ข่าวปลอม! ปปง. ออก ราชกิจจาโอนเงินค่าตรวจสอบทรัพย์สิน
จากที่มีการเผยแพร่ของข่าวที่ว่า สำนักงาน ปปง. ทำการออก ราชกิจจาโอนเงินค่าตรวจสอบทรัพย์สิน นั้น พบว่าไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด
ราชกิจจาโอนเงินค่าตรวจสอบทรัพย์สิน – (9 พ.ค. 2565) ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเรื่องสำนักงาน ปปง. ออกราชกิจจานุเบกษาให้ประชาชนโอนเงินค่าตรวจสอบทรัพย์สิน ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับทางสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ
จากกรณีที่มีการส่งต่อรูปภาพเอกสารจากสำนักงาน ปปง. ออกราชกิจจานุเบกษาให้ประชาชนโอนเงินค่าตรวจสอบทรัพย์สิน ทางสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ได้ตรวจสอบข้อมูลดังกล่าวและชี้แจงว่า แก๊งคอลเซ็นเตอร์แอบอ้างนำโลโก้สำนักงาน ปปง. ไปปลอมราชกิจจานุเบกษาหลอกให้โอนเงินค่าตรวจสอบทรัพย์สิน
ซึ่งสำนักงาน ปปง. ไม่เคยมีการออกเอกสารในลักษณะดังกล่าวแต่อย่างใด อีกทั้งรูปแบบของประกาศราชกิจจานุเบกษาตามที่มิจฉาชีพอ้างไม่ได้เป็นรูปแบบที่ถูกต้อง ซึ่งเป็นการกระทำที่เป็นความผิดตามมาตรา 6 และมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายราชการ พ.ศ.2482 ความผิดดังกล่าวมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี และปรับไม่เกิน 2,000 บาท
ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ – https://www.amlo.go.th/index.php/th/ หรือโทร. 02-219-3600
บทสรุปของเรื่องนี้คือ : แก๊งคอลเซ็นเตอร์แอบอ้างนำโลโก้สำนักงาน ปปง. ไปปลอมราชกิจจานุเบกษาหลอกให้โอนเงินค่าตรวจสอบทรัพย์สิน ซึ่งสำนักงาน ปปง. ไม่เคยมีการออกเอกสารในลักษณะดังกล่าวแต่อย่างใด
หน่วยงานที่ตรวจสอบ : สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
แหล่งที่มาของข่าว : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย
สามารถติดตามข่าวทั่วไปเพิ่มเติมได้ที่นี่ : ข่าวทั่วไป
- กทม. เปิด คลินิกลองโควิด 9 แห่ง ทั่ว กรุงเทพ – มีที่ไหนบ้าง?
- รมว. แรงงาน ยืนยัน! ปรับ ค่าแรงขั้นต่ำ เท่ากันทั่วประเทศ แต่ไม่ใช่ 492 บาท