การเงินเศรษฐกิจ

เงินดิจิทัลเฟส 3 มาแน่ จ่อทดสอบระบบ ก.พ.-มี.ค. 68

รมช. คลัง คาดการณ์ เงินดิจิทัล เฟส 3 พร้อมทดสอบระบบเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม 2568 คนที่ถูกตัดสิทธิเฟส 2 ไม่ต้องห่วง ห่ากผ่านเกณฑ์ ได้เงินแน่นอน

นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เผยว่าโครงการเงินดิจิทัลวอลเล็ต เฟส 3 จะเกิดขึ้นช่วงเดือนมีนาคม – เมษายน 2568 ซึ่งสอดคล้องกับกรณีที่นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ระบุบนเวทีปราศรัยก่อนหน้านี้ ปัจจุบันได้มีการพัฒนาระบบและเดินหน้าไปได้มากแล้ว โดยคาดว่าระบบน่าจะพร้อมทดสอบช่วงเดือน ก.พ.-มี.ค. หากมีความพร้อมอย่างไร ในไตรมาส 2 ก็จะสามารถดำเนินการได้เลย

Advertisements

หากถามต่อว่ากลุ่มผู้ลงทะเบียนโครงการแบบไม่มีสมาร์ทโฟนจะยังมีการดำเนินการต่อหรือไม่นั้น นายจุลพันธ์ กล่าวว่า มีการทำต่อ แต่ยังไม่กำหนด เพราะต้องรอขั้นตอนทางกฎหมายให้ครบถ้วนก่อน ซึ่งจะคนกลุ่มนี้จะรวมอยู่ในเฟส 3 หรือไม่นั้น ตนจะพยายามทำให้ทัน แต่ต้องขอดูรายละเอียดก่อน เพราะเรื่องยังไม่จบ

ภาพจาก จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์

ส่วนข้อสงสัยจากภาคประชาชนว่าสำหรับคนที่ตกสิทธิในเงินดิจิทัล เฟส 2 จำนวน 20,000 คน ยังสามารถดำเนินการอะไรได้หรือไม่นั้น “จุลพันธ์” ระบุว่า คนกลุ่มนี้ไม่ได้ตกสิทธิ เพราะส่วนหลักราว 17,000 คนเป็นผู้เสียชีวิต ส่วนที่เหลือเป็นรายละเอียดอื่นที่จะได้รับสิทธิในรอบนี้ เพราะทุกคนทะเบียนและเข้าเกณฑ์จะได้รับสิทธิครบทุกคนแน่นอน

อีกทั้งกรมบัญชีกลางยังมีความพร้อมที่จะโอนเงินดิจิทัลเฟส 2 ในวันที่ 27 ม.ค. ที่จะถึงนี้ ตามที่ไทม์ไลน์ระบุไว้ว่าจะให้ประชาชนได้ตรวจสอบสิทธิผ่านแอปพลิเคชัน “ทางรัฐ” ในวันที่ 22 ม.ค. หากผูกบัญชีธนาคารกับพร้อมเพย์เรียบร้อย ยอดเงินก็จะเข้าบัญชีได้เลยอัติโนมัติ หากโอนไม่สำเร็จ กระทรวงการคลังจะทดลองโอนซ้ำ 3 รอบ โดยเชื่อว่าจะเสร็จสิ้นภายใน 3 เดือน หากไม่เรียบร้อยก็จะถือว่าสละสิทธิไป

วิธีผูกบัญชีพร้อมเพย์ ผ่านแอปฯ ธนาคารกรุงไทย

1. เข้าสู่แอปพลิเคชัน Krungthai NEXT

2. เลือกเมนู ‘พร้อมเพย์’

Advertisements

3. เลือกหมายเลขที่ต้องการสมัครพร้อมเพย์ ต้องผูกกับหมายเลขบัตรประชาชนเท่านั้น หากผูกกับหมายเลขโทรศัพท์จะไม่สามารถรับเงินดิจิทัล 10,000 บาทได้

4. อ่านข้อกำหนดและเงื่อนไข จากนั้นทำเครื่องหมาย แล้วกด ‘ยอมรับ’

