การเงินเศรษฐกิจ

แอปลงทะเบียนเงินดิจิทัล 10000 บาท เช็กก่อนโหลด ระวังถูกดูดข้อมูล

เช็กให้ดี แอปลงทะเบียนเงินดิจิทัล 10000 บาท หนึ่งในโครงการพัฒนาเศรษฐกิจของพรรคเพื่อไทย ใช้แอปจริงหรือไม่ ระวังดูดข้อมูลในโทรศัพท์

เสร็จสิ้นกันไปแล้วสำหรับภารกิจโหวตนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ของประเทศไทย ผลปรากฏว่าได้ “เศรษฐา ทวีสิน” แคนดิเดตจากพรรคเพื่อไทยนั่งตำแหน่งเก้าอี้นายกรอบนี้ ซึ่งกระแสในโลกออนไลน์ก็มีชาวเน็ตหลายคนเริ่มทวงทางถึงนโยบายแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท

Advertisements

อย่าไงรก็ดี แม้จะยังไม่พ้นวันเลือกนายก ก็ปรากฏแอปพลิเคชันสำหรับให้ประชาชนลงทะเบียนรับเงินดิจิทัล 10,000 บาท ไปทั่วทั้งโลกอินเทอร์เน็ต โดยมีลักษณะคล้ายแอปเป๋าตัง ซึ่งมีรูปภาพแนะนำขั้นตอนการลงทะเบียนให้ครบถ้วน ท่ามกลางความฉงนของคนในสังคมว่าแอปนี้ใช่ของจริงจากพรรคเพื่อไทยหรือไม่

แอปลงทะเบียนเงินดิจิทัล 10000 บาท

และล่าสุด (24 ส.ค. 66) ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศ ก็ได้ออกมาชี้แจงเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยมีการตรวจสอบข้อมูลกับทางกรมประชาสัมพันธ์ สำนักนายกรัฐมนตรี พบว่าแอปพลิเคชันดังกล่าวเป็น ข้อมูลเท็จ หรือ แอปปลอม อาจหลอกดูดข้อมูลในโทรศัพท์ได้

“จากกรณีที่มีผู้ส่งต่อข้อความว่า ลงทะเบียนรับเงินดิจิทัล 10,000 บาท ผ่านแอปพลิเคชันได้แล้ววันนี้ ทางกรมประชาสัมพันธ์ สำนักนายกรัฐมนตรี ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า ข้อมูลแอปพลิเคชันรับเงินดิจิทัล 10,000 บาท ดังกล่าวนั้น

เป็นแอปพลิเคชันปลอมที่มิจฉาชีพทำขึ้นมาเพื่อหลอกลวงประชาชนให้หลงเชื่อ และหวังจะนำข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้มาไปใช้ให้ในทางมิชอบ รวมทั้งทำให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สิน หากดาวน์โหลดจะทำให้มิจฉาชีพใช้เป็นเครื่องมือขโมยเงินและข้อมูลของคุณได้

Advertisements

บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ข้อมูลแอปพลิเคชันรับเงินดิจิทัล 10,000 บาท ดังกล่าวนั้นเป็นแอปฯ ปลอมที่มิจฉาชีพทำขึ้นมาเพื่อหลอกลวงประชาชนให้หลงเชื่อ และหวังจะนำข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้มาไปใช้ให้ในทางมิชอบ รวมทั้งทำให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สิน”

ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อ และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมจากกรมประชาสัมพันธ์ สำนักนายกรัฐมนตรี สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.prd.go.th หรือ โทร 02-618-2323

ข่าวปลอม แอปลงทะเบียนเงินดิจิทัล 10000 บาท
ภาพจาก : antifakenewscenter

Mothana

นักเขียนข่าวที่ Thaiger การศึกษาทางด้านภาษา จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีความเชี่ยวชาญด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จึงรับหน้าที่เขียนบทความไลฟ์สไตล์บันเทิง เศรษฐกิจ อยากเป็นสื่อกลางคอยขุดคุ้ยประเด็นตั้งแต่เล็กน้อยจนถึงใหญ่โตมาเขียนให้ทุกคนได้อ่าน เพราะมีความเชื่อว่าสื่อที่ดีย่อมเป็นหนทางนำผู้อ่านไปสู่งานเขียนที่ดีได้ ติดต่อได้ทาง tangmo@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button