การเงิน

เช็กที่นี่ ! สิทธิประกันสังคม ม.33 ม.39 ม.40 เกิด แก่ เจ็บ ตาย ได้เงินกี่บาท

ประกันสังคม ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในความรับผิดชอบของพนักงาน และบริษัทต่าง ๆ ทุกคน ว่าแต่ที่เราจ่ายเงินสมทบประกันสังคมไปทุกเดือนเนี่ย เราจะได้รับสิทธิประโยชน์อะไรบ้าง เช่น เงินคลอดบุตร เงินว่างาน เงินทำฟัน เงินชราภาพ ? ใครที่กำลังมีข้อข้องใจนี้อยู่ วันนี้ The Thaiger จะพาทุกท่านไปหาคำตอบกัน รวมสิทธิประโยชน์ประกันสังคมสำหรับผู้ประกันตนทุกมาตรา ครบจบในที่เดียวกับ สิทธิประกันสังคม ม.33 ม.39 ม.40 เกิด แก่ เจ็บ ตาย ได้เงินกี่บาท

เช็คเลย สิทธิประกันสังคม ม.33 ม.39 ม.40 ตั้งแต่เกิด ถึงตาย ได้เงินเท่าไหร่บ้าง

Advertisements

| ประกันสังคม คืออะไร ?

ประกันสังคม คือ การสร้างหลักประกันในการดำรงชีวิตในกลุ่มของสมาชิกที่มีรายได้ และจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมเพื่อรับผิดชอบในการเฉลี่ยความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการเจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ เสียชีวิต สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และการว่างงาน เพื่อให้ได้รับการรักษาพยาบาล และมีการทดแทนรายได้อย่างต่อเนื่อง

ผู้ประกันตนภายใต้ระบบประกันสังคม แบ่งออกได้เป็น 3 มาตราด้วยกัน ซึ่งได้แก่ มาตรา 33, มาตรา 39 และ มาตรา 40

สิทธิประกันสังคม

| สิทธิประกันสังคม ม.33, ม.39, ม.40

Advertisements

สำนักงาน ประกันสังคม กระทรวงแรงงาน แนะนำผู้ประกันตน มาตรา 33 มาตรา 39 และ มาตรา 40 เช็กสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ได้ตั้งแต่เกิด แก่ เจ็บ และตาย โดยสามารถสรุปง่าย ๆ ได้ดังนี้

| มาตรา 33 ลูกจ้างในสถานประกอบการ – สิทธิประกันสังคม |

ผู้ประกันตน มาตรา 33 คือ ลูกจ้างที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์ในวันเข้าทำงาน และทำงานอยู่ในสถานประกอบการที่มีลูกจ้าง ตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบเดือนละ 5% ของค่าจ้าง สูงสุดไม่เกิน 750 บาท/เดือน โดยจะคุ้มครอง 7 กรณี ดังนี้

  • กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย
  • กรณีคลอดบุตร
  • กรณีทุพพลภาพ
  • กรณีเสียชีวิต
  • กรณีสงเคราะห์บุตร
  • กรณีชราภาพ
  • กรณีว่างงาน

| มาตรา 39 ผู้ประกันตนโดยสมัครใจ – สิทธิประกันสังคม |

ผู้ประกันตน มาตรา 39 คือ บุคคลที่เคยทำงานและเป็นผู้ประกันตน มาตรา 33 มาก่อน แล้วออกจากงานแต่ต้องการรักษาสิทธิประกันสังคม ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบ 432 บาท/เดือน โดยจะคุ้มครอง 6 กรณี ดังนี้

  • กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย
  • กรณีคลอดบุตร
  • กรณีทุพพลภาพ
  • กรณีเสียชีวิต
  • กรณีสงเคราะห์บุตร
  • กรณีชราภาพ

| มาตรา 40 ผู้ประกอบอาชีพอิสระ – สิทธิประกันสังคม |

ผู้ประกันตน มาตรา 40 คือ บุคคลทั่วไปที่ประกอบอาชีพอิสระหรือแรงงานนอกระบบ ไม่เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 หรือผู้ประกันตนมาตรา 39 การจ่ายเงินสมทบประกันสังคม มาตรา 40 มีด้วยกัน 3 ทางเลือก ได้แก่ จ่ายเงินสมทบ 70 บาท/เดือน, จ่ายเงินสมทบ 100 บาท/เดือน และจ่ายเงินสมทบ 300 บาท/เดือน

ผู้ประกันตนสามารถเลือกสมัครได้ 3 ทางเลือก ดังนี้

  • ทางเลือกที่ 1 ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบ 70 บาท/เดือน คุ้มครอง 3 กรณี
    • กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย
    • กรณีทุพพลภาพ
    • กรณีเสียชีวิต
  • ทางเลือกที่ 2 ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบ 100 บาท/เดือน คุ้มครอง 4 กรณี
    • กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย
    • กรณีทุพพลภาพ
    • กรณีเสียชีวิต
    • กรณีชราภาพ
  • ทางเลือกที่ 3 ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบ 300 บาท/เดือน คุ้มครอง 5 กรณี
    • กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย
    • กรณีทุพพลภาพ
    • กรณีเสียชีวิต
    • กรณีชราภาพ
    • กรณีสงเคราะห์บุตร

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกันสังคมได้ที่ www.sso.go.th หรือโทรสายด่วน 1506 ให้บริการทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง

 

ข้อมูลจาก สำนักงานประกันสังคม

เรื่อง : สิทธิโชติ ลังกากาศ
บรรณาธิการ : ทศพล ถิรเจริญสกุล


Lalita C.

นักเขียนคอนเทนต์ SEO แห่งทีมไทยเกอร์ไทย คลุกคลีกับการเขียนตั้งแต่สมัยเรียน ชอบการใช้ความคิดสร้างสรรค์ ติดตามข่าวสารจากโลกออนไลน์ นำมาสรุป เล่าเรื่องให้เข้าใจง่าย ผ่านมุมมองน่าสนใจที่คนมักจะมองข้าม ทั้งข่าวบันเทิง บทความ งานเขียนแนวไลฟ์สไตล์ รวมถึงทุกอย่างที่อยากให้นักอ่านได้รู้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button