เทคโนโลยี

รู้จัก ‘เพจเจอร์’ ย้อนวันวานยุค 90 ตำนานส่งข้อความก่อนมีสมาร์ทโฟน

เปิดประวัติ เพจเจอร์ เครื่องมือสื่อสารในตำนานยุค 90s’ ที่ใคร ๆ ก็ต้องมี แต่รู้หรือไม่ว่ามันเกิดมาเพื่อใช้ในโรงพยาบาล เพื่อส่ง SMS เป็นอย่างเดียว จนกระทั่งถูกพัฒนาจนเป็นยุคทองของวัยรุ่นและคนทำงานในตอนนั้น อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีถูกพัฒนาอยู่ตลอดเวลา พอมีโทรศัพท์มือถือ ใหม่มาเก่าก็ไป เมื่อถึงยุคตกต่ำแต่ก็ยังไม่ตายสนิท เพราะบางวงการในไม่กี่ประเทศ ยังคงใช้อยู่

เพจเจอร์ คืออะไร

ในช่วงทศวรรษ 1980-1990 เพจเจอร์เป็นอุปกรณ์สื่อสารไร้สายที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ก่อนที่โทรศัพท์มือถือจะเข้ามาแทนที่ในเวลาต่อมา เพจเจอร์ทำหน้าที่เป็นเครื่องรับข้อความสั้นหรือสัญญาณเตือนจากผู้ส่ง โดยจะแจ้งเตือนผู้ใช้เมื่อมีข้อความเข้ามาผ่านการสั่นหรือส่งเสียง จากนั้นผู้ใช้สามารถโทรกลับไปยังหมายเลขที่ส่งข้อความมาได้

Advertisements

วิวัฒนาการจากโรงพบาบาลสู่ยุคทอง

เพจเจอร์เริ่มต้นจากการเป็นเครื่องมือสื่อสารในโรงพยาบาลช่วงปี 1921 แต่ด้วยขนาดใหญ่และข้อจำกัดในการใช้งาน ทำให้ไม่แพร่หลายนัก จนกระทั่งในช่วงปี 1950 บริษัท Motorola ได้พัฒนาเพจเจอร์ให้กะทัดรัดและใช้งานได้สะดวกขึ้น จึงเริ่มมีการใช้ในองค์กรบริการสาธารณะต่างๆ ต่อมาในทศวรรษ 1980 เพจเจอร์ได้รับความนิยมอย่างสูงในวงการธุรกิจ โดยเฉพาะในแวดวงการแพทย์ที่ต้องการการสื่อสารที่รวดเร็วและทันท่วงที ทำให้เพจเจอร์กลายเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นมืออาชีพในยุคนั้น

เพจเจอร์กำลังเป็นที่นิยมในช่วงยุคต 90 ที่ผ่านรมา

ในยุคทองของเพจเจอร์ช่วงทศวรรษ 1980 ถึงต้น 1990 เพจเจอร์เป็นอุปกรณ์สื่อสารที่ขาดไม่ได้ในหลายภาคส่วน ทั้งวงการแพทย์ การก่อสร้าง และหน่วยงานบริการฉุกเฉิน เนื่องจากความสามารถในการรับส่งข้อความได้อย่างรวดเร็วในสถานการณ์เร่งด่วน

อย่างไรก็ตาม เมื่อโทรศัพท์มือถือเริ่มเข้ามามีบทบาทในช่วงปลายทศวรรษ 1990 ด้วยความสามารถในการติดต่อสื่อสารที่สะดวกและหลากหลายกว่า ทำให้เพจเจอร์ค่อยๆ ถูกลดความสำคัญลง จนในที่สุดก็ถูกแทนที่ด้วยโทรศัพท์มือถือและสมาร์ทโฟนในปัจจุบัน

ถึงแม้ว่าปัจจุบันเพจเจอร์จะไม่เป็นที่นิยมในวงกว้าง แต่ก็ยังคงมีบทบาทสำคัญในบางอุตสาหกรรม เช่น โรงพยาบาลและหน่วยบริการฉุกเฉิน ที่ต้องการความน่าเชื่อถือในการรับส่งสัญญาณในพื้นที่ที่สัญญาณโทรศัพท์มือถืออาจเข้าไม่ถึง

