได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในรัฐบาลนางสาวแพทองธาร ชินวัตร เคยสร้างผลงานเป็น สส. พรรคกิจสังคม จังหวัดสุโขทัยมากถึง 10 สมัย และเป็นอดีตรัฐมนตรีมากว่า 14 ครั้ง ถือเป็นหนึ่งในบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในแวดวงสาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง มาทำความรู้จักกับนักการเมืองผู้มากประสบการณ์ในบทความนี้กัน

Advertisements

เส้นทางชีวิต นาย สมศักดิ์ เทพสุทิน

สมศักดิ์ เทพสุทิน มีชื่อเล่นว่า “เอ็ม” เกิดวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2498 ปัจจุบันอายุ 69 ปี เป็นลูกชายของ “โกเหนา” ประเสริฐ เทพสุทิน เจ้าของธุรกิจผู้รับเหมาก่อสร้างรายใหญ่ในจังหวัดสุโขทัย และนางพร เทพสุทิน

ชีวิตครอบครัว สมรสกับอนงค์วรรณ เทพสุทิน มีบุตร – ธิดา 2 คน คือ ณัฐธิดา เทพสุทิน และ เทิดไท เทพสุทิน และดำเนินธุรกิจก่อสร้าง (ห้างหุ้นส่วน สุโขทัย เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด) และกิจการฟาร์ม (เทิดไทฟาร์ม) ซึ่งหลังจากโดนตัดสิทธิ์ทางการเมืองจากการยุบพรรคไทยรักไทย สมศักดิ์ได้กลับมาบริหารเทิดไทฟาร์ม

ด้านการศึกษา นายสมศักดิ์ สำเร็จการศึกษาชั้น มศ.3 จากโรงเรียนศรีสำโรงชนูปถัมภ์ จังหวัดสุโขทัย จบการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย จากโรงเรียนอำนวยศิลป์ พระนคร จบการศึกษาปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ในปี พ.ศ. 2521 และ ปริญญาโทรัฐศาสตร์มหาบัณฑิต (สาขาบริหารรัฐกิจ) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2538

สมศักดิ์ เทพสุทิน มีชื่อเล่นว่า "เอ็ม" เกิดวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2498 ปัจจุบันอายุ 69 ปี เป็นลูกชายของ “โกเหนา” ประเสริฐ เทพสุทิน เจ้าของธุรกิจผู้รับเหมาก่อสร้างรายใหญ่ในจังหวัดสุโขทัย และนางพร เทพสุทิน
ภาพจาก Facebook : สมศักดิ์ เทพสุทิน

เส้นทางเข้าสู่แวดวงการเมือง

เริ่มต้นเส้นทางการเมืองในตำแหน่ง สจ.สุโขทัย ปี พ.ศ.2524 ก่อนจะขยับมาเล่นการเมืองระดับชาติ และได้รับตำแหน่ง สส.สุโขทัยสมัยแรก สังกัดพรรคกิจสังคม ในปี พ.ศ.2526 ขณะที่เขามีอายุได้เพียง 26 ปี นับตั้งแต่นั้นจนถึงปี พ.ศ.2539 สมศักดิ์ได้ตำแหน่ง สส.สุโขทัย และได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีครั้งแรกในรัฐบาลของพลเอก สุจินดา คราประยูร ในตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในปี พ.ศ.2535

เคยได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในรัฐบาลชวน หลีกภัย ต่อมาจึงได้ย้ายมาสังกัดพรรคไทยรักไทย และลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ระบบบัญชีรายชื่อ ของพรรคไทยรักไทย ในการเลือกตั้งปี 2544 โดยให้ภรรยาลงสมัครในระบบเขตแทน และสมศักดิ์ ยังได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม

Advertisements

ช่วงปี พ.ศ. 2545 แล้วจึงปรับมารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในปี พ.ศ. 2546 และเป็นรองนายกรัฐมนตรีในเวลาต่อมา จากนั้นในปี พ.ศ. 2548 จึงได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีอีกครั้งในรัฐบาลทักษิณ 2 เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และปรับเปลี่ยนมาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน

เริ่มต้นเส้นทางการเมืองในตำแหน่ง สจ.สุโขทัย ปี พ.ศ.2524 ก่อนจะขยับมาเล่นการเมืองระดับชาติ และได้รับตำแหน่ง ส.ส.สุโขทัยสมัยแรก
ภาพจาก Facebook : สมศักดิ์ เทพสุทิน

