คนผ่อนรถต้องรู้ กฎหมายใหม่ เช่าซื้อรถยนต์ ต้องคิดดอกเบี้ยลดต้น-ลดดอก มีผล ม.ค. 66
คนผ่อนรถต้องรู้ หยุดไฟแนนซ์รถเอาเปรียบ ดอกเบี้ยรถใหม่ เริ่มบังคับใช้ 11 มกราคม 2565 เช่าซื้อรถยนต์ ต้องคิดดอกเบี้ยลดต้น-ลดดอก หากปิดบัญชีต้องได้ส่วนลดดอกเบี้ย
วันนี้ 17 ต.ค. 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่องให้ธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์ รถจักรยานยนต์เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา ฉบับใหม่ ให้คิดดอกเบี้ยแบบ “ลดต้น ลดดอก”
สาระสำคัญของประกาศฉบับนี้กำหนดให้ธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์คิดอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงต่อปี หรือ Effective Interest Rate แบบลดต้นลดดอก
วิธีคิดดอกเบี้ยแบบใหม่นี้ จะคิดจากเงินต้นคงเหลือในแต่ละงวด จากเดิมที่คิดดอกเบี้ยแบบ flat rate หรือเงินต้นคงที่ ทำให้ภาระการผ่อนของผู้เช่าซืัอรถยนต์ รถมอเตอร์ไซค์ลดลงแล้ว
กฎหมายการคิดดอกเบี้ยการผ่อนงวดรถนี้จะมีผลในอีก 90 วันนับตั้งแต่ประกาศลงราชกิจจานุเบกษา หรือประมาณวันที่ 11 มกราคม 2565
คำนวณเป็นอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงต่อปี (Effective Interest Rate)
ในตอนหนึ่งของประกาศระบุไว้ว่ากรณีที่ยังไม่มีกฎหมายใดกำหนดอัตราดอกเบี้ยค่าเช่าซื้อรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ไว้เป็นการเฉพาะ ให้กำหนดอัตราดอกเบี้ยค่าเช่าซื้อรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ตามกลไกตลาดโดยคำนวณเป็นอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงต่อปี (Effective Interest Rate) ดังนี้
- กรณีรถยนต์ใหม่ต้องไม่เกินอัตราร้อยละสิบต่อปี
- กรณีรถยนต์ใช้แล้วต้องไม่เกินอัตราร้อยละสิบห้าต่อปี
- กรณีรถจักรยานยนต์ต้องไม่เกินอัตราร้อยละยี่สิบสามต่อปี
ทั้งนี้ คณะกรรมการว่าด้วยสัญญาอาจปรับเปลี่ยน ดอกเบี้ยรถยนต์ลