ข่าวการเมือง

จุรินทร์ แจงอเมริกาตัด GSP ไม่เกี่ยวกับแบน 3 สาร ชี้ต้องเสียภาษีเพิ่ม 1,500-1,800 ล้านบาท

จุรินทร์ แจงอเมริกาตัด GSP ไม่เกี่ยวกับแบน 3 สาร ชี้ต้องเสียภาษีเพิ่ม 1,500-1,800 ล้านบาท

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์กล่าวถึงกรณีสหรัฐอเมริกาตัดสิทธิทางภาษีหรือ GSP ว่า ขอเรียนให้ทราบว่าในเรื่องกรณีที่สหรัฐอเมริกาได้ตัดจีเอสพีสินค้าไทยที่ส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกาว่า สหรัฐฯให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรสินค้าไทยไปยังสหรัฐฯ รวมทั้งหมดราคา 1,800 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่ไทยใช้สิทธิ์แค่ 1,300 ล้านเหรียญสหรัฐ

หมายความว่าต่อไปนี้สินค้าของไทยที่ส่งออกไปยังสหรัฐฯ จำนวนยอดขายรวมกัน 1,300 ล้านเหรียญสหรัฐ นั้นจะต้องเสียภาษีนำเข้าสหรัฐ จากเดิมที่ไม่ต้องเสียภาษี ภาษีที่ต้องเสียร้อยละ 4-5 โดยประมาณ เมื่อคำนวณแล้วตกประมาณ 1,500 ถึง 1,800 ล้านบาท ต่อปี

“กล่าวโดยสรุปก็คือการตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรของสหรัฐทำให้สินค้าไทยที่ส่งออกไปขายยังสหรัฐอเมริกา มีภาระที่ต้องจ่ายเพิ่มขึ้น 1,500 -1,800 ล้านบาทต่อปี อย่างไรก็ตามประเด็นที่เป็นที่มาของสหรัฐฯ อ้างว่าใช้เป็นเงื่อนไขในการตัดสิทธิ์ ทำให้เราต้องเสียภาษีคือเรื่องแรงงาน สหรัฐต้องการให้ไทยเปิดโอกาสให้แรงงานต่างด้าว ที่มาทำงานอยู่ในประเทศไทยสามารถตั้งสหพันธ์แรงงานได้อันนี้เป็นหนึ่งในประเด็นสำคัญ ส่วนประเด็นอื่นนั้นขอให้ทางกระทรวงแรงงานเป็นผู้ให้ข้อเท็จจริง” นายจุรินทร์ กล่าว

นายจุรินทร์ กล่าวต่อว่า เนื่องจากช่วงนี้เป็นช่วงพิจารณาประจำปีของเขาแต่เราสามารถที่จะอุทธรณ์หรือขอให้ทบทวนใหม่ได้ซึ่งหลายครั้งที่ผ่านมาอย่างเช่นปีที่แล้วก็ทบทวนรายการสินค้าคืนมาให้ 7 รายการ และปีนี้เราก็จะยื่นขอทบทวนอีก ถ้าเขาไม่ทบทวนถือว่าเป็นอำนาจของเขาเช่นกันเพราะเขามีสิทธิ์ฝ่ายเดียวเขาสามารถให้หรือไม่ให้ประเทศใดก็ได้ ประเทศไทยเราก็เป็นหนึ่งในนั้นที่เขาให้ฝ่ายเดียว เมื่อเขาไม่ให้หรือทบทวนแล้วไม่ให้เราก็จะไม่ได้สิทธิ์พิเศษนั้นต่อไปนี้เราก็จะต้องจ่ายภาษีตามเงื่อนไขที่เขากำหนดทำให้เรามีภาระทางภาษีเพิ่มขึ้น 1,500 -1,800 ล้านบาท ส่วนคำถามเรื่องสำหรับการแบน 3 สาร เท่าที่ติดตามไม่ได้เป็นเงื่อนไขของครั้งนี้สิ่งที่เราทราบเป็นทางการ คือ เกี่ยวกับประเด็นแรงงาน สรุปว่าสิ่งที่เขาอ้างในการตัดสิทธิ์ไม่เกี่ยวกับ 3 สาร แต่อย่างใด

ที่มาและภาพ: รัฐบาลไทย

Aindravudh

นักเล่าเรื่อง จบการศึกษาด้านภาษาและประวัติศาสตร์ ผู้สนใจประเด็นความเคลื่อนไหวทางสังคมและการเมือง ผนวกกับการเริ่มต้นเส้นทางด้วยการเขียนงานวรรณกรรม ก่อนผันตัวมาเจาะประเด็นข่าวทางสังคม ออนไลน์ ด้วยกลวิธีการเล่าเรื่องแบบย่อยง่าย อย่างงานเขียนสร้างสรรค์ สั้น กระชับ จับทุกประเด็น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button