ประวัติ เจ้าฟ้าพร กษัตริย์ผู้ทำนุบำรุงวรรณกรรม ยุครุ่งเรืองสุดท้ายของอยุธยา
ชวนอ่านประวัติ เจ้าฟ้าพร พระมหากษัตริย์คนสำคัญในหน้าประวัติศาสตร์กรุงศรีอยุธยา ผู้ทำนุบำรุงศาสนา ศิลปวัฒนธรรม และวรรณกรรมให้เจริญรุ่งเรือง
หลังจากที่ละครเรื่องพรหมลิขิตเริ่มฉาย เรียกได้ว่ามีไวรัลออกมาให้แฟน ๆ ได้ชื่นชมกันอยู่ตลอด อีกหนึ่งตัวละครสำคัญที่มีตัวตนอยู่จริงในหน้าประวัติศาสตร์อยุธยา ได้แก่ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ หรือ เจ้าฟ้าพร รับบทโดย อ้วน เด่นคุณ งามเนตร ถือเป็นบทบาทที่แฟนละครกำลังให้ความสนใจเป็นอย่างมาก และชวนขบคิดกันตามโลกโซเชียลว่า การปรากฎตัวเจ้าฟ้าพร จะทำให้เนื้อเรื่องของพรหมลิขิตดำเนินไปไหนทิศทางไหนกันแน่
ประวัติ เจ้าฟ้าพร กษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 31 แห่งอาณาจักรอยุธยา
เจ้าฟ้าพร มีพระนามเต็มว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ หรือ สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชที่ 2 พระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 31 แห่งอาณาจักรอยุธยา และเป็นกษัตริย์พระองค์ที่ 4 ในราชวงศ์บ้านพลูหลวง พระองค์เสด็จพระราชสมภพเมื่อ พ.ศ. 2223 ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 หรือพระเจ้าเสือ
ในการปกครองรัชสมัยของพระองค์ เรียกได้ว่าเป็นยุคเฟื่องฟูทางวรรณกรรม ศิลปกรรม และยังเป็นยุครุ่งเรืองยุคสุดท้ายของกรุงศรีอยุธยาก่อนที่อาณาจักรจะล่มสลายลง หลังจากที่พระองค์เสด็จสวรรคตไปได้ 9 ปี
ปราบดาภิเษก
ภายหลังจากการสวรรคตของสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9 ได้เกิดการสู่รบระหว่างพระองค์กับยพระราชโอรสของพระเจ้าท้ายสระ เนื่องจากพระเจ้าอยู่หัวบรมโกสทรงดำรงพระอิสริยยศที่กรมพระราชวังบวรสถานมงคล มีสิทธิที่จะขึ้นครองราชย์สมบัติต่อพระเชษฐาอย่างถูกต้อง แต่เมื่อพระเจ้าท้ายสระสวรรคตกลับตัดสินพระทัยยกราชสมบัติแก่เจ้าฟ้านเรนทร พระราชโอรสพระองค์ใหญ่
ทว่าเจ้าฟ้านเรนทรไม่รับสืบราชสมบัติ เนื่องด้วยพระองค์ทรงเล็งเห็นว่ากรมพระราชวังบวรฯ สมควรได้รับสืบราชสมบัติมากกว่า พระเจ้าท้ายสระจึงราชสมบัติให้แก่เจ้าฟ้าอภัย เป็นเหตุให้เกิดการต่อสู้แย่งชิงราชบัลลังก์จนกลายเป็นสงครามกลางเมือง กินระยะเวลาราว 1 ปี
จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ยังหลงเหลืออยู่ ระบุไว้ว่าภายหลังจากที่เหตุการณ์แย่งชิงราชบัลลังก์สงบลงแล้ว กรมพระราชวังบวรสถานมงคลจึงได้ขึ้นครองราชย์เฉลิมพระนามว่าพระมหาธรรมราชา และสำเร็จโทษเจ้าฟ้าอภัย และเจ้าฟ้าปรเมศร์
พระราชพิธีปราบดาภิเษก
ในปี 2775 พระสังฆราชราชาคณะ ข้าราชการทั้งปวงมีเสนาบดีเป็นประธานประชุมพร้อมกัน ณ วิมานรัตนมหาปราสาท พระราชวังบวรสถานมงคล สมเด็จกรมพระราชวังบวรสถานมงคลพระมหาอุปราช จึงกระทำพระราชพิธีปราบดาภิเษกขึ้นผ่านพิภพถวัลยราชสมบัติ บรรดาข้าราชการทั้งปวงร่วมถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยากระทำสัตย์สาบานตามโบราณราชประเพณี
ระหว่างที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศครองราชย์ เกิดเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นมากมาย อาทิ เสด็จประพาสล้อมช้าง ณ เมืองลพบุรี, กบฏจีนนายก่าย , พระราชโอรสแย่งชิงราชสมบัติ, กรุงกัมพูชานำช้างเผือกมาถวาย, เสด็จสมโภชพระพุทธชินราช เมืองพิษณุโลก,การเจริญสัมพันธไมตรีกับกรุงอังวะ และ ส่งสมณทูตฟื้นฟูศาสนาพุทธ ณ กรุงลังกา
พระราชกรณียกิจสำคัญ
ด้านการเมืองการปกครอง
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ทรงทำนุบำรุงบ้านเมืองและพระศาสนาจนกล่าวได้ว่า กรุงศรีอยุธยาในสมัยพระองค์นั้นเรียกว่าเป็นยุค บ้านเมืองดี ทว่าการเมืองภายในรัชสมัยพระองค์ถือเป็นช่วงเวลาที่มีความขัดแย้งสูงมาก ไม่สามารถควบคุมการแสวงหาผลประโยชน์ของขุนนางได้มากนัก เนื่องด้วยสาเหตุการขยายตัวด้านการค้าและเงินตรา นอกจากนี้การขึ้นครองราชย์ของพระองค์ก็ล้วนมีขุนนางให้ความช่วยเหลือ พระองค์จึงทรงประรีประนอมผลประโยชน์ และอำนาจระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์กับขุนนางให้เกิดความสงบสุข
ด้านวรรณกรรม
ในรัชสมัยของเจ้าฟ้าพร ถือเป็นยุคที่ศิลปกรรมและวรรณกรรมเจริญรุ่งเรืองสูงสุดในสมัยอยุธยาตอนปลาย เนื่องด้วยพระองค์ทรงทำนุบำรุงบทกวีและวรรณคดีให้เจริญรุ่งเรือง อุปถัมภ์วรรณคดีตลอดระยะเวลาที่ครองราชย์ มีงานพิพนธ์ทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นกลอนกลบทและกลอนบทละคร วรรณกรรมชิ้นเอกที่เป็นที่รู้จักในรัชกาลพระองค์ ได้แก่
- โคลงชะลอพระพุทธไสยาสน์
- โคลงประดิษฐ์พระร่วง (ปรดิดพระร่วง) ฉบับพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
- โคลงพาสีสอนน้อง
- โคลงราชสวัสดิ์
- โคลงทศรถสอนพระราม
- โคลงราชานุวัตร
- จินดามณีฉบับพระเจ้าบรมโกศ
- อิเหนา
- กาพย์ห่อโคลงนิราศประพาสธารทองแดง พระนิพนธ์ของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศไชยเชษฐ์สุริยวงศ์
- กายพ์ห่อโคลงนิราศธารโศก พระนิพนธ์ของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศไชยเชษฐ์สุริยวงศ์
- กายพ์ห่อโคลงนิราศพระบาท พระนิพนธ์ของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศไชยเชษฐ์สุริยวงศ์
- นันโทปนันทสูตรคำหลวง สูตรคัมภีร์ทีฆนิกายภาษาบาลี
- พระมาลัยคำหลวง
- บทเห่เรื่องกากี 3 ตอน
ด้านศิลปวัฒนธรรม
สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชที่ 2 พระองค์ทรงพระราชศรัทธาเลื่อมใส และถือวัตรปฏิบัติตามแนวพระพุทธศาสนาอย่างยิ่ง ตลอดจนรัชกาลพระองค์ทรงใส่พระทัย ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองจนเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ พระองค์ทรงได้รับสมัญญาว่าเป็นพระธรรมราชา นอกจากนี้แล้ว พระองค์ยังทรงปฏิสังขรณ์วัดวาอาราามต่าง ๆ ขึ้นมาอย่างปราณีตจนกลายเป็นโบราณสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ อาทิ
- วัดพระศรีสรรเพชญ์
- วัดพระราม ป
- พระเจดีย์ภูเขาทองและพระอารมณ์วัดภูเขาทอง (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา)
- วัดกุฎีดาว
- วัดจันทร์สุวรรณโพธิธาราม (วัดแลง) จังหวัดระยอง
- วัดศรีโพธิ์ (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา)
กระทั่งต่อมา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เสด็จสวรรคตด้วยอาการประชวรเมื่อวันพุธที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2301 ขณะที่มีพระชนมายุ 78 พรรษา พระองค์อยู่ในราชสมบัติรวม 26 พรรษาถ้วน
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง
- ประวัติ “พระเจ้าเสือ” หลวงสรศักดิ์ กษัตริย์สุดโหดแห่งอยุธยา ครองราชย์นาน 5 ปี
- ประวัติ “ขุนหลวงท้ายสระ” พระเจ้าอยู่หัวอยุธยา สู่ละครจากพรหมลิขิต
- เปิดวาร์ป ‘กีต้าร์ วสวัตติ์’ สแตนด์อิน ‘โป๊ป’ ในพรหมลิขิต ความหล่อพิชิตใจแม่ยก