Advertisements

พยาบาลกำลังใช้เพจเจอร์เพื่อสื่อสารในการรักษา

เพจเจอร์เป็นที่นิยมที่ใดบ้าง

เพจเจอร์คือเครื่องมือสื่อสารที่เคยรุ่งเรืองในอดีต แม้จะถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยกว่า แต่ก็ยังคงมีคุณค่าและบทบาทสำคัญในบางวงการและบางประเทศ การที่เพจเจอร์ยังคงถูกใช้งานอยู่ แสดงให้เห็นถึงความน่าเชื่อถือและความสามารถในการทำงานในสภาวะที่เทคโนโลยีอื่นอาจไม่สามารถทำได้ ถึงแม้ว่าเราจะอยู่ในยุคที่เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

1.ญี่ปุ่น

ถึงแม้ว่าในปัจจุบันเทคโนโลยีจะก้าวหน้าไปมาก แต่ในญี่ปุ่นยังคงมีการใช้งานเพจเจอร์อยู่บ้างในกลุ่มผู้สูงอายุและบางอุตสาหกรรม เนื่องจากความเรียบง่ายในการใช้งาน อย่างไรก็ตาม เครือข่ายเพจเจอร์สุดท้ายของญี่ปุ่นได้ปิดตัวลงอย่างเป็นทางการในปี 2019 ซึ่งเป็นการสิ้นสุดยุคสมัยของเพจเจอร์ในญี่ปุ่นอย่างแท้จริง

2.สหรัฐอเมริกา

เพจเจอร์ยังคงมีบทบาทสำคัญในภาคส่วนบริการสาธารณะที่ต้องการความน่าเชื่อถือสูงสุด โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมการแพทย์และบริการฉุกเฉิน เช่น โรงพยาบาล ตำรวจ และหน่วยดับเพลิง ซึ่งต้องรับมือกับสถานการณ์คับขันที่การสื่อสารต้องไม่ขาดตกบกพร่อง เพจเจอร์จึงเป็นทางเลือกที่ตอบโจทย์ ด้วยความสามารถในการทำงานแม้ในภาวะที่เครือข่ายโทรศัพท์มือถือล่มหรือไม่เสถียร

เพจเจอร์เครื่องมือสื่อสารยุค 90 ถูกใช้ทางการแพทย์

3.สหราชอาณาจักร

ในสหราชอาณาจักรยังคงเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยชีวิต โดยเฉพาะในวงการแพทย์ฉุกเฉิน เนื่องจากระบบเพจเจอร์สามารถรับส่งสัญญาณได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม้ในสถานที่ที่มีสัญญาณโทรศัพท์มือถือไม่เสถียรหรือเข้าไม่ถึง เช่น ภายในอาคารโรงพยาบาล ทำให้แพทย์สามารถรับการติดต่อได้ทันท่วงทีในกรณีฉุกเฉิน

4.แคนาดา

ในแคนาดา เพจเจอร์ยังคงเป็นเครื่องมือสื่อสารที่ขาดไม่ได้ในภาคสาธารณสุขและหน่วยงานบริการฉุกเฉิน โดยเฉพาะในพื้นที่ห่างไกลที่สัญญาณโทรศัพท์มือถืออาจไม่ครอบคลุม เพจเจอร์จึงเป็นหลักประกันในการติดต่อสื่อสารที่เชื่อถือได้

เพจเจอร์ที่ถูกถ่ายรูปโดยมีพื้นหลังเป็นต้นไม้

5.เลบานอน

จากสถานการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นมาอย่างยาวนาน กลุ่มเฮซบอลเลาะห์ยังคงใช้เพจเจอร์เป็นเครื่องมือสื่อสารหลัก เนื่องจากมองว่าโทรศัพท์มือถือง่ายต่อการตกเป็นเป้าการโจมตี ทั้งจากเหตุระเบิดมือถือในอดีต รวมถึงการเสี่ยงต่อการที่จะถูกศัตรูใช้ระบุตำแหน่งได้ จึงทำให้แกนนำสั่งการให้สมาชิกเลิกใช้สมาร์ตโฟนอีกครั้งหนึ่งเมื่อเดือน ก.พ. ที่ผ่านมา

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

Thaiger deals

Tad Yungton

จบการศึกษาคณะอักษรศาสตร์ เอเชียศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร นักเขียนสายมูเตลู และนักอ่านไพ่ทาโรต์ โหราศาสตร์ มีความสนใจด้านข่าวการเมือง ศิลปะวัฒนธรรม แฟชั่น และสายดูดวงมูเตลู งานเขียนเน้นเนื้อหาที่เข้าใจง่าย อ่านสนุก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button