การเงินเศรษฐกิจ

สว.ชงดีล พลังงานสหรัฐฯ หวังลดภาษีทรัมป์ 0% จี้ดัน นิวเคลียร์จิ๋ว เร่งด่วน

สว.ประธาน กมธ.พลังงาน เสนอรัฐบาลไทยเจรจาจัดหาพลังงานจากสหรัฐฯ หวังแลกกับการลดภาษีนำเข้าไทยจาก 36% เหลือ 0% พร้อมดันพัฒนา พลังงานนิวเคลียร์ขนาดเล็กจิ๋ว ภายใน 5 ปี

(วันที่ 14 กรกฎาคม 2568) นายพรเพิ่ม ทองศรี สมาชิกวุฒิสภา (สว.) ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการพลังงาน วุฒิสภา ได้ให้สัมภาษณ์ถึงแนวทางการรับมือความท้าทายด้านพลังงานและเศรษฐกิจของประเทศ โดยได้เสนอให้รัฐบาลพิจารณาใช้การเจรจาจัดหาพลังงานจากสหรัฐอเมริกา เพื่อเป็นข้อเสนอสำคัญในการต่อรองให้สหรัฐฯ ปรับลดอัตราภาษีนำเข้าสินค้าไทยจาก 36% ให้เหลือ 0%

ภาพแสดงบ่อน้ำมันในสหรัฐอเมริกา
ภาพจาก: Wikipedia

ประธานคณะกรรมาธิการฯ ระบุว่า คณะกรรมาธิการฯ ได้พยายามเร่งรัดให้ประเทศไทยมีแหล่งพลังงานที่หลากหลายและมั่นคง โดยเฉพาะการจัดหาก๊าซธรรมชาติและน้ำมันจากแหล่งใหม่ๆ เช่น รัฐอะแลสกาของสหรัฐฯ หรือประเทศแคนาดา ซึ่งการจัดหาพลังงานจากแหล่งเหล่านี้จะช่วยให้ประเทศไทยสามารถหลีกเลี่ยงความจำเป็นในการขนส่งที่ต้องผ่านช่องแคบฮอร์มุซ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงและมักได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งระหว่างประเทศอยู่เสมอ

นอกเหนือจากข้อเสนอด้านการเจรจาการค้าแล้ว คณะกรรมาธิการฯ ยังได้เสนอข้อเสนอเร่งด่วนที่ต้องการพลิกโฉมแผนพลังงานของประเทศ นั่นคือการผลักดันให้เกิดการพัฒนา พลังงานนิวเคลียร์ขนาดเล็กจิ๋ว (MMR/NMR) ซึ่งมีขนาดเล็กเทียบเท่าตู้เย็น ให้สามารถเกิดขึ้นจริงได้ภายในระยะเวลา 5 ปี เพื่อเป็นทางเลือกด้านพลังงานที่มั่นคงและสะอาด

ข้อเสนอดังกล่าวมีขึ้นเพื่อเป็นทางลัด แทนที่จะต้องรอโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ขนาดเล็ก (SMR) ตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (PDP) ซึ่งอาจต้องใช้ระยะเวลายาวนานถึง 20 ปี การผลักดันนิวเคลียร์ขนาดเล็กจิ๋วจึงเป็นแนวทางที่จะทำให้ไทยเข้าถึงเทคโนโลยีพลังงานนิวเคลียร์ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

ติดตาม The Thaiger บน Google News:

0 0 โหวต
Article Rating
สมัครรับข้อมูล
แจ้งเตือนเกี่ยวกับ
0 Comments
เก่าแก่ที่สุด
ใหม่ล่าสุด ถูกโหวตมากที่สุด
Inline Feedbacks
ดูความคิดเห็นทั้งหมด

Suriyen J.

นักเขียนบทความข่าว จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สาขาปรัชญาและศาสนา มีประสบการณ์กับสำนักข่าวระดับประเทศ ชื่นชอบด้านสังคม การเมือง ต่างประเทศ ทำให้สามารถสร้างคุณค่าผ่านงานเขียน เพื่อให้ผู้อ่านได้ประโยชน์ครบทุกมิติ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button
0
เราอยากทราบความคิดเห็นของคุณ โปรดแสดงความคิดเห็นx