อีเว้นท์ไลฟ์สไตล์

เปิดความหมาย ‘พานไหว้ครู’ ระลึกผู้สั่งสอนศิษย์ กับสัญลักษณ์ ดอกไม้ทำพาน

ชวนทำความรู้จัก ความหมาย “พานไหว้ครู” เนื่องในวันไหว้ครู วันพฤหัสบดีที่ 8 มิถุนายน 2566 หนึ่งในกิจกรรมสำคัญของพิธีในวันไหว้ครู พร้อมตีความหมายที่ซ่อนเร้นใน 4 ดอกไม้ประกอบพานไหว้ครู สัญลักษณ์แห่งการอุทิศและความกล้าหาญ

เนื่องในวันพฤหัสบดีที่ 8 มิถุนายน 2566 คือวันไหว้ครู จัดขึ้นเพื่อระลึกถึงคุณครูบาอาจารย์ที่สั่งสอนให้ความรู้แก่นักเรียน โดยใช้ “พานไหว้ครู” เป็นสื่อสำคัญในพิธีกรรม วันนี้ Thaiger จึงจะขอพาผู้อ่านทุกท่าน ไปย้อนที่มาความหมายของ พานไหว้ครู รวมถึงสัญลักษณ์ของดอกไม้ประดับพาน ว่าจะมีนัยยะสำคัญอย่างไรบ้าง เชิญเข้ามาอ่านในนี้ได้เลยครับ

ความหมายดอกไม้ไหว้ครู 4 อย่าง สื่อสัญญะที่ดีบนพานไหว้ครู

พานไหว้ครู มีความหมาย คือสิ่งที่เอาไว้ประกอบพิธีการไหว้ครูโดยที่แฝงไปด้วยความรู้สึกสำนึกคุณของนักเรียนที่มีต่อครูนั้น ๆ และมีการใช้ดอกไม้สำคัญทั้ง 4 ดอก ซึ่งแต่ละดอกก็จะมีความหมายของตัวเองแตกต่างกันออกไป โดยที่ 4 ดอก ประกอบด้วย ดอกมะเขือ ดอกเข็ม หญ้าแพรก และ ข้าวตอก โดยแต่ละดอกจะมีความหมายดังนี้

ดอกไม้ พานไหว้ครู

1. ดอกมะเขือ

ดอกมะเขือนั้นคือ ตัวแทนความอ่อนน้อมถ่อมตน เหตุที่เป็นความอ่อนน้อมถ่อมตนนั้น ก็เพราะว่าเวลาดอกมะเขือออกลูก ดอกมะเขือจะคว่ำดอกลงเสมอ ทำให้สื่อถึงนักเรียนหากจะไปได้ในเส้นทางที่ดี จะต้องรู้จักการอ่อนน้อม ถ่อมตน นั่นเอง

ดอกเข็ม ไหว้ครู

2. ดอกเข็ม

ตัวแทนของดอกเข็มนั้นคือ สติปัญญา เหตุที่เป็นเช่นนั้น ก็เพราะว่าดอกเข็มนั้นมีความแหลมคมเปรียบได้กับสติปัญญาอันเฉียบแหลมของนักเรียนนั่นเอง นอกจากนี้ดอกเข็มยังมีรสหวานที่สื่อถึงระโยชน์ของความรู้อีกด้วยครับ

หญ้าแพรกไหว้ครู

3. หญ้าแพรก

หญ้าแพรกคือ ตัวแทนของความเจริญงอกงาม ที่ได้มาจากธรรมชาติของหญ้าแพรกที่ว่า ทนดินฟ้า อากาศ ไม่ว่าจะถูกเหยียบย่ำเท่าไหร่ แต่หากได้รับน้ำก็สามารถเจริญเติบโตงอกงามได้ เปรียบเสมือนนักเรียนที่หากได้รับการสั่งสอนที่ถูกต้องก็จะเติบโตเจริญงอกงามได้ดีนั่นเอง

ข้าวตอก ไหว้ครู

4. ข้าวตอก

ข้าวตอก คือตัวแทนของความมีระเบียบวินัย รู้จักการควบคุมตัวเอง เพราะข้าวตอกนั้นจะเป็นเพียงข้าวสารธรรมดา หากไม่ถูกคั่วที่เปรียบได้กับการถูกเคี่ยวเข็ญ ว่ากล่าวตักเตือนนักเรียนโดยครูบาอาจารย์ จนออกมาเป็นข้าวคั่วที่แตกฉานนั่นเองครับผม

สำหรับประวัติของวันไหว้ครูนั้น มีที่มาที่ไปมาจากการประชุมครูในปี พ.ศ. 2499 ในยุคสมัยรัฐบาลของ จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งในขณะนั้นยังเป็นประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติมศักดิ์ และได้มีการกล่าวปราศรัยโดยมีเนื้อหาใจความสรุปว่า ครูเป็นผู้มีบุญคุณ ผู้ให้แสงสว่างกับลูกศิษย์ลูกหาทั้งหลาย

ดังนั้นควรมีวันครู เพื่อให้ลูกศิษย์ได้แสดงความเคารพสักการะ โดยที่วันไหว้ครูจึงจะถูกจัดในวันพฤหัสบดีที่ 2 ของเดือนมิถุนายนของทุกปี โดยที่จะต่างกับวันครูที่จะจัดในวันที่ 16 มกราคมของทุกปี

อ้างอิง : 1

Thosapol

นักเขียนบทความที่ Thaiger จบการศึกษาจากคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เชี่ยวชาญเรื่องบทความท่องเที่ยว บันเทิง ไลฟ์สไตล์ ผ่านการค้นหาข้อมูลโดยละเอียดพร้อมด้วยประสบการณ์ตรงของตัวเอง งานอดิเรกมีความสนใจในกระแสข่าวรอบตัวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพ สังคม การเมือง และที่สำคัญคือเป็นทาสแมวร้อยเปอร์เซ็นต์ครับ ช่องทางติดต่อ thospol@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button