บทบาทการเป็นหัวหน้ากลุ่ม “วังน้ำยม” และ “กลุ่มมัชฌิมา”

อีกบทบาทสำคัญของ นายสมศักดิ์ คือการเป็นหัวหน้ากลุ่มการเมืองในพรรคไทยรักไทยที่ชื่อ “กลุ่มวังน้ำยม” อันเป็นกลุ่มใหญ่ที่สุดในพรรค การหาเสียงการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2548 มีนโยบายที่รู้จักกันเป็นอย่างดี คือ “โคล้านตัว” เป็นนโยบายที่จะทำการแจกโคให้แก่เกษตรกรฟรีทั่วประเทศ และเป็นที่มาของการจัดตั้งบริษัท ส่งเสริมธุรกิจเกษตรกรไทย จำกัด แต่โครงการดังกล่าวก็ไม่ประสบความสำเร็จ สามารถดำเนินการจัดหาโคได้เพียง 21,684 ตัวเท่านั้น

หลังการรัฐประหารปี พ.ศ. 2549 สมศักดิ์และกลุ่มวังน้ำยมได้ลาออกจากพรรคไทยรักไทย ไปจัดตั้งกลุ่มของตัวเองขึ้นมาใหม่ ใช้ชื่อว่า “กลุ่มมัชฌิมา” ต่อมาในปี พ.ศ. 2550 ได้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549 แต่ก็ยังดำเนินการทางการเมือง ด้วยการนำพาสมาชิกที่เหลือไปสังกัดกับทางพรรคประชาราช โดยที่นางอนงค์วรรณได้เป็นเลขาธิการพรรคในเวลาต่อมา แต่ก็อยู่กับทางพรรคประชาราชได้ไม่นาน เมื่อประชัย เลี่ยวไพรัตน์ มีความเห็นไม่ลงตัวกับเสนาะ เทียนทอง กลุ่มของประชัยและสมศักดิ์จึงได้ไปรวมตัวกันใหม่ ในชื่อ พรรคมัชฌิมาธิปไตย โดยที่นางอนงค์วรรณก็ได้เป็นเลขาธิการพรรคด้วย

ต่อมาในปี 2551 ศาลรัฐธรรมนูญ ได้มีคำพิพากษายุบพรรคมัชฌิมาธิปไตย และตัดสิทธิกรรมการบริหารพรรคเป็นเวลา 5 ปี ทำให้ ส.ส. ในกลุ่มของนายสมศักดิ์ จึงได้ย้ายมาร่วมกิจกรรมทางการเมืองกับกลุ่มเพื่อนเนวิน ในนามพรรคภูมิใจไทย

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 16
ภาพจาก Facebook : สมศักดิ์ เทพสุทิน

การร่วมงานกับพรรคเพื่อไทย

ย้อนกลับไปในปี พ.ศ. 2557 สมศักดิ์ได้ก้าวเข้าสู่สนามการเมืองระดับชาติอย่างเต็มตัว ด้วยการสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย โดยได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในลำดับที่ 16 ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความไว้วางใจและความคาดหวังที่พรรคมีต่อตัวเขา

เมื่อเวลาผ่านไปสี่ปี ลมการเมืองก็พัดพาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ ในปี พ.ศ. 2561 สมศักดิ์ได้ตัดสินใจครั้งสำคัญที่จะเปลี่ยนเส้นทางการเมืองของตน ด้วยการประกาศไม่ยืนยันสมาชิกภาพกับพรรคเพื่อไทย การตัดสินใจครั้งนี้ไม่เพียงแต่ทำให้สิ้นสุดการเป็นสมาชิกพรรคเท่านั้น แต่ยังเปิดโอกาสให้เขาได้ก้าวเข้าสู่เวทีการเมืองใหม่ ด้วยการประกาศเข้าร่วมงานกับพรรคพลังประชารัฐ ซึ่งในขณะนั้นกำลังเป็นดาวรุ่งในวงการการเมืองไทย

ต่อมาในวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2566 นายสมศักดิ์ได้แถลงลาออกจากการเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม พร้อมลาออกจากพรรคพลังประชารัฐ และได้ย้ายกลับไปร่วมงานกับพรรคเพื่อไทยอีกครั้ง พร้อม สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม, อดีตรองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ และอดีตหัวหน้ากลุ่มสามมิตร

หลังการเลือกตั้ง พ.ศ. 2566 เขาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย และได้รับแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน แต่ต่อมาถูกโยกย้ายตำแหน่งไปเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข แทน น.พ.ชลน่าน ศรีแก้ว

พรรคเพื่อไทย เขาได้ตอบคำถามของผู้สื่อข่าวด้วยความมั่นใจในประเด็นเรื่องพรรคเพื่อไทยจะได้เป็นรัฐบาลหรือไม่ ระบุว่า “ตอบไม่ได้ว่าจะเป็นรัฐบาลหรือไม่ แต่ผมไม่เคยอยู่ฝ่ายค้านในขณะที่เป็น ส.ส.”
ภาพจาก Facebook : สมศักดิ์ เทพสุทิน

ไม่เคยเป็นฝ่ายค้าน

หลังจากที่นายสมศักดิ์แถลงลาออกจากการเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม พร้อมลาออกจากพรรคพลังประชารัฐ และกลับมาร่วมงานกับเพื่อไทยอีกครั้ง ในปี พ.ศ. 2566 ตนได้ตอบคำถามของผู้สื่อข่าวด้วยความมั่นใจในประเด็นเรื่องพรรคเพื่อไทยจะได้เป็นรัฐบาลหรือไม่ ระบุว่า “ตอบไม่ได้ว่าจะเป็นรัฐบาลหรือไม่ แต่ผมไม่เคยอยู่ฝ่ายค้านในขณะที่เป็น สส.”

เมื่อย้อนกลับไปในการเลือกตั้ง ปี พ.ศ.2554 สมศักดิ์อยู่เบื้องหลังกลุ่มมัชฌิมา ที่มี สส.อยู่ในสังกัดพรรคภูมิใจไทย และตอนนั้นพรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้ง ทำให้พรรคภูมิใจไทยต้องกลายเป็นฝ่ายค้าน ทว่า สมศักดิ์ไม่ได้เป็น สส. ในปีนั้น และเขาก็ดิ้นรนหาทางเข้าร่วมกับรัฐบาลยิ่งลักษณ์ แต่สุดท้ายก็เจรจาปิดดีลดังกล่าวไม่ได้ ดังนั้นคำพูดที่ว่าเขาไม่เคยเป็นฝ่ายค้านในขณะที่เป็น สส. อาจจะถูกเพียงครึ่งเดียว

นาย สมศักดิ์ เทพสุทิน คลุกคลีกับงานกระทรวงสาธารณสุข เพราะเขาเคยรับตำแหน่ง รมช.และรมว.สธ.มาก่อนหน้านี้
ภาพจาก Facebook : สมศักดิ์ เทพสุทิน

สานต่องานในตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

นี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่ นาย สมศักดิ์ เทพสุทิน คลุกคลีกับงานกระทรวงสาธารณสุข เพราะเขาเคยรับตำแหน่ง รมช.และรมว.สธ.มาก่อนหน้านี้ โดยพันธกิจหลักคือการเดินหน้าขับเคลื่อนนโยบายเรือธงของรัฐบาล “ 30 บาทรักษาทุกที่ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว” รวมถึงปัญหาต่างๆ ภายในกระทรวงสาธารณสุข โดยเฉพาะการจัดสรรงบประมาณให้กับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) หลังจากที่โรงพยาบาลที่เข้าร่วมออกมาร้องเรียนถึงการเบิกจ่ายงบที่ลดลง รวมทั้งงบค้างท่อที่เบิกจ่ายไม่ได้ รวมถึงในฝั่งของประชาชนผู้ใช้บริการก็ติดปัญหาการส่งต่อ ที่ไม่สะดวก รวดเร็ว และหน่วยบริการที่มีน้อย ไม่เพียงพอกับความต้องการ

นาย สมศักดิ์ เทพสุทิน ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ในปี พ.ศ. 2538 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.) และปี พ.ศ. 2536 เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

อ้างอิง : wikipedia , Facebook : สมศักดิ์ เทพสุทิน

somkiar

นักเขียนสายรีวิว ดีกรีแอดมินเพจ ชอบเล่าเรื่องผ่านตัวอักษร เนิร์ดหนังและซีรีส์ตัวพ่อ เอนจอยการถ่ายรูปและงานนิทรรศการ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button