สิทธิคนละครึ่ง ทำโซเชียลเสียงแตก หลังสาวเล่าประสบการณ์ออกเดท เจอหนุ่มขอใช้คนละครึ่ง กว่าเจ้าของเรื่องจะเฉลย ไฟดราม่าก็โขมงไปทั่วแพลตฟอร์ม
ควันหลงวันวาเลนไทน์ เมื่อสาวคนหนึ่งโพสต์แชร์ประสบการณ์ออกเดทของเพื่อนที่จำไม่ลืมลงบนTikkTok โดยเล่าเนื้อหาที่ลงไว้เมื่อสามวันที่ผ่านมา แต่ดราม่าลากยาวถึงวันนี้ (15 ก.พ.65) ดังนี้ “เพื่อนไปกินข้าวกับผู้ชาย ค่าข้าว 300 บาทแล้วผู้ชายใช้คนละครึ่ง ให้เพื่อนเราโอนให้มันอีก 150 บาท” งานนี้ทำชาวจำนวนมากนิ่งกันไม่ไหว พากันมาถล่มคอมเมนต์เดือด
ถกสนั่นประเด็นดังกล่าวเหมาะสมแล้วหรือไม่ ? แม้จะมีคอมเมนต์หนึ่งเห็นด้วยว่า การหารเงินค่าคนละครึ่ง 150 บาทก็ถูกต้องแล้ว เพราะสิทธินี้เป็นสิทธิจากรัฐไม่ใช่เงินส่วนตัว ทำให้การใช้สิทธิ 1 ครั้งเป็นการเสียจำนวนเงินในสิทธิ แถมยังมองว่าสิทธิคนละครึ่งก็เป็นสิทธิของผู้ชายการหาร 150 บาทก็ถูกแล้ว หากต้องการความยุติธรรมจริง ๆ ควรตกลงกันไปเลยว่า มื้อนี้ใครจ่ายจะหารกันหรือจ่ายเฉพาะอาหารที่แต่ละคนทาน
อย่างไรก็ตามมีความเห็นแย้งเพราะว่าหากฝ่ายหญิงโอนเงินคืนให้ผู้ชาย ก็เท่ากับฝั่งผู้ชายไม่ได้ออกค่าอาหารเลยสักบาทเดียว เนื่องจากส่วนต่าง 150 เป็นเงินที่รัฐช่วยออก
กระแสไวรัลนี้ลามต่อไปยังบนโลกทวิตเตอร์ที่มีการรีทวิตมากกว่า 48,500 ครั้ง ความเห็นหนึ่งอธิบายชี้แจงไว้น่าสนใจ ระบุ “ตัดเรื่องหญิงชายออกไป ใครทำแบบนี้ก็น่าเกลียด นี่ยังไม่เคยทำกับเพื่อนเลย ต่อให้เราใช้คนละครึ่ง บัตรส่วนลด หรือใช้คะแนนสะสม ก็ต้องหารจากราคาที่ลดแล้วดิ ถ้ากังวลเรื่องเสียสิทธิก็ไม่ต้องใช้ เก็บสิทธิไปใช้กับอย่างอื่นสิ”
“กรณีนี้ มันจะเหมือนผู้ชายเอาสิทธิมาแลกเป็นเงินสด 75 บาทด้วย ไม่ใช่การใช้สิทธิอย่างถูกต้อง เพราะตามจริงถ้าใช้คนเดียว (แยกบิลคนละ 150) ผู้ชายต้องจ่าย 75 บาท รัฐออก 75 บาท แต่อันนี้ดันจ่ายรวมแล้วมาเรียกเก็บกับผู้หญิง”
สุดท้ายดราม่า ออกเดทสิทธิคนละครึ่ง มาจมลงและลงเอยที่ล่าสุดสาวเจ้าของโพสต์ ออดมาเฉลยแล้วว่า เรื่องทั้งหมดเนี้ไม่ใช่เรื่องจริง เป็นเพียงแค่ POV (เรื่องสมมุติ) เพื่อดูความคิดเห็นของชาวเน็ตว่า เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับประเด็นดังกล่าว
*** ทั้งนี้ “คำว่า POV” ที่เดี๊ยวนี้จะเห็นบ่อยครั้ง โดยเฉพาะบน TikTok ที่ผู้คนนิยมทำวิดีโอที่สวมบทบาทเป็นอะไรสักอย่าง หรือทำวิดีโอเพื่อให้คนดูสวมบทบาทตอบโต้กับพวกเขา ราวกับเป็นตัวละครหลักของเนื้อเรื่อง
@kankanyaphak เพื่อนเรา=