ข่าว

กรมบัญชีกลาง ปรับปรุง การเบิกค่ารักษาพยาบาล กรณีเสี่ยง หรือติดเชื้อ โควิด-19

กรมบัญชีกลาง ปรับปรุง การเบิกค่ารักษาพยาบาล กรณีผู้มีสิทธิและบุคคลในครอบครัวเสี่ยงหรือติดเชื้อ โควิด-19 เพื่อให้สอดรับกับค่าบริการในปัจจุบัน

(10 ม.ค. 2565) เนื่องด้วยปัจจุบันการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อยืนยันติดเชื้อโควิด-19 และค่ารักษาพยาบาลประเภทอื่นๆ ปรับลดลง กรมบัญชีกลาง สปสช. และสำนักงานประกันสังคม หารือเกี่ยวกับการปรับปรุงหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และอัตราจ่ายใน การเบิกค่ารักษาพยาบาล และดูแลผู้รักษาป่วย โควิด-19

นางสาวกุลยา ตันติเตมิท อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า ด้วยปัจจุบันการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพื่อยืนยันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Real Time PCR) และรายการค่ารักษาพยาบาลประเภทอื่น ๆ ปรับลดลง กรมบัญชีกลาง สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และสำนักงานประกันสังคม จึงได้หารือร่วมกันเกี่ยวกับการปรับปรุงหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และอัตราจ่ายค่าบริการดูแลผู้ป่วยโรคโควิด 19 เพื่อให้สอดคล้องกับบริการและต้นทุนที่เกิดขึ้นจริง โดยมีการปรับปรุงรายละเอียด ดังนี้

1. การตรวจยืนยันการติดเชื้อโควิด 19

– การตรวจยืนยันการติดเชื้อด้วยวิธี Real Time PCR โดยการทำป้ายหลังโพรงจมูกและลำคอ ประเภท 2 ยีน ให้เบิกได้เท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 1,300 บาท จากเดิม 1,500 บาท

– การตรวจยืนยันการติดเชื้อด้วยวิธี Real Time PCR โดยการทำป้ายหลังโพรงจมูกและลำคอ ประเภท 3 ยีน ให้เบิกได้เท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 1,500 บาท จากเดิม 1,700 บาท

– การตรวจการติดเชื้อด้วยวิธี Antigen test ด้วยเทคนิค Chromatography ให้เบิกได้เท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 300 บาท จากเดิม 450 บาท

– การตรวจการติดเชื้อด้วยวิธี Antigen test ด้วยเทคนิค Fluorescent Immuunoassay (FIA) ให้เบิกได้เท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 400 บาท จากเดิม 500 บาท

– การตรวจการติดเชื้อด้วยวิธีอื่น ๆ นอกเหนือจาก 1.3 – 1.4 ให้เบิกได้เท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 400 บาท จากเดิม 550 บาท

2. ค่าอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล

– กรณีอาการเล็กน้อย (สีเขียว) ให้เบิกได้ในอัตราเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 300 บาทต่อวัน และไม่เกิน 10 วัน

– กรณีอาการปานกลาง (สีเหลือง) ให้เบิกได้ในอัตราเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 600 บาทต่อชุด และไม่เกิน 5 ชุดต่อวัน

– กรณีอาการรุนแรง (สีแดง)

  1. กรณีใช้ Oxygen High Flow ให้เบิกได้ในอัตราเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 600 บาทต่อชุด ไม่เกิน 15 ชุดต่อวัน
  2. กรณีใส่เครื่องช่วยหายใจ ให้เบิกได้ในอัตราเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 600 บาทต่อชุด ไม่เกิน 30 ชุดต่อวัน

3. ค่าห้องพักสำหรับควบคุมหรือดูแลรักษาผู้ป่วยอาการเล็กน้อย (สีเขียว) ในสถานพยาบาลของทางราชการ หรือสถานที่ที่สถานพยาบาลของทางราชการได้จัดหาไว้เป็นการเฉพาะ ให้เบิกได้ในอัตราเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 1,000 บาทต่อวัน จากเดิม 1,500 บาทต่อวัน ทั้งนี้ เบิกได้ไม่เกิน 10 วัน

4. ค่าทำความสะอาดฆ่าเชื้อบนรถพาหนะและค่าชุดป้องกันส่วนบุคคลของเจ้าหน้าที่ ให้เบิกได้ในอัตราเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 1,400 บาท จากเดิม 3,700 บาท ต่อครั้งที่มีการส่งต่อหรือรับตัวผู้ป่วยแล้วแต่กรณี

5. การเบิกค่ารักษาพยาบาลกรณีให้การรักษาพยาบาลผู้ป่วยที่บ้าน (Home Isolation) หรือในสถานที่อื่น ๆ (Community Isolation)

– ค่าบริการของสถานพยาบาลและการดูแลผู้ป่วยกรณีพักรอก่อนเข้ารับการรักษาพยาบาลเป็นผู้ป่วยใน ให้เบิกได้ในอัตราเท่าที่จ่ายจริงวันละไม่เกิน 1,000 บาท ทั้งนี้ไม่เกิน 10 วัน จากเดิมไม่เกิน 14 วัน

– ค่าอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นต้องใช้ในการติดตามอาการผู้ป่วยซึ่งได้รับการรักษาพยาบาลที่บ้าน (Home Isolation) ให้เบิกได้ในอัตราเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 1,100 บาท

– ค่าอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นต้องใช้ในการติดตามอาการผู้ป่วยซึ่งได้รับการรักษาพยาบาลในสถานที่อื่น ๆ (Community Isolation) ให้เบิกได้ในอัตราเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 500 บาทต่อราย

อธิบดีกรมบัญชีกลาง กล่าวว่า “สำหรับแนวปฏิบัติในการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลกรณีผู้มีสิทธิหรือบุคคลในครอบครัวเสี่ยงหรือติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 เป็นต้นไป โดยสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ตามหนังสือกรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุด ที่ กค 0416.4/ว 1292 ลงวันที่ 29 ธันวาคม 2564 หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ กองสวัสดิการรักษาพยาบาล กรมบัญชีกลาง หมายเลขโทรศัพท์ 02 127 7000 ต่อ 6854 4441 ในวัน เวลาราชการ”

 

แหล่งที่มาของข่าว : รัฐบาลไทย

สามารถติดตามข่าวเศรษฐกิจเพิ่มเติมได้ที่นี่ : ข่าวเศรษฐกิจ

 

N. Siripariyasak

นักเขียนคอนเทนต์ จับประเด็นด้านเศรษฐกิจ-การเงิน, เทคโนโลยี, ไอที และเกมส์ อัปเดตข่าวทั้งจากในประเทศไทย และต่างประเทศ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button