ต้องเต ผู้กำกับ สัปเหร่อ ดราม่ายับสวนกลับรัฐบาล อย่าเคลมหนังว่าเป็นซอฟต์พาวเวอร์ แต่ขอให้ช่วยสนับอุตสาหกรรมอย่างจริงจัง ไม่ใช่แค่มาถ่ายรูปหน้างานแต่ไม่ได้ทำความเข้าใจความหมายของตัวภาพยนตร์โดยแท้จริง
สรุปดราม่าผู้กำกับดัง “ต้องเต ธิติ ศรีนวล” จากภาพยนตร์ “สัปเหร่อ” หลังจากได้ไปเป็นแขกรับเชิญพิเศษของช่องโทรทัศน์ ไทย พีบีเอส (Thai PBS) รายการ “อยู่ดีมีแฮง” ก่อนหน้านี้ พร้อมกับอธิบายประเด็นความเป็นซอฟต์พาวเวอร์ของภาพยนตร์หลังจากที่ถูกพิธีกรยิงคำถามว่า “หนังเราบอกเป็นซอฟต์พาวเวอร์ ระหว่างทางจากนี้ไปพูดให้ฟังหน่อย ว่าจะเดินต่อไปยังไง ให้หนังของคนอื่นเป็นอย่างเราถึงจะรอด ?”
ทางด้านของ “ต้องเต” ผู้กำกับสัปเหร่อ จึงได้ตอบกลับไปด้วยความมั่นใจว่า “จริง ๆ หนังของผมน่าจะเดินทางสุดได้ประมาณนี้ครับ แต่ผมคาดหวังว่าเรื่องต่อๆไป ไม่ใช่เรื่องของผมนะครับ เรื่องต่อ ๆ ไปในวงการอุตสาหกรรม เพราะว่าเหมือนเราอาจจะปรากฏการณ์กระแส จากกระแสที่ไม่มีคนพูดถึง”
“กลายเป็นกระแสหลัก และทำให้วงการภาพยนตร์ และวงการอื่น รู้สึกว่า อย่างรัฐบาลมองเห็น ฮึ้ย ถ้ามันมีเรื่องอื่นดีแล้วพาเขาไป คือให้มาซับพรอตจริง ๆ หน่อย ไม่ใช่แค่มาถ่ายรูป คุณอาจไม่ได้เข้าใจหนังสัปเหร่อจริงๆเลยก็ได้ แค่มาถ่ายรูปแล้วบอกว่าหนังสัปเหร่อเป็นซอฟต์พาวเวอร์”
ก่อนจะเสริมไปอีกว่า “อย่างตัวผมเองยังไม่รู้เลยว่าซอฟต์พาวเวอร์มันคืออะไรตอนทำนะครับ หนังผมเป็นซอฟต์พาวเวอร์เหรอ ผมยังไม่รู้เลย ถ้าผมได้รู้หรือทำความเข้าใจ ซอฟต์พาวเวอร์มันคืออะไร หนังมันไปไกลกว่านี้ หนังมันมีซอฟต์พาวเวอร์จริง ๆ แน่นอน
“ดังนั้นถ้ามีการพูดคุยหรือเสวนาในวงการที่คุณต้องการจะเอาซอฟต์พาวเวอร์ไปเผยแพร่ต่อต่างประเทศ หรือจะพาเขาไป ให้พาไปจริงๆ ไม่ใช่แค่หนังเรื่องนี้โกอินเตอร์ อย่างเช่นไป 9 ประเทศ ไม่ใช่เขาพาไปนะครับ คือหนังมันไปเอง และเราก็ไปขายเอง ใช่ครับ มันไม่ใช่รัฐบาลพาไป อันนี้พูดตรง ๆ” (ยกมือไหว้พร้อมกับเผยรอยยิ้ม)”
ส่งผลให้หลังจากที่บทสัมภาษณ์ดังกล่าวของต้องเตได้ถูกเผยแพร่บนโลกโซเชียล ทางด้านของรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี รองโฆษกพรรคเพื่อไทย ชนินทร์ รุ่งธนเกียรติ ได้โพสต์บนเอ็กซ์ (ทวิตเตอร์) อธิบายถึงประเด็นดังกล่าวว่า
