ท่องเที่ยวไลฟ์สไตล์

จองตั๋ว รถไฟลอยน้ำ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ 2566 เช็กราคา วันออกเดินทาง

กลับมาอีกครั้ง ฤดูกาลท่องเที่ยว รถไฟลอยน้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จังหวัดลพบุรี นั่งชมวิวกินมชมธรรมชาติ จำหน่ายตั๋ววันแรก 25 ตุลาคม 2566 นี้ เช็กช่องทางซื้อตั๋วและราคาค่าโดยสารได้ที่นี่

ทีมพีอาร์การรถไฟแห่งประเทศไทย เชิญชวนนักท่องเที่ยวเข้าร่วมกิจกรรม “นั่งรถไฟลอยน้ำ” กับขบวนรถพิเศษนำเที่ยว เส้นทางกรุงเทพฯ-เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์-กรุงเทพฯ ประจำปี 2566-2567 เพื่อชื่นชมบรรยากาศธรรมชาติของเขื่อนป่าสักฯ พร้อมสัมผัสกับอากาศในช่วงปลายฝนต้นหนาว โดยการรถไฟแห่งประเทศไทยได้ออกกำหนดการเที่ยวเดินทางและวันจองตั๋วมาแล้วดังนี้

กำหนดการให้บริการรถไฟลอยน้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

ขบวนรถพิเศษนำเที่ยว เส้นทางกรุงเทพฯ-เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์-กรุงเทพฯ จะเปิดให้บริการทุกวันเสาร์และวันอาทิตย์ ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2566 ถึง เดือนมกราคม 2567 รวม 24 วัน ตามเวลาดังนี้

  • เดือนพฤศจิกายน 2566 ออกเดินทางวันที่ 4-5-11-12-18-19-25-26 รวม 8 วัน
  • เดือนธันวาคม 2566 ออกเดินทางวันที่ 2-3-9-10-16-17-23-24 รวม 8 วัน
  • เดือนมกราคม 2567 ออกเดินทางวันที่ 6-7-13-14-20-21-27-28 รวม 8 วัน

หมายเหตุ : ขบวนรถงดให้บริการช่วงวันหยุดเทศกาลปีใหม่ วันที่ 30 – 31 ธันวาคม 2566

รถไฟลอยน้ำ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ 2566-2567
ภาพจาก : ทีมพีอาร์การรถไฟแห่งประเทศไทย

อัตราค่าโดยสารรถไฟไปเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

ค่าตั๋วโดยสารสำหรับเด็กและผู้ใหญ่ในการเดินทางเที่ยวชมเขื่อนป่าสักฯ จะคิดในอัตราเดียวกัน ดังนี้

1. รถธรรมดา ชั้น 3 (พัดลม)

  • กรุงเทพ – เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ – กรุงเทพ ไป-กลับ ราคา 330 บาท
  • สระบุรี/แก่งคอย – โคกสลุง ไป-กลับ ราคา 330 บาท
  • เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ – กรุงเทพ เฉพาะเที่ยวกลับ ราคา 150 บาท

2. รถปรับอากาศ ชั้น 2 – รถนั่งปรับอากาศ (JR-WEST)

  • กรุงเทพ – เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ – กรุงเทพ ไป-กลับ ราคา 500 บาท
  • สระบุรี/แก่งคอย – โคกสลุง ไป-กลับ ราคา 500 บาท
  • เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ – กรุงเทพ เฉพาะเที่ยวกลับ ราคา 250 บาท

3. รถนั่งปรับอากาศ (OTOP TRAIN และรถนั่ง/นอนปรับอากาศ JR-WEST)

  • กรุงเทพ – เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ – กรุงเทพ ไป-กลับ ราคา 590 บาท
  • สระบุรี/แก่งคอย – โคกสลุง ไป-กลับ ราคา 590 บาท
  • เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ – กรุงเทพ เฉพาะเที่ยวกลับ 250 บาท

4. รถธรรมดา ชั้น 3 (รถโถง) เดินทางระยะสั้น ไม่สำรองที่นั่ง

  • สระบุรี/แก่งคอย – โคกสลุง ไป-กลับ ราคา 200 บาท

นอกจากนี้ การรถไฟฯ ยังเปิดให้บริการตู้โดยสารพิเศษจัดเฉพาะเช่าเหมาคัน สำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการเดินทางเป็นหมู่คณะ สามารถเช่าพ่วงเพิ่มไปกับขบวนรถนำเที่ยวดังกล่าวได้

ค่าโดยสารรถไฟลอยน้ำเขื่อนป่าสัก
ภาพจาก : ทีมพีอาร์การรถไฟแห่งประเทศไทย

เวลาออกเดินทางรถไฟนำเที่ยวกรุงเทพ-เขื่อนป่าสัก

สำหรับหมายกำหนดการการออกเดินทางของขบวนรถพิเศษนำเที่ยว เส้นทางกรุงเทพฯ-เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์-กรุงเทพฯ ขบวนที่ 921/926 จะออกตามเวลาดังนี้

เวลา 06.00 น. เริ่มออกเดินทางจากรุงเทพฯ หยุดรับ-ส่งที่สามเสน ชุมทางบางซื่อ บางเขน หลักสี่ ดอนเมือง รังสิต อยุธยา สระบุรี ชุมทางแก่งคอย

เวลา 09.30 น. จอด 30 นาที เพื่อชมวิวกลางน้ำในเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

เวลา 09.55 น. จอด 30 นาที สถานีโคกสลุงให้นักท่องเที่ยวเดินชอปปิง

เวลา 10.40 น. ขบวนรถไฟหยุดเพื่อให้นักท่องเที่ยวเดินชมบรรยากาศภายในเขื่อนป่าสักฯ

เวลา 15.30 น. ขบวนรถไฟเดินทางออกจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์เพื่อเดินทางกลับ

เวลา 18.50 น. เดินทางถึงสถานีกรุงเทพฯ (หัวลำโพง) โดยนักท่องเที่ยวสามารถขึ้นลงตามจุดรับส่งของสถานีต่าง ๆ ได้แก่ สถานีชุมทางบางซื่อ ดอนเมือง รังสิต อยุธยา สระบุรี และชุมทางแก่งคอย

กำหนดการรถไฟไปเขื่อนป่าสัก 2566-2567
ภาพจาก : ทีมพีอาร์การรถไฟแห่งประเทศไทย

วิธีจองตั๋วรถไฟลอยน้ำ ไปเที่ยวเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ปี 2566-2567

การรถไฟแห่งประเทศไทย เริ่มจำหน่ายตั๋วโดยสารพร้อมกันทุกสถานีทั่วประเทศ ในวันที่ 25 ตุลาคม 2566 ตั้งแต่เวลา 08.30 น. เป็นต้นไป ผ่านช่องทางการสำรองที่นั่งของการรถไฟฯ ดังนี้

1. สำรองที่นั่งผ่านช่องจำหน่ายตั๋วที่สถานีรถไฟได้ทุกสถานี

2. สำรองที่นั่งผ่าน CALL CENTER 1690 ต้องสำรองล่วงหน้ามากกว่า 5 วันโดยไม่นับวันเดินทางและไม่เกิน 30 วัน โดยที่ผู้โดยสารต้องเตรียมชื่อ – สกุล หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชนของผู้เดินทางทุกท่านให้เรียบร้อย ทางเจ้าหน้าที่จะออกรหัสรับตั๋วให้และผู้โดยสารต้องนำรหัสรับตั๋วไปชำระเงินที่สถานีรถไฟ ภายในเวลา 24 ชั่วโมง

3. สำรองที่นั่งผ่านระบบออนไลน์ www.dticket.railway.co.th (ต้องสมัครสมาชิกก่อน)

4. สำรองที่นั่งผ่าน Mobile Application : D-ticket (ต้องสมัครสมาชิกก่อน)

จองตั๋วรถไฟลอยน้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์
ภาพจาก : dticket.railway

สำหรับกิจกรรมนั่งรถไฟลอยน้ำเที่ยวเขื่อนป่าสักฯ 2566-2567 ด้านการรถไฟแห่งประเทศไทยคาดหวังว่าการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ จะช่วยสนับสนุนการเดินทางท่องเที่ยว และกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศให้กลับมาฟื้นตัวได้ตามนโยบายของรัฐบาล ซึ่งเป็นกลไกสำคัญที่ก่อให้เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพ กระจายรายได้ สร้างความเข้มแข็งสู่เศรษฐกิจฐานราก และชุมชนให้กลับมามีความเข้มแข็งยั่งยืนต่อไป

ข้อมูลจาก : ทีมพีอาร์การรถไฟแห่งประเทศไทย และ dticket.railway

Mothana

นักเขียนข่าวที่ Thaiger การศึกษาทางด้านภาษา จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีความเชี่ยวชาญด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จึงรับหน้าที่เขียนบทความไลฟ์สไตล์บันเทิง เศรษฐกิจ อยากเป็นสื่อกลางคอยขุดคุ้ยประเด็นตั้งแต่เล็กน้อยจนถึงใหญ่โตมาเขียนให้ทุกคนได้อ่าน เพราะมีความเชื่อว่าสื่อที่ดีย่อมเป็นหนทางนำผู้อ่านไปสู่งานเขียนที่ดีได้ ติดต่อได้ทาง tangmo@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button