สุขภาพและการแพทย์

รู้ก่อนดีกว่า พาทำ แบบสอบถาม ‘โรคซึมเศร้า’ อดีตภัยร้ายเงียบที่เริ่มกัดกินคนรุ่นใหม่

รู้ทันตัวเอง แบบสอบถาม ‘โรคซึมเศร้า’ อดีตภัยร้ายเงียบกัดกินคนรุ่นใหม่ โรคซึมเศร้า ไบโพลาร์ Depressionโรคของสารในสมองที่ถูกมองว่าเป็นเรื่องของจิตใจ

ชวนคุณมาทำ แบบสอบถาม ‘โรคซึมเศร้า’ และทำความรู้จักกับโรคซึมเศร้า ภัยเงียบที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน เพราะโลกยุคนี้หมุนไปไวจนทำให้หลายคนรู้สึกแย่อย่างไร้สาเหตุ การมองไม่เห็นแผลใช่ว่าจะไม่มีแผล ยิ่งถ้าหากแผลที่ว่านั้นอยู่ภายในร่างกายหรือในจิตใจของคุณ วันนี้ The Thaiger ขอพาคุณไปทำความรู้จักกับโรคซึมเศร้า โรคที่พูดถึงมากขึ้นในหมู่คนรุ่นใหม่ โรคที่เหมือนกับเป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นภายในจิตใจ แต่ลึก ๆ ลงไปแล้ว มันไม่ใช่อย่างที่คุณเข้าใจ

โรคซึมเศร้า (Depression) คืออะไร โรคที่ใครก็เป็นได้

ฟังชื่อโรคครั้งแรก หลายคนคงเข้าใจว่ามันคือภาวะทางอารมณ์และความรู้สึกที่เกิดขึ้นอย่างหนัก จนนำไปสู่การเป็นโรคใช่หรือเปล่าคะ แต่จริง ๆ แล้ว โรคซึมเศร้าแม้จะจัดอยู่ในหมวดโรคทางจิตเวชก็จริง แต่มันมีสาเหตุมาจากสารสื่อประสาท 3 ชนิดเกิดความไม่สมดุลกัน สารสื่อประสาทดังกล่าว ได้แก่ ซีโรโทนิน (serotonin), นอร์เอพิเนฟริน (norepinephrine) และโดปามีน (dopamine) นั่นเอง ความผิดปกติของสารสื่อประสาทเหล่านี้ สามารถรักษาได้ด้วยการรักษากับแพทย์โดยตรง

แบบสอบถาม โรคซึมเศร้า

สาเหตุโรคซึมเศร้า ใกล้ตัวมากกว่าที่คิด

สาเหตุของการเกิดโรคซึมเศร้านั้นมีหลากหลาย แต่ที่พบหลัก ๆ มักจะเกิดจากปัจจัยที่ส่วนมาก ผู้มีอาการของโรคซึมเศร้าไม่สามารถควบคุมได้ ดังนี้ค่ะ

พันธุกรรม หากมีคนในครอบครัวมีภาวะซึมเศร้า พบว่ามีโอกาสสูงถึง 80% ที่คนในครอบครัวเดียวกันจะเป็นโรคซึมเศร้าด้วย โดยพบมากในฝาแฝด แต่ถึงแม้ว่าจะมีโอกาสสูงแต่ใช่ว่าจะต้องเป็นเช่นนั้นเสมอไป เพราะยังมีปัจจัยอีกหลายประการ

พฤติกรรม ผู้ที่มีพฤติกรรมพักผ่อนไม่เพียงพอ รวมถึงมีการใช้ยาบางชนิด เช่น ยานอนหลับ สารเสพติด สิ่งเหล่านี้อาจทำให้เป็นโรคซึมเศร้าได้

สิ่งแวดล้อมที่ใช้ชีวิต คนรอบตัว ครอบครัว รวมถึงเหตุการณ์ที่คน ๆ หนึ่งต้องเผชิญและใช้ชีวิตอยู่กับมัน ก็สามารถเป็นสาเหตุของโรคได้ทั้งหมด เช่น ต้องเผชิญสภาวะความเครียดและกดดันจากการทำงาน เรื่องในบ้าน การสูญเสียบุคคลสำคัญในชีวิต เป็นต้น

ฮอร์โมนร่างกาย มีรายงานว่าเพศหญิงมีอัตราเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่า โดยมากปัญหาฮอร์โมนของเพศหญิงมักจะผิดปกติหรือแปรปรวนได้ในหลายกรณี เช่น คลอดบุตร ถึงวัยหมดประจำเดือน

นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่น ๆ รวมถึงภาวะซึมเศร้าที่เกิดขึ้นตามฤดูกาล Seasonal Affective Disorder โดยเฉพาะแถบประเทศที่มีฤดูหนาวยาวนาน ผู้คนไม่ได้รับแสงอาทิตย์

