สุขภาพและการแพทย์

ไขความจริง นักศึกษาพาร์ทไทม์ สมาชิกกอช. อาชีพอิสระ ได้ขยายเงินเยียวยาจากรัฐ

นักศึกษาพาร์ทไทม์ สมาชิกกอช. อาชีพอิสระ เป็นกลุ่มขยายได้เงินเยียวยาจากรัฐ แท้จริงคืออะไร

จากกรณีสื่อหลายสำนักรายงานข่าวว่า นักศึกษาพาร์ทไทม์ อาชีพอิสระ สมาชิกกอช. หรือกองทุนการออมแห่งชาติ ได้ขยายเป็นผู้รับสิทธิ์ 5,000 บาท ลงทะเบียนเพิ่มเติมผ่านเว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน.com

ทำให้มีผู้สอบถามเข้ามาหลายรายว่าจะมีการเปิดให้ลงทะเบียนขอสิทธิ์ 5,000 ใหม่หรือไม่ ซึ่งความจริงแล้ว ทางเว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน.com ได้ปิดการลงทะเบียนไปแล้ว และกำลังอยู่ขั้นตอนการจ่ายเงิน และทบทวนสิทธิผู้ยื่นอุทธรณ์

เมื่อไปตรวจสอบผลประชุมคณะรัฐมนตรีวันที่ 28 เมษายน 2563 ได้ระบุไว้ว่า ” กลุ่มเป้าหมายที่ให้ความช่วยเหลือ เยียวยา และชดเชย

ประชาชนสัญชาติไทย อายุ 18 ปีขึ้นไป ณ วันลงทะเบียน ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จำนวน 16 ล้านคน ประกอบด้วยผู้เข้าข่ายได้รับสิทธิ 4 กลุ่มย่อย ดังนี้

1) ผู้ประกอบอาชีพอิสระ รับจ้าง ลูกจ้างชั่วคราว กิจการส่วนตัว ค้าขาย

2) ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมตามมาตรา 39 และ 40

3) สมาชิกกองทุนการออมแห่งชาติ

4) ผู้ได้รับผลกระทบที่มีรายชื่อปรากฏในฐานข้อมูลผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมแต่ประกอบอาชีพลูกจ้าง แรงงาน หรือประกอบอาชีพอิสระเป็นอาชีพหลัก (หากผู้ได้รับผลกระทบได้รับสิทธิตามมาตรการชดเชยรายได้ฯ แล้วจะไม่สามารถขอรับความช่วยเหลือจากมาตรการของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกรในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 ได้อีก) และผู้ได้รับผลกระทบที่ปรากฏอยู่ในฐานข้อมูลนักเรียน / นักศึกษา แต่เป็นนักเรียน / นักศึกษาไม่เต็มเวลา และประกอบอาชีพลูกจ้าง แรงงาน หรือประกอบอาชีพอิสระเป็นอาชีพหลัก

ผลที่คาดว่าจะได้รับ โครงการฯ สามารถช่วยเหลือเยียวยาให้กับแรงงาน ลูกจ้าง ผู้ประกอบอาชีพอิสระ หรือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในช่วงที่สถานประกอบการหยุดประกอบกิจการหรือมีรายได้ลดลงในช่วงที่เศรษฐกิจชะลอตัวเนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยมีตัวชี้วัดคือผู้เข้าข่ายได้

โดยครม.ระบุว่า ยอดผู้ได้รับสิทธิ 5,000 บาท 3 เดือนอยู่ที่จำนวน 16 ล้านราย สอดคล้องกับที่

“รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกรัฐบาล ได้ออกมาเปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรีเห็นชอบขยายจำนวนผู้ได้รับเงินเยียวยา 5,000 บาท จากโครงการเราไม่ทิ้งกัน จาก 14 ล้านคน เป็น 16 ล้านคน วงเงิน 2.4 แสนล้านบาท วงเงินดังกล่าวมาจากงบกาง 7 หมื่นล้านบาท และจากพ.ร.ก.กู้เงิน 1.7 แสนล้านบาท”

เท่ากับว่า เป็นการเพิ่มกลุ่มอาชีพที่เดิมไม่เข้าเกณฑ์ได้รับสิทธิ์เข้าไป 2 ล้านคน ขณะที่ทาง เว็บไซต์ sanook รายงานว่า “นายลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ยืนยันว่า กระทรวงการคลังจะไม่มีการเปิดลงทะเบียน www.เราไม่ทิ้งกัน.com ขอรับเงินเยียวยา 5,000 บาท รอบที่ 2 ซึ่งปิดลงทะเบียนไปแล้วตั้งแต่ 22 เมษายน” แต่จะเป็นการขยายสิทธิ์เดิมให้แก่ผู้ลงทะเบียนไปก่อนหน้าแล้ว ซึ่งมีอาชีพข้างต้นอยู่แล้ว

Aindravudh

นักเล่าเรื่อง จบการศึกษาด้านภาษาและประวัติศาสตร์ ผู้สนใจประเด็นความเคลื่อนไหวทางสังคมและการเมือง ผนวกกับการเริ่มต้นเส้นทางด้วยการเขียนงานวรรณกรรม ก่อนผันตัวมาเจาะประเด็นข่าวทางสังคม ออนไลน์ ด้วยกลวิธีการเล่าเรื่องแบบย่อยง่าย อย่างงานเขียนสร้างสรรค์ สั้น กระชับ จับทุกประเด็น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button