“การสนับสนุนอุตสาหกรรมโดยภาครัฐ ไม่ได้มีเพียงกลไกเอาเงินทุนไปให้ หรือไปช่วยประชาสัมพันธ์ แต่สิ่งที่รัฐบาลทำอยู่ คือการดึงภาคเอกชนมาร่วมกันให้ข้อมูล ว่าการทำงานที่เป็นอยู่ ติดขัดปัญหาหรือข้อกฎหมายอย่างไร แล้วรัฐในฐานะผู้สนับสนุน จึงจะช่วยปลดล็อคข้อจำกัดต่างๆ เพื่อให้เอกชนได้ขยายศักยภาพของตนเองได้เต็มที่มากขึ้นครับ #SoftPower #รัฐบาลเศรษฐา”
“รัฐบาลเพิ่งได้เข้ามาเริ่มผลักดันนโยบาย #SoftPower และไม่ได้คิดจากเคลมผลงานใดๆ จากความสำเร็จของภาพยนตร์ #สัปเหร่อ ครับ แต่มีเจตนาที่จะสนับสนุน และชี้ให้เห็นตัวอย่างหนึ่งของผลงานที่มีคุณภาพ ในฐานะคอหนัง ผมเป็นคนหนึ่งที่เข้าชมภาพยนตร์เรื่องนี้ด้วยความตั้งใจ และประทับใจผลงานด้วยใจจริง”
“หวังอย่างยิ่งว่าในเร็วๆนี้ ความสนใจและตั้งใจจริงของรัฐบาลชุดนี้ ที่จะสนับสนุนธุรกิจสร้างสรรค์แขนงต่างๆให้เติบโตและเป็นที่ยอมรับในวงกว้างขึ้น จะเห็นผลเป็นรูปธรรมโดยเร็วครับ”
ก่อนจะโพสต์ย้ำอีกครั้งว่า” รัฐบาลพร้อมสนับสนุนวงการ #ภาพยนตร์ไทย ด้วยการผลักดันการแก้ไขกฎระเบียบ และส่งเสริมให้เกิดการผลิตหรือส่งออก ที่กว้างขวางขึ้นครับ”
เรื่องราวทั้งหมดเริ่มต้นขึ้นหลังจากที่ เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2566 นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้นำคณะรัฐมนตรี (ครม.) พร้อมด้วย “อุ๊งอิ๊ง” นางสาวแพทองธาร ชินวัตร หัวหน้าพรรคเพื่อไทยคนปัจจุบัน (ล่าสุด) สวมชุดไทยไปรับชมภาพยนตร์เรื่อง “สัปเหร่อ” ที่โรงภาพยนตร์ ณ ห้างสรรพสินค้าสยามพารากอน และได้มีการถ่ายภาพหมู่ร่วมกับ “ต้องเต” ผู้กำกับ
จนทำให้เกิดเป็นกระแสวิพากย์วิจารณ์ของสังคมว่า คณะรัฐบาลอาจต้องการเพียงเกาะกระแสหนังเพื่อต้องเคลมว่าเป็นซอฟต์พาวเวอร์ของคนไทย ทั้งที่ผู้กำกับ ต้องเต กล่าวถึงประเด็นเกี่ยวกับการสนับสนุนอุตสาหกรรมภาพยนตร์ว่ายังขาดการสนับสนุนอย่างจริงจังนั่นเอง.
#สัปเหร่อ
- ‘สัปเหร่อ’ เตรียมโกอินเตอร์ เดินทางฉายสู่สายตาชาวโลก 9 ประเทศ
- ‘สัปเหร่อ’ โกยรายได้ทะลุ 600 ล้านบาท ‘ต้องเต’ โพสต์ขอบคุณ
- รู้จัก Soft Power คืออะไร ทำไมรัฐบาลต้องวางนโยบาย
อ้างอิง : 1