การเงิน

ธอส. เผยจำนวนลูกค้าใน มาตรการช่วยเหลือ โควิด-19

ธอส. เผยลูกค้าลงทะเบียนเข้า มาตรการช่วยเหลือ จาก โควิด-19 / COVID-19 [M 9, M 10 และ M 12] ระลอกใหม่ ณ วันที่ 27 ม.ค. 64 รวม 96,500 บัญชี เงินต้นคงเหลือ 90,000 ล้านบาท

ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เผยลูกค้าที่ได้รับผลกระทบด้านรายได้จากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (โควิด-19 / COVID-19) ระลอกใหม่ ลงทะเบียนแจ้งความประสงค์เข้า มาตรการช่วยเหลือ ระยะแรกตาม “โครงการ ธอส. รวมไทย สร้างชาติ ปี 2564” เพื่อลดเงินงวดผ่อนชำระ(เงินงวดที่ชำระจะตัดเงินต้นและตัดดอกเบี้ย) นานสูงสุด 6 เดือน จำนวนกว่า 96,500 บัญชี เงินต้นคงเหลือ 90,000 ล้านบาท

Advertisements

โดยมาตรการที่ 9 [ M 9 ] สำหรับลูกค้าที่เคยเข้าร่วมหรืออยู่ระหว่างใช้มาตรการช่วยเหลือฯ ของ ธอส. ยังคงเปิดให้ลงทะเบียนแจ้งความประสงค์เข้ามาตรการระยะแรกถึงวันที่ 29 มกราคม 2564 เวลา 22.00 น. ส่วนลูกค้าที่ไม่เคยเข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือ ของ ธอส. เตรียมลงทะเบียนแจ้งความประสงค์เข้าร่วมมาตรการที่ 11 [ M 11 ] ได้ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 9.00 น.เป็นต้นไป

นายฉัตรชัย ศิริไล กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยว่า ภายหลังจากธนาคารได้จัดทำมาตรการช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบด้านรายได้จากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระลอกใหม่ตามนโยบายของกระทรวงการคลังผ่าน “โครงการ ธอส. รวมไทย สร้างชาติ ปี 2564” ด้วย

  • 4 มาตรการ ลดเงินงวดผ่อนชำระ (เงินงวดที่ชำระจะตัดเงินต้นและตัดดอกเบี้ย) นานสูงสุด 6 เดือน โดยเริ่มเปิดให้ลูกค้าลงทะเบียนแจ้งความประสงค์เข้ามาตรการระยะแรกผ่าน Application : GHB ALL ตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม 2564 จำนวน 2 มาตรการ [ M 9 และ M 10 ]
  • แจ้งความประสงค์เข้ามาตรการผ่านสาขา 1 มาตรการ [ M 12 ] ล่าสุด ณ วันที่ 27 มกราคม 2564 เวลา 24.00 น. มีลูกค้าลงทะเบียนแจ้งความประสงค์เข้ามาตรการรวมจำนวนกว่า 96,500 บัญชี เงินต้นคงเหลือกว่า 90,000 ล้านบาท
  • แบ่งเป็น มาตรการที่ 9 [ M 9 ] สำหรับลูกค้าที่เคยเข้าร่วมหรืออยู่ระหว่างใช้มาตรการช่วยเหลือ ตาม “มาตรการช่วยเหลือลูกค้าผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)” และ “โครงการ ธอส. ช่วยคนไทย ร่วมสร้างชาติ” จำนวน 94,000 บัญชี เงินต้นคงเหลือ 87,500 ล้านบาท
  • โดย [ M 9 ] จะเปิดให้ลูกค้าที่เคยเข้าร่วมหรืออยู่ระหว่างใช้มาตรการช่วยเหลือของ ธอส. พร้อมกับมีสถานะบัญชีปกติ และไม่อยู่ระหว่างการประนอมหนี้ สามารถลงทะเบียนแจ้งความประสงค์เข้ามาตรการระยะแรกได้จนถึงวันที่ 29 มกราคม 2564 เวลา 22.00 น.
  • ส่วน มาตรการที่ 10 [ M 10 ] สำหรับลูกหนี้สถานะ NPL และลูกหนี้สถานะ NPL ที่อยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างหนี้มีลูกค้าลงทะเบียนแจ้งความประสงค์เข้ามาตรการจำนวน 2,500 บัญชี คิดเป็นวงเงินต้นคงเหลือ 2,400 ล้านบาท ลงทะเบียนแจ้งความประสงค์เข้ามาตรการได้จนถึงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2564
  • มาตรการที่ 12 [ M 12 ] สำหรับลูกค้าผู้ประกอบการ SMEs สินเชื่อประเภทแฟลต มีลูกค้าลงทะเบียนแจ้งความประสงค์เข้ามาตรการจำนวน 40 บัญชี เงินต้นคงเหลือ 290 ล้านบาท ยื่นคำขอเข้ามาตรการได้ที่สาขาทั่วประเทศภายในวันที่ 31 มีนาคม 2564

ขณะที่ มาตรการที่ 11 [ M 11 ] สำหรับลูกค้าที่ไม่เคยเข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือฯ ของ ธอส. ธนาคารจะเปิดให้ลงทะเบียนแจ้งความประสงค์เข้าร่วมมาตรการระยะแรกผ่าน Application : GHB ALL ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 9.00 น. เป็นต้นไป ถึงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 22.00 น.

โดยลูกค้าที่มีสิทธิ์แจ้งความประสงค์ขอใช้ [ M 11 ] ต้องมีคุณสมบัติ คือ เป็นลูกค้าที่ ไม่เคยเข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือฯ ของ ธอส. โดยมีสถานะบัญชีปกติ และไม่อยู่ระหว่างการประนอมหนี้ สามารถแจ้งความประสงค์เพื่อลดเงินงวดผ่อนชำระ (เงินงวดที่ชำระจะตัดเงินต้นและตัดดอกเบี้ย) เป็นระยะเวลา 6 เดือน (กุมภาพันธ์-กรกฎาคม 2564)

ทั้งนี้ ลูกค้าที่ต้องการลงทะเบียนแจ้งความประสงค์เข้าร่วมมาตรการระยะแรก ต้องอัพโหลดหลักฐานยืนยันว่ามีผลกระทบทางรายได้ผ่านทาง Application : GHB ALL ให้ธนาคารพิจารณา เช่น สลิปเงินเดือน หนังสือรับรองจากหน่วยงานต้นสังกัด ภาพถ่าย หรือ Statement เป็นต้น

Advertisements

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ธอส. ทุกสาขา ทั่วประเทศ หรือ ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ (Call Center) โทร 0-2645-9000 และ Facebook : Fanpage – ธนาคารอาคารสงเคราะห์

 

แหล่งที่มาของข่าว : Facebook Page – สถานีข่าวกระทรวงการคลัง

 

สามารถติดตามข่าวการเงินเพิ่มเติมได้ที่นี่ : ข่าวการเงิน

 

ไทยเกอร์นิวส์

นำเสนออัปเดตข่าวสารบ้านเมือง ข่าวล่าสุด มั่นใจว่าคุณจะทันทุกสถานการณ์ ไม่ว่า สังคมเศรษฐกิจ การเงิน การเมือง เรื่องร้อนออนไลน์ ดราม่าดารา อัปเดตบันเทิง ซีรีส์ หนัง เพลง ท่องเที่ยว กีฬา ตรวจหวย เลขเด็ด พร้อมเสิรฟ์ทุกเรื่องยาก ๆ ย่อยให้คุณเข้าใจง่าย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button