สุขภาพและการแพทย์

6 ข้อห้ามของอำนาจ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน มีอะไรบ้าง และโทษเป็นอย่างไร ?

จากกรณีกระแสข่าวการ ประกาศเคอร์ฟิว โดย นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 หรือ ศบค. ตอบข้อถามดังกล่าวว่า ขอให้ประชาชนติดตามหน้าจอโทรทัศน์ไว้

โดยก่อนหน้ามีการประกาศว่าจะใช้มาตรการจากเบาไปหาหนักตั้งแต่ต้น แต่วันนี้อยากให้ติดตามเวลาที่จะประกาศอีกครั้งตามหน้าจอทีวี โดยนายกรัฐมนตรีจะเป็นกล่าวด้วยตัวเอง ทั้งนี้ สำหรับประกาศใช้พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 26 มี.ค. มีอายุบังคับใช้ 1 เดือน

อำนาจตาม พ.ร.ก. ทำอะไรได้บ้าง?

  • ศบค.จะออกประกาศเพื่อบังคับใช้ โดยขึ้นอยู่กับสถานการณ์ และการพิจารณาว่าจะบังคับใช้ในประเด็นใดบ้าง ทั้งข้อความร่วมมือและมีบทลงโทษหากฝ่าฝืน

อำนาจ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ห้ามอะไรบ้าง?

  • 1. ห้ามมิให้บุคคลใดออกนอกเคหสถานภายในระยะเวลาที่กำหนด เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือเป็นบุคคลซึ่งได้รับการยกเว้น
  • 2. ห้ามมิให้มีการชุมนุมหรือมั่วสุมกัน ณ ที่ใด ๆ หรือกระทำการใดอันเป็นการยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย
  • 3. ห้ามการเสนอข่าว การจำหน่าย หรือทำให้แพร่หลายซึ่งหนังสือ สิ่งพิมพ์ หรือสื่ออื่นใดที่มีข้อความอันอาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว หรือเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสถานการณ์ฉุกเฉิน
  • 4. ห้ามการใช้เส้นทางคมนาคมหรือการใช้ยานพาหนะ หรือกำหนดเงื่อนไขการใช้เส้นทางคมนาคมหรือการใช้ยานพาหนะ
  • 5. ห้ามการใช้อาคาร หรือเข้าไปหรืออยู่ในสถานที่ใด ๆ
  • 6. ให้อพยพประชาชนออกจากพื้นที่ที่กำหนดเพื่อความปลอดภัยของประชาชนดังกล่าว หรือห้ามผู้ใดเข้าไปในพื้นที่ที่กำหนด

พ.ร.ก.ฉุกเฉิน มีโทษหรือไม่?

  • มาตรา 18 ตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ระบุว่า ผู้ใดฝ่าฝืนข้อกำหนด ประกาศ หรือคำสั่งที่ออกมาตรา 9 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button