ไลฟ์สไตล์

พ.ร.บ.การปรับเป็นพินัย กฎหมายฉบับใหม่ เพิ่มโอกาสกลับใจอาชญากร

เริ่มใช้วันแรกสำหรับพระราชบัญญัติว่าด้วยการปรับเป็นพินัย พ.ศ. 2565 ภายใต้แนวคิดการลดอัตราผู้ต้องขังล้นเรือนจำ และหลักการด้านสิทธิมนุษยชนให้โอกาสอาชญากรได้กลับตัวกลับใจ เป็นมาตรการลงโทษผู้กระทำผิดตามความเหมาะสม เพื่อความเสมอภาคและเท่าเทียมกัน

การปรับเป็นพินัยเป็นกฎหมายกลางสำหรับใช้พิจารณาโทษของผู้ที่กระทำผิดกฎหมาย แต่ไม่ใช่ความผิดร้ายแรง กำหนดให้ความผิดทางพินัยมีการชำระค่าปรับเป็นพินัยตามจำนวนเงินที่เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือศาลกำหนดเท่านั้น ไม่มีการจำคุกหรือกักขังแทนค่าปรับ ตลอดจนไม่มีการบันทึกลงในประวัติอาชญากรรม

Advertisements

ทั้งนี้ ยังมีการกำหนดให้ใช้การปรับเป็นพินัยแทนโทษปรับทางปกครอง เพื่อให้มาตรฐานการลงโทษมีความเท่าเทียมกัน โดยมีสาระสำคัญของกฎหมายดังนี้

1. กำหนดหลักการพิจารณาให้เหมาะสมกับสภาพความผิดและกำหนดค่าปรับให้เหมาะสมกับฐานะของผู้กระทำความผิด โดยพิจารณาจากระดับความรุนแรงของผลกระทบต่อชุมชนหรือสังคม ผลประโยชน์ที่ผู้กระทำความผิดหรือบุคคลอื่นได้รับจากการกระทำผิดทางพินัย และสถานะทางเศรษฐกิจของผู้กระทำความผิดด้วย
โดยจะให้ผ่อนชำระเป็นรายงวดก็ได้

2. กำหนดให้ศาลสั่งให้ผู้กระทำความผิดทำงานบริการสังคมหรือทำงานสาธารณประโยชน์แทนค่าปรับได้ในกรณีผู้กระทำความผิดไม่อยู่ในฐานะที่จะชำระค่าปรับได้

3. กรณีที่ผู้กระทำความผิดได้กระทำความผิดเพราะเหตุแห่งความยากจนหรือเพราะความจำเป็น ศาลจะกำหนดค่าปรับเป็นพินัยต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้เพียงใดหรือจะว่ากล่าวตักเตือนโดยไม่ปรับเป็นพินัยเลยก็ได้

4. กำหนดให้เจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งได้แก่เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบการบังคับใช้กฎหมายเป็นผู้มีอำนาจปรับเป็นพินัย รวมท้ังมีหน้าที่และอำนาจในการแสวงหาข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิด แต่มิได้กำหนดให้มีอำนาจจับกุมหรือควบคุมตัวผู้กระทำความผิดแต่อย่างใด และเมื่อมีการชำระค่าปรับเป็นพินัยภายในระยะเวลาที่กำหนดแล้ว ให้ความผิดทางพินัยเป็นอันยุติ

Advertisements

5. ในกรณีที่ไม่มีการชำระค่าปรับเป็นพินัยภายในระยะเวลาที่กำหนดให้เจ้าหน้าที่ของรัฐสรุปข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย พยานหลักฐาน และส่งสำนวนให้พนักงานอัยการเพื่อดำเนินการฟ้องคดีต่อศาลต่อไป

สำหรับกฎหมายค่าปรับเป็นพินัยนั้น นักวิชาการด้านกฎหมายหลายคนออกมาแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องนี้กันอย่างเป็นวงกว้าง มีทั้งคนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย โดยคนที่เห็นดวยมองว่ากฎหมายการปรับเป็นพินัยจะช่วยลดความซ้ำซ้อนของกระบวนการยุติธรรม ส่วนคนที่ไม่เห็นด้วยมองว่ากฎกมายดังกล่าวมีแต่จะทำให้เพิ่มโอกาสก่ออาชญากรรมมากขึ้น

อย่างไรก็ดี หลังมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการปรับเป็นพินัยวันนี้ 25 ตุลาคม 2566 ก็คงต้องติดตามผลของการผลักดันกฎหมายดังกล่าวต่อไป ว่าจะเกิดผลดีหรือผลเสียต่อคนในประเทศไทยอย่างไรบ้าง

 

กฎหมายค่าปรับเป็นพินัย

ข้อมูลจาก : sec

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

Mothana

นักเขียนข่าวที่ Thaiger การศึกษาทางด้านภาษา จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีความเชี่ยวชาญด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จึงรับหน้าที่เขียนบทความไลฟ์สไตล์บันเทิง เศรษฐกิจ อยากเป็นสื่อกลางคอยขุดคุ้ยประเด็นตั้งแต่เล็กน้อยจนถึงใหญ่โตมาเขียนให้ทุกคนได้อ่าน เพราะมีความเชื่อว่าสื่อที่ดีย่อมเป็นหนทางนำผู้อ่านไปสู่งานเขียนที่ดีได้ ติดต่อได้ทาง tangmo@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button