สงกรานต์ 2565 เล่นน้ำได้ไหม ไขข้อข้องใจ ที่นี่มีคำตอบ
สงกรานต์ 2565 เล่นน้ำได้ไหม เรามีคำตอบไว้ให้แล้ว สับสนเหลือเกินกับกระแสสงกรานต์ปีนี้ว่า ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รัฐบาลจะให้เล่นน้ำสงกรานต์ไหม สรุปแล้วสามารถเล่นน้ำที่ไหนได้บา้ง วันนี้เรามีคำตอบมาให้พร้อมว่า สรุปแล้ว สงกรานต์ 2565 เล่นน้ำได้ไหม จัดงานยังไงได้บ้าง
สงกรานต์ 2565 เล่นน้ำได้ไหม มีมาตรการจัดงานสงกรานต์ยังไงบ้าง
เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2565 ศูนย์บริหารสถานการณ์ โควิด-19 (ศบค.) ได้ออกแถลงการเกี่ยวกับการจัดงานเนื่องในวันสงกรานต์ ประจำปี พ.ศ. 2565 โดยมีมาตรการดังนี้
การเตรียมตัวก่อนร่วมงาน สงกรานต์ 2565
- ประชาชนที่เดินทางกลับภูมิลำเนา เข้าร่วมงานสงกรานต์ และกลุ่ม 608 ต้องได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์
- ประเมินความเสี่ยงของตนเอง หากพบว่ามีอาการ หรือมีความเสี่ยง ขอให้หลีกเสี่ยงการเข้าร่วมงาน หรือให้พิจารณาตรวจ ATK ก่อนเดินทาง/ร่วมงานภายใน 72 ชั่วโมง
- ขณะเดินทางโดยขนส่งสาธรณะ ให้สวมหน้ากากตลอดเวลา ล้างมือบ่อยๆ งดรับประทานอาหารและงดดื่มแอลกอฮอล์ ผู้จัดงาน และกิจการ/กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับงานสงกรานต์ให้ลงทะเบียนบนระบบ TSC2+ และประเมินตนเองตามประเภทมาตรการ COVID Free Setting ได้แก่ การจัดกิจกรรมพิเศษ (แสดงคอนเสิร์ต/ดนตรี งานอีเวนท์ งานเทศกาล มหกรรม) การจัดกิจกรรมรวมกลุ่มในชุมชน ศาสนสถาน ร้านอาหาร ขนส่งสาธารณะ ฯลฯ
- การขออนุญาตจัดงานให้เป็นไปตามเขตพื้นที่สถานการณ์ หรือตามที่คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด/กรุงเทพมหานครกำหนด สำหรับการจัดกิจกรรมในชุมชนให้แจ้งต่อ ศปก.ต./ศปก.อ. ผู้นำชุมชน และกำหนดให้มีมาตรการในการควบคุมกำกับอย่างเข้มงวด
ระหว่าง เทศกาลสงกรานต์ 2565
- พื้นที่จัดงานสงกรานต์ ที่มีการจัดเตรียมสถานที่และควบคุมกำกับ
- อนุญาตให้เล่นน้ำ และจัดกิจกรรมตามประเพณี เช่น รดน้ำดำหัว สรงน้ำพระ การละเล่น การแสดงทางวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น ขบวนแห่ การแสดงดนตรี โดยต้องปฏิบัติตามมาตรการ COVID Free Setting และมีการกำกับอย่างเคร่งครัด
- ห้ามประแป้ง ปาร์ตี้โฟม จำหน่ายและบริโภคแอลกอฮอล์ในพื้นที่จัดงาน
- กำหนดช่องทางเข้า-ออกจากงาน จัดจุดคัดกรอง และควบคุมความหนาแน่นในพื้นที่จัดงาน (1 ต่อ 4 ตารางเมตร)
- สวมหน้ากากตลอดเวลา พกเจลแอลกอฮอล์ รักษาระยะห่าง ตลอดเวลาที่ร่วมงาน
- พื้นที่สาธารณะไม่มีการควบคุม เช่น ท้องถนน ฯลฯ ห้ามเล่นน้ำ ประแป้ง และปาร์ตี้โฟม
- กิจกรรมรวมกลุ่มในครอบครัว เช่น รดน้ำดำหัว การรับประทานอาหารร่วมกัน ฯลฯ
- จัดกิจกรรมในที่มีการระบายอากาศได้ดี หรือที่โล่ง ไม่หนาแน่นหรือคับแคบ
- สวมหน้ากากตลอดเวลา งดกิจกรรมการสัมผัสใกล้ชิด หรือใช้สิ่งของร่วมกัน
- เลี่ยงการรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มร่วมกันเป็นเวลานาน
- ผู้สูงอายุที่ยังไม่ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ ควรได้รับวัคนให้ครบก่อนร่วมกิจกรรมสังสรรค์และสัมผัสใกล้ชิดลูกหลาน
- ผู้ติดเชื้อและผู้สัมผัสเสี่ยงสูงห้ามร่วมกิจกรรม
หลังกลับจากงานสงกรานต์ 2565
- หลังจากกลับจากสงกรานต์ สังเกตอาการตนเอง 7 วัน โดยเฉพาะในผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการป่วยรุนแรง และผู้ที่จะไปพบปะกับผู้คนจำนวนมาก หากพบว่ามีอาการสงสัยติดเชื้อให้ทำการตรวจ ATK
- ขอให้หลีกเลี่ยงการพบปะผู้คนจำนวนมากโดยไม่จำเป็น ในช่วงการสังเกตอาการ
- พิจารณามาตรการ WFH ให้เป็นไปตามความเหมาะสม และการพิจารณาของหน่วยงาน
นอกจากนี้ นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมยังกล่าวย้ำอีกด้วยว่า งานสงกรานต์ในปีนี้อนุญาตให้จัดเฉพาะประเพณีการละเล่น การแสดงดนตรี การแสดงทางวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น อาทิ การสรงน้ำพระ รดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ ทำบุญตักบาตร ได้เท่านั้น ไม่ได้อนุญาตจัดการเล่นน้ำ และย้ำให้ทุกคนปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคโควิด-19 อย่างเคร่งครัด
- กทม. ยันยึด มาตรการโควิด ช่วง สงกรานต์ ตาม สธ. แม้มีการเรียกร้องให้ปรับ
- ช็อก! ไทย พบผู้ป่วย ‘เดลตาครอน’ แล้ว 73 ราย แต่หายหมดแล้ว
- ‘หมอแล็บแพนด้า’ เตือน เหล้าขาว ฆ่าเชื้อโควิด ไม่ได้
- ‘หนุ่ย พงศ์สุข’ แจ้งติดเชื้อโควิด-19 พร้อมขอโทษทุกคนที่ได้รับผลกระทบ