ฮือฮา พบก๊าซที่เกิดได้เฉพาะบนโลก บนดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ ลุ้นเจอสิ่งมีชีวิตนอกโลก

กล้องโทรทรรศน์ เจมส์ เว็บบ์ ตรวจพบก๊าซที่เกิดบนดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ ซึ่งกระบวนการดังกล่าวเกิดขึ้นได้บนโลกเท่านั้น ลุ้นอาจเจอสิ่งมีชีวิตนอกโลก
เรียกเสียงฮือฮาได้ไม่น้อย เมื่อนักวิจัยได้ใช้กล้องโทรทรรศน์ เจมส์ เว็บบ์ (JWST) และตรวจพบก๊าซที่เกิดจากกระบวนการด้านชีววิทยาบนดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ โดยดาวดวงดังกล่าวชื่อว่า K2-18b ซึ่งกระบวนการดังกล่าวนั้นปกติแล้วจะเกิดได้เฉพาะในโลกเท่านั้น
ก๊าซที่ถูกพบคือ ไดเมทิลซัลไฟด์ (dimethyl sulfide) และ ไดเมทิลไดซัลไฟด์ (dimethyl disulfide) ที่ส่วนใหญ่เกิดจากแพลงก์ตอนพืช หรือสาร่าย โดยก๊าซทั้งสองชนิดนี้อยู่ในตระกูลเคมีเดียวกัน และเชื่อว่านี่เป็นร่องรอยสำคัญด้านชีววิยาของดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะจักรวาล
กล้องโทรทรรศน์ เจมส์ เว็บบ์ ตรวจพบว่ามีก๊าซชนิดใดชนิดหนึ่ง หรือทั้งสองชนิดปะปนอยู่ในชั้นบรรยากาศของดาว K2-18b ในระดับ 99.7 เปอร์เซ็นต์ ของความน่าเชื่อถือ โดยก๊าซที่ถูกตรวจพบเหล่านี้มีปริมาณมากกว่า 10 ส่วนต่อ 1 ล้านส่วน ซึ่งหนาแน่นกว่าปริมาณที่พบในชั้นบรรยากาศของโลกหลายพันเท่า และไม่มีสมมติฐานอื่นใดที่อธิบายถึงแหล่งกำเนิดของก๊าซดังกล่าวได้ นอกจากกิจกรรมทางด้านชีววิทยา
นั่นทำให้นักวิจัยเชื่อว่า ดาวเคราะห์ดวงนี้อาจเต็มไปด้วยสิ่งชีวิตระดับจุลินทรีย์ แต่ยังไม่สามารประกาศได้ว่าค้นพบสิ่งมีชีวิต โดยหลักฐานที่ค้นพบยังเป็นเพียงแค่ร่องรอยทางชีววิทยาและเป็นเครื่องบ่งชี้ว่ามีขั้นตอนด้านชีววิทยาเกิดขึ้น ซึ่งควรมีการพิจารณาอย่างรอบคอบ และเฝ้าสังเกตการณ์ต่อไป
นิกกู มาธุสุธาน นักดาราศาสตร์ฟิสิกส์ และหัวหน้าทีมนักวิจัย ได้บอกว่า การค้นพบก๊าซทั้งสองชนิดถือเป็นร่องรอยแรกที่แสดงให้เห็นว่า ดาวดวงอื่นอาจมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ นับว่าเป็นความก้าวหน้าสำคัญที่ไม่เพียงแต่แสดงให้เห็นว่าดาวเคราะห์ K2-18b อาจเป็นที่อยู่ของสิ่งมีชีวิต แต่ยังแสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ในการใช้เทคโนโลยีที่อยู่ในการตรวจสอบหาร่องรอยสิ่งมีชีวิตในชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์แบบนี้ที่โคจรรอบๆ ดาวฤกษ์ใกล้ๆ กัน
ทั้งนี้ ดาวเคราะห์ K2-18b มีขนาดใหญ่กว่าโลกราวๆ 8.6 เท่า มีเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่กว่าโลก 2.6 เท่า โดยโคจรในระยะเื้อค้อการมีชีวิต (Habitable Zone) เท่ากับว่า น้ำ สามารถดำรงสถานะของเหวลาได้บนผิวดาวเคราะห์ดวงนี้
ขณะที่ศูนย์กลางการโคจรของดาวเคราะห์ดวงดังกล่างคือ ดาวฤกษ์สีแดง ที่มีความสวา่งน้อยกว่าดาวอาทิตย์ โดยตั้งอยู่ในกลุ่มดาวสิงโต ห่างจากโลกประมาณ 124 ปีแสง
สำหรับดาวเคราะห์ที่อยู่นอกระบบสุริยะ ถูกค้นพบตั้งแต่ทศวรรษ 1990 จำนวนราวๆ 5,800 ดวง โดยนักวิยาศาสตร์สันนิษฐานว่า บางส่วนเป็นดาวเคราะห์ที่เรียกว่า ไฮเชียน (Hycean Worlds) ที่ปกคลุมไปด้วยน้ำในรูปแบบของเหลว ที่สิ่งมีชีวิตระดับจุลินทรีย์อาศันอยู่ได้ รวมทั้งยังมีไฮโดรเจนในชั้นบรรยากาศจำนวนมาก
ก่อนหน้านี้ กล้องโทรทรรศน์ เจมส์ เว็บบ์ ตรวจพบก๊าซมีเทน และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศของดาวเคราาะห์ K2-18b และนับเป็นครั้งแรกที่มีการค้นพบโมเลกุลของส่วนประกอบคาร์บอนในชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ ซึ่งโคจรอยู่ในระยะเอื้อต่อการดำรงชีวิต
อ้างอิง : www.bbc.com
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- คุกตลอดชีวิต แม่หลอนกัญชา จับลูกชาย 2-5 ขวบกดน้ำดับ พ่อช็อกมาเจอศพคาเตียง
- แพทย์ละเมิดคนไข้หญิง ขณะส่องกล้องใน รพ. กรมฯสั่งสอบ จ่อเด้ง
- ทำเนียบขาวเผย “ทรัมป์” สุขภาพแข็งแรง สติปัญญาเยี่ยม ชนะกอล์ฟบ่อย
ติดตาม The Thaiger บน Google News: