อีเว้นท์ไลฟ์สไตล์

ซอฟต์พาวเวอร์ คืออะไร ทำไมรัฐบาลต้องวางนโยบาย เพื่อผลักดันไปขายต่างชาติ

ทำความเข้าใจ “ซอฟต์ พาวเวอร์” (Soft Power) คืออะไร ตามแนวทางนโยบายของรัฐบาลเพื่อไทย สามารถใช้กระตุ้นการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจได้อย่างไรบ้าง

ในโลกยุคปัจจุบัน หลายประเทศเริ่มหันมาให้ความสำคัญกับ Soft Power กันมาขึ้น เพราะนอกจากจะทำให้วัฒนธรรม-ประเพณีกลายเป็นที่รู้จักในกลุ่มต่างชาติแล้วนั้น ซอฟต์พาวเวอร์ยังช่วยกระตุ้นระบบเศรษฐกิจ และดึงดูดเม็ดเงินในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวได้อีกด้วย วันนี้ไทยเกอร์เลยจะพาทุกท่านไปรู้จักกับ “ยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ” นโยบายรัฐบาลที่ช่วยพยุงเศรษฐกิจไทย ให้เดินหน้าก้าวไกลในระดับสากล และนำเสนอความเป็นไทยไปขายได้ในเวทีโลก

เปิดความหมาย Soft Power คืออะไรกันแน่?

Soft Power หรือภาษาไทย ซอฟต์พาวเวอร์ คือแนวคิดของ Joseph S. Nye, Jr. ให้คำนิยามเอาไว้ว่า Soft Power เป็นความสามารถในการโน้มน้าวให้ผู้อื่นสนใจ ด้วยวิธีละมุนละหม่อมให้คล้อยตาม

แท้จริงแล้วซอฟต์พาวเวอร์ก็คือกระบวนการหรือกลไก ที่นำมาใช้ดึงดูดและสร้างอำนาจต่อรองทางวัฒนธรรม ผ่านการแทรกเข้าไปในความคิดของผู้รับสาร จนเกิดเป็นภาพลักษณ์และความสนใจ สะท้อนออกมาในรูปแบบของสื่อ การท่องเที่ยว และสินค้าต่าง ๆ นั่นเอง

ในปัจจุบันประเทศไทยได้ถูกจัดให้อยู่ในลำดับที่ 35 จากทั้งหมด 120 ประเทศที่มี Soft Power ที่แข็งแรงที่สุดในปี 2022 จากการจัดอันดับโดย Global Soft Power Index 2022 ของ Brand Finance

soft power ไทย ขายอะไร

ซอฟต์พาวเวอร์ (Soft Power) ของไทย ขายอะไรได้บ้าง?

กระแสซอฟต์พาวเวอร์ในประเทศไทย กำลังถูกปลุกขึ้นมาอีกครั้ง ภายใต้ “ยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ” หลังจากที่นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้เปิดประชุมไปเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2566 ที่ผ่านมา

soft power ประเทศไทย

เส้นทางซอฟต์พาวเวอร์ไทย สู่เวทีโลก

สำหรับแผนผลักดันซอฟต์พาวเวอร์ของไทย จะเป็นไปตามนโยบายเร่งขับเคลื่อน 1 ครอบครัว 1 ซอฟต์พาวเวอร์ (One Family One Soft power : OFOS) ตามที่พรรคเพื่อไทยได้เคยหาเสียงไว้ เพื่อหวังยกระดับคนไทย 20 ล้านคน ให้เป็นแรงงานขั้นสูง ที่มีทักษะความสามารถและความคิดสร้างสรรค์ นำไปสู่การสร้างงานกว่า 20 ล้านตำแหน่งทั่วประเทศไทย

นอกจากนี้แล้ว ประเทศไทยยังมีการวางรากฐาน 3 ขั้นตอน ซึ่งจะช่วยยกระดับซอฟต์พาวเวอร์ให้ออกไปสู่ประชาคมโลก ดังนี้

1. พัฒนาคนผ่านกระบวนการส่งเสริมบ่มเพาะศักยภาพ

ประเทศไทยจะเดินหน้าเฟ้นหาคนที่มีความฝัน 20 ล้านคน ผ่านการลงทะเบียนกับกองทุนหมู่บ้านและชุมชน เพื่อบ่มเพาะทักษะ ไม่ว่าจะเป็น การทำอาหาร ฝึกมวยไทย วาดภาพศิลปะ ฝึกการแสดง ร้องเพลง ออกแบบ แฟชั่น ฝึกแข่ง e-sport และอื่น ๆ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

2. การพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์พาวเวอร์

รัฐบาลไทยวางแผนจะพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์พาวเวอร์สาขาต่าง ๆ ภายในประเทศ 11 สาขา ได้แก่ อาหาร กีฬา เฟสติวัล ท่องเที่ยว ดนตรี หนังสือ ภาพยนตร์ เกม ศิลปะ การออกแบบและแฟชั่น ภายใต้องค์กร THACCA ที่จะถูกจัดตั้งขึ้นในอนาคต

3. นำอุตสาหกรรมชอฟต์พาวเวอร์รุกสู่เวทีโลก

ในขั้นตอนสุดท้ายของการสร้างกระแสซอฟต์พาวเวอร์ คือการพาซอฟต์พาวเวอร์ไทยไปเป็นที่ประจักษ์ในเวทีโลก ผ่านช่องทางทูตวัฒนธรรม พร้อมด้วยการวิจัยข้อมูลเชิงพฤติกรรม กลยุทธ์การสื่อสาร และการร่วมจัดกิจกรรมในระดับภูมิภาคและระดับโลก

นโยบาย Soft power ของไทย

ประเทศไทยขายซอร์ฟพาวเวอร์อะไรได้บ้าง?

ย้อนกลับไปเมื่อช่วงปลายปี 2565 ‘บอร์ดซอฟต์พาวเวอร์’ ได้มีนโยบายจะส่งออกจุดเด่นประเทศไทย 5 อย่าง ภายใต้แนวคิด “5F” เพื่อบุกตลาดโลก ดังนี้

  • Food : อาหารไทย
  • Fight : ศิลปะป้องกันตัวของไทย
  • Film : ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ไทย
  • Fashion : การออกแบบแฟชั่นไทย
  • Festival : เทศกาลประเพณีไทย

ซอฟต์พาวเวอร์ไทย เศรษฐกืจ

ทั้งนี้แม้ว่าในปัจจุบันประเทศจะอยู่ในอันดับที่ 35 ของโลก จากการวัดอันดับซอฟต์พาวเวอร์ปีล่าสุด แต่หากพูดในระดับเอเชียแล้วนั้น ประเทศไทยจัดได้ว่ามีซอฟต์พาวเวอร์ที่แข็งแกร่งเป็นอันดับที่ 6 เลยทีเดียว ซึ่งเป็นรองแค่ จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, สิงคโปร์ และอินเดีย เท่านั้น.

ข้อมูลจาก moe360.blog และ ptp.or.th

3 แกนหลัก สร้างซอฟต์พาวเวอร์ ในประเทศไทยให้เป็นจริง

การสร้างซอฟต์พาวเวอร์ในประเทศนั้น สามารถทำได้โดยอาศัยทรัพยากรพื้นฐาน 3 ประการ ได้แก่ วัฒนธรรม ค่านิยมทางการเมือง และนโยบายต่างประเทศ โดยสามารถดำเนินการได้ดังนี้

1. การพัฒนาวัฒนธรรม

วัฒนธรรมเป็นรากฐานสำคัญของซอฟต์พาวเวอร์ ประเทศไทยมีวัฒนธรรมที่หลากหลายและน่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นวัฒนธรรมประเพณี วัฒนธรรมอาหาร วัฒนธรรมดนตรี วัฒนธรรมการแสดง วัฒนธรรมภาพยนตร์ ฯลฯ จึงควรมีการส่งเสริมและพัฒนาวัฒนธรรมเหล่านี้ให้เป็นที่รู้จักและเข้าถึงผู้คนทั่วโลกมากขึ้น โดยอาจดำเนินการผ่านช่องทางต่างๆ เช่น

  • การจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรม เช่น งานเทศกาล งานแสดงศิลปวัฒนธรรม งานประกวดศิลปะและวัฒนธรรม ฯลฯ
  • การเผยแพร่วัฒนธรรมผ่านสื่อต่างๆ เช่น ภาพยนตร์ ละคร รายการโทรทัศน์ สื่อออนไลน์ ฯลฯ
  • การส่งเสริมการเรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมไทยในต่างประเทศ เช่น การจัดตั้งศูนย์วัฒนธรรมไทยในต่างประเทศ การจัดหลักสูตรการเรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมไทย ฯลฯ

2. การส่งเสริมค่านิยมทางการเมือง

ค่านิยมทางการเมืองที่ยึดมั่นในหลักประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน และความเสมอภาค เป็นค่านิยมที่ดึงดูดใจผู้คนทั่วโลก จึงควรมีการส่งเสริมค่านิยมเหล่านี้ให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมในสังคมไทย โดยอาจดำเนินการผ่านช่องทางต่างๆ เช่น

  • การให้การศึกษาเกี่ยวกับค่านิยมประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน และความเสมอภาค
  • การส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการทางการเมือง
  • การนำค่านิยมเหล่านี้ไปประยุกต์ใช้ในนโยบายและการปฏิบัติของรัฐบาล

3. การขับเคลื่อนนโยบายต่างประเทศ

นโยบายต่างประเทศที่มุ่งสร้างสันติภาพ ความร่วมมือ และความเข้าใจอันดีระหว่างกัน เป็นนโยบายที่สอดคล้องกับค่านิยมสากล จึงควรมีการขับเคลื่อนนโยบายต่างประเทศเหล่านี้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยอาจดำเนินการผ่านช่องทางต่างๆ เช่น

  • การดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอย่างราบรื่นและสร้างสรรค์
  • การมีส่วนร่วมในกิจกรรมและองค์กรระหว่างประเทศ
  • การส่งเสริมความร่วมมือด้านต่างๆ เช่น เศรษฐกิจ การค้า การศึกษา ฯลฯ

นอกจากนี้ การสร้างซอฟต์พาวเวอร์ยังจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในสังคม ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน โดยควรมีการวางแผนและกำหนดเป้าหมายร่วมกันอย่างชัดเจน เพื่อให้สามารถบรรลุผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สำหรับประเทศไทย ยังมีศักยภาพที่จะสร้างซอฟต์พาวเวอร์ได้อีกหลายด้าน เช่น ด้านการท่องเที่ยว ด้านอาหาร ด้านกีฬา ด้านเทคโนโลยี เป็นต้น จึงควรมีการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพเหล่านี้ให้อย่างเต็มที่ โดยอาจพิจารณาดำเนินการตามแนวทางที่กล่าวมาข้างต้น

ตัวอย่างความสำเร็จของการสร้างซอฟต์พาวเวอร์ในต่างประเทศ เช่น กรณีของเกาหลีใต้ ที่ประสบความสำเร็จในการสร้างซอฟต์พาวเวอร์ด้านวัฒนธรรมผ่านกระแสเค-ป็อปและซีรีส์เกาหลี จนทำให้วัฒนธรรมเกาหลีเป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมไปทั่วโลก หรือกรณีของญี่ปุ่น ที่ประสบความสำเร็จในการสร้างซอฟต์พาวเวอร์ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม จนทำให้ประเทศญี่ปุ่นกลายเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมของโลก เป็นต้น

soft power คืออะไร

Eye Chanoknun

นักเขียนประจำ Thaiger จบจากคณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีประสบการณ์เขียนงานผ่านเว็บไซต์ด้านความงามและแฟชั่นชื่อดังของไทยมากกว่า 3 ปี ปัจจุบันชื่นชอบการเขียนข่าวบันเทิง ภาพยนตร์ ซีรีส์ k-pop และไลฟ์สไตล์ เพื่อนำมาบอกเล่าผ่านตัวอักษร ด้วยมุมมองใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ ชวนให้ติดตาม ช่องทางติดต่อ eye@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button