ส่อวุ่นอีกครั้งสำหรับการแข่งขัน เจ็ตสกี ในมหกรรมกีฬา ซีเกมส์ 2023 หลังล่าสุดเจ้าภาพอย่าง กัมพูชา ได้มีการปรับรุ่งการแข่งขันอีกครั้ง รวมไปถึงลดจำนวนนักกีฬาลง
การแข่งขันกีฬาของชาวอาเวียนอย่าง ซีเกมส์ ครั้งที่ 32 ที่ในครั้งนี้จะจัดขึ้นที่กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ในระหว่างวันที่ 5-17 พฤษภาคมนี้ แต่ดูเหมืนอว่าทุกอย่างจะมีไม่ถูกใจชาติเจ้าภาพสัดเท่าไร หลังจากที่พวกเขามีการปรับให้มีการแข่งขันกีฬาพื้นบ้านเข้ามาเป็นจำนวนมาก รวมไปถึงการเปลี่ยนชื่อกีฬา มวยไทย ไปเป็น กุน ขแมร์ พร้อมเคลมว่าศิลปะการต่อสู้นี้เป็นของชาวเขมร
ล่าสุดเมื่อวานนี้ (24 มกราคม) นายประชุม บุญเทียม รองผู้ว่าการฝ่ายกีฬาเป็นเลิศและวิทยาศาสตร์การกีฬา เป็นประธาน พร้อม นายกองเอก ชัยภักดิ์ ศิริวัฒน์ ผู้แทนคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทย พลเอกมังกร โกสินทรเสนีย์ ผู้ช่วยเลขาธิการฯ หัวหน้าสำนักงานเลขาธิการคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย นายปรีชา ลาลุน ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนากีฬาเป็นเลิศ, นายวุฒิชัย ชัยจิตย์ ผู้อำนวยการกองแข่งขันกีฬาเป็นเลิศ, นายวรศักดิ์ ขันติบัณฑิต ผู้อำนวยการกองพัฒนากีฬาเป็นเลิศ, นายสุวิทย์ เกิดบำรุง ผู้อำนวยการกองเวชศาสตร์การกีฬา, นางโสภา วิฑิตอมรเวท ผู้อำนวยการกองวิทยาศาสตร์การกีฬา, นายอัครพร พึ่งพร หัวหน้างานแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติ ผู้แทนงานกำกับดูแลและติดตามประเมินผลกีฬาเป็นเลิศ และเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ เข้าร่วมการประชุม กับผู้แทนสมาคมกีฬาแห่งประเทศไทยที่ส่งนักกีฬาเข้าแข่งขัน ณ ห้องประชุม ชั้น 24 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา การกีฬาแห่งประเทศไทย
ในที่ประชุมได้พิจารณาทบทวนถึงความคาดหวังเหรียญรางวัลจากการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ที่กัมพูชา หนนี้ ที่ตั้งไว้ จำนวน 141 เหรียญทอง พิจารณาถึงผลการทดสอบสมรรถภาพและประเมินศักยภาพ โดยฝ่ายวิทยาศาสตร์การกีฬา กกท. ซึ่งจะแบ่งการทดสอบออกเป็น 3 ครั้ง โดยครั้งที่ 1 เดือนสิงหาคม – ธันวาคม 2565 ครั้งที่ 2 เดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ 2566 และครั้งที่ 3 เดือนมีนาคม – เมษายน 2566
ซึ่งผลการทดสอบครั้งแรก มีผลอยู่ในเกณฑ์ระดับปานกลางหลายสมาคมกีฬา ซึ่งสมาคมกีฬาต้องฝึกซ้อมนักกีฬาให้มีผลในเกณฑ์ระดับดี จึงจะสามารถส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันได้ตามนโยบายของ พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ ประธานคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย
ขณะที่จำนวนรุ่นการแข่งขันของกีฬาเจ็ตสกี ยังคงมีจำนวน 6 รุ่นเช่นเดิม โดย 1 ใน 6 รุ่น มีการเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง โดย ยกเลิก รุ่นเรือยืน 2 จังหวะ (SKI LITE) เปลี่ยนแปลง เป็นเรือนั่งปรับแต่งเครื่องยนต์ (RUNABOUT LIMITED) ทำให้ต้องเรียกตัวนักกีฬาเจ็ตสกีในรุ่นที่มีการเปลี่ยนแปลงกลับมาอยู่ในแผนงานอีกครั้ง ซึ่งจำนวนนักกีฬาจะต้องมีการตัดตัวให้เหลือเพียง 10 คน เพื่อลงทำการแข่งขัน 6 รุ่น
ถือเป็นงานหนักของคณะทีมงาน ผู้ฝึกสอน สมาคมกีฬาเจ็ตสกีฯ เพราะแต่ละคนที่ผ่านการคัดเลือกมีสิทธิ์ลุ้นเหรียญรางวัลทุกคน ถือเป็นงานยากในการตัดตัวนักกีฬา แต่สมาคมฯ มีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนว่า จะนำวิทยาศาสตร์การกีฬา มาเป็นตัวชี้วัดผลทดสอบสมรรถภาพนักกีฬาในการตัดตัว เพื่อให้ได้นักกีฬาเจ็ตสกีที่มีความฟิตพร้อมที่สุด ในการลงทำหน้าที่ในนามทีมชาติไทย
สำหรับนักกีฬาที่ตบเท้าเข้ารายงานตัวเพื่อเป็นตัวแทนทีมชาติไทยบู๊ศึกซีเกมส์ในครั้งนี้ หลังปรับทัพล่าสุด ณ วันที่ 24 มกราคม 2566 ก่อนทำการตัดตัวให้เหลือ 10 คน เพื่อส่งรายชื่อลงชิงชัยเหรียญทองในการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 32 มีรายชื่อลงทำการแข่งขัน ดังนี้
รุ่นเรือยืน จีพี (SKI GP)
- นันทวัชร์ สิงห์อุไร
- อานนท์ หงส์กลาง
- ภูริภัทร ทองก้อน
รุ่นเรือยืน 1500 ซีซี ห้ามปรับแต่งเครื่องยนต์ (SKI 1500 STOCK)
- นราธิป ทองอยู่
- ธนวินท์ โมลี
- วรวิทย์ จิตรประสงค์
เรือนั่ง 1100 ซีซี ห้ามปรับแต่งเครื่องยนต์ (RUNABOUT 1100 STOCK)
- เพียรรัตน์ ศรีคงรัตน์
- ศศินา ผิวงาม
- จักริน ศิริรัตนภูมี
เรือนั่ง ห้ามปรับแต่งเครื่องยนต์ (RUNABOUT STOCK)
- ณัฐกร ภูภักดี
- เพิ่มพล ธีรพัฒน์พาณิชย์
- จุลจักร งามดี
เรือนั่ง ปรับแต่งเครื่องยนต์ได้ (RUNABOUT LIMITED)
- ชยพล คุ้มทะยาย
- สุภัค เสร็จธุระ
- ธีระ เสร็จธุระ
เรือนั่ง ขับขี่ระยะทางไกล โอเพ่น (RUNABOUT ENDURANCE OPEN)
- สหรัฐ งามสมมิตร
- ธีระพงษ์ พิมพาวัตร
- เฉลิมวุฒิ ล้อมวงษ์
พร้อมกันนี้ทางสมาคมกีฬาเจ็ตสกีแห่งประเทศไทย ยังได้ปลูกฝังให้นักกีฬาทุกคนที่ได้รับคัดเลือกมาจากหลายทีมทั่วประเทศไทย มุ่งเน้นการรวมใจเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เพื่อเป้าหมายการสร้างชื่อเสียงให้ประเทศไทย มอบเป็นของขวัญให้คนไทยทั้งประเทศ รวมถึงแฟนๆกีฬามอเตอร์สปอร์ตชาวไทย และคอกีฬาเจ็ตสกีทั่วประเทศ