5. เลือกบัญชีที่ต้องการผูกกับหมายเลขพร้อมเพย์

6. ตรวจสอบและยืนยันข้อมูล

7. สมัครสำเร็จ

วิธีสมัครพร้อมเพย์ผ่านแอป Krungthai NEXT
ภาพจาก : krungthai

หลังจากที่ผูกบัญชีพร้อมเพย์กับเลขบัตรประชาชนแล้ว และต้องการตรวจสอบว่าบัญชีผูกกับเลขบัตรประชาชนเป็นที่เรียบร้อยหรือไม่สามารถเช็กได้ผ่านแอปพลิเคชั่นธนาคารใดก็ได้ เพียงไม่กี่ขั้นตอนรู้ผลทันที

วิธีตรวจสอบพร้อมเพย์ผูกกับบัตรประชาชนธนาคารใด?

1. เข้าแอปพลิเคชันธนาคารที เพื่อเปิดแอปฯ ธนาคารที่มีบัญชีอยู่

2. หาเมนู ‘พร้อมเพย์’

3. จากนั้นระบบจะแสดงรายละเอียดว่าบัญชีพร้อมเพย์ผูกกับธนาคารใด และผูกด้วยเบอร์โทรศัพท์หรือเลขบัตรประชาชน

4. ลองโอนเงิน 1 บาท ด้วยการใช้เลขบัตรประชาชนหรือเบอร์โทรที่คิดว่าผูกพร้อมเพย์ไว้ โอนเงิน 1 บาทเข้าบัญชีตัวเอง แล้วเช็กว่าเงินเข้าบัญชีไหนในแอปฯ ธนาคาร

นอกจากการตรวจสอบสถานะทางแอปฯ แล้ว ผู้สูงอายุยังสามารถติดต่อสอบถามได้ทางคอลเซนเตอร์ของธนาคารที่มีบัญชีอยู่ได้เลย

โอนเงินดิจิทัล เฟส 2

เงินดิจิทัลเฟส 2 เริ่มโอนแล้ว

นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกประสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ในเช้า27 ม.ค. 68 เวลา 10.00 น. ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จะเป็นประธานในงานเปิดตัว (Kick Off) โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจให้กับกลุ่มผู้มีอายุ ตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปโดยจะ กดปุ่มส่งมอบเงินให้กับผู้ที่ได้รับสิทธิฯ จำนวนกว่า 3,000,000 คน

ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีจะพูดคุยกับผู้ที่ได้รับเงิน จำนวน 10,000 บาท ผ่านระบบวีดิทัศน์ทางไกล (Video Conference) เพื่อสื่อสารและรับฟังความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับโครงการฯ พร้อมทั้งรับฟังเสียงสะท้อนของตัวแทนประชาชนที่ได้รับการสนับสนุนเงิน 10,000 บาท ทั้งนี้ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนต่อการดำเนินนโยบายของรัฐบาลต่อการขับเคลื่อนการกระตุ้นเศรษฐกิจให้เป็นรูปธรรมตามแนวนโยบายของคณะรัฐมนตรีที่ได้แถลงต่อรัฐสภา

“ในวันพรุ่งนี้ รัฐบาลจะดำเนินการโอนตามที่ได้ลงทะเบียนไว้กับแอป “ทางรัฐ” หากติดขัดยังไม่ได้รับ กระทรวงการคลังจะทำการโอนซ้ำให้ผู้มีสิทธิตามโครงการฯ อีก 3 ครั้ง เมื่อพ้นกำหนดการ Retry ครั้งที่ 3 แล้ว กระทรวงการคลังจะยุติการจ่ายเงินให้แก่กลุ่มเป้าหมาย และถือว่ากลุ่มเป้าหมายไม่ประสงค์รับเงินภายใต้โครงการฯ แล้วจะรวบรวมข้อมูลส่วนที่เหลือเพื่อประมวลเหตุผลในการที่ยังไม่ได้รับ เช่น บางกลุ่มอาจไม่มีสมาร์ทโฟนและไม่ได้ลงทะเบียน ซึ่งรัฐบาลจะรอผลจำนวนตัวเลขที่เหลือเพื่อกำหนดทิศทางและวิธีการต่อไป” นายจิรายุ กล่าว

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

yo

นักเขียนข่าว บทความทั่วไปประเภทไลฟ์สไตล์ สำเร็จการศึกษาจากคณะอักษรศาสตร์ สาขาวิชาปรัชญา มศก. ติดต่อได้ที่อีเมล yo@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button