แบบสอบถาม โรคซึมเศร้า

สังเกตตนเอง เรามีแนวโน้มเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่

ทุกคนสามารถสังเกตอาการตนเองได้ จากอาการ 9 ข้อต่อไปนี้ โดยหลังจากตอบคำถามแล้วพบว่าคุณมีอาการอย่างน้อย 5 ข้อขึ้นไป รวมถึงเกิดต่อเนื่องตลอดทั้งวัน นานกว่า 2 สัปดาห์ละก็ ควรเข้าพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยให้ถี่ถ้วน เนื่องจากอาการในลักษณะนี้มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคซึมเศร้าได้

– อยากร้องไห้โดยไม่มีสาเหตุ รู้สึกท้อ หดหู่ สิ้นหวัง อารมณ์แปรปรวนง่ายและรุนแรง เช่น กังวลหรือหงุดหงิดมากเกินพอดี

– ไม่อยากทำอะไร เลิกชอบสิ่งที่เคยชอบ เก็บตัวมากขึ้น

– อ่อนเพลีย หมดพลัง รู้สึกไร้เรี่ยวแรง

– พฤติกรรมการนอนเปลี่ยนไป เช่น นอนไม่หลับเลยหรือนอนหลับมากเกินไป

– พฤติกรรมการรับประทานอาหารเปลี่ยนไป เช่น กินไม่ลงเลยหรือกินมากผิดปกติ

– พฤติกรรมโดยรวมเปลี่ยนไป เช่น จากที่เคยเป็นคนนิ่ง ๆ กลับรู้สึกกระวนกระวายอยู่ไม่สุข หรือจากที่เคยเป็นคนมีพลัง กลับรู้สึกเฉื่อยชา เนือย ไม่อยากใช้ชีวิต

– รู้สึกว่าตนเองไร้ค่า ทำอะไรก็ไม่ดี ไม่หลงเหลือความเชื่อมั่นหรือมั่นใจในตัวเอง รวมถึงการโทษตัวเองในทุก ๆ เรื่อง

– รู้สึกไม่มีสมาธิ ไม่สามารถโฟกัสกับสิ่งที่ต้องทำได้ ความจำแย่ลง

– รู้สึกว่าไม่อยากมีชีวิตอยู่ นึกถึงความตายว่าเป็นทางออกมากขึ้น

แบบสอบถาม โรคซึมเศร้า

แบบสอบถามภาวะซึมเศร้า ประเมินเบื้องต้นเพื่อไปต่อ

สำหรับใครที่ไม่แน่ใจว่าสถานการณ์ของตัวเองตอนนี้อยู่ในความเสี่ยงที่จะเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่ และยังไม่รู้จะหันหน้าไปปรึกษาใครดี อาจจะเริ่มจากการทำแบบสอบถาม ประเมินภาวะซึมเศร้าในอินเทอร์เน็ตก่อนก็ได้นะคะ โดยสามารถเลือกทำแบบสอบถามจากสถานพยาบาลต่าง ๆ ที่นำมาลงไว้ได้ค่ะ

แบบทดสอบภาวะซึมเศร้า PHQ – 9 โดยคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

แบบประเมินซึมเศร้าสำหรับวัยรุ่น (CES-D) โดยสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์

แนวทางรักษาโรคซึมเศร้า และวิธีปฏิบัติต่อผู้ที่มีภาวะโรคซึมเศร้า

วิธีการรักษาอาการของโรคซึมเศร้า มีด้วยกันหลากหลายรูปแบบ ทั้งการรักษาด้วยยา (Pharmacological treatment) จิตบำบัด (Psychotherapy) ไปจนถึงการใช้คลื่นไฟฟ้าในการรักษา (Electroconvulsive Therapy) แต่แนวทางอย่างสุดท้ายจะใช้สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมากแล้วเท่านั้น

หัวข้อสุดท้ายที่เราจะพูดถึงกันก็คือ วิธีปฏิบัติตัวต่อผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยควรทำความเข้าใจผู้ป่วย ให้กำลังใจ ระมัดระวังการเลือกใช้คำพูด อยู่เคียงข้าง รับฟัง หรือแม้กระทั่งช่วยสังเกตพฤติกรรม หากพบความผิดปกติควรรีบพาผู้ป่วยมาพบแพทย์ทันที

โรคซึมเศร้าเต๋าทีเจ

อ้างอิงจาก (1) (2)

Lalita C.

นักเขียนคอนเทนต์ SEO แห่งทีมไทยเกอร์ไทย คลุกคลีกับการเขียนตั้งแต่สมัยเรียน ชอบการใช้ความคิดสร้างสรรค์ ติดตามข่าวสารจากโลกออนไลน์ นำมาสรุป เล่าเรื่องให้เข้าใจง่าย ผ่านมุมมองน่าสนใจที่คนมักจะมองข้าม ทั้งข่าวบันเทิง บทความ งานเขียนแนวไลฟ์สไตล์ รวมถึงทุกอย่างที่อยากให้นักอ่านได้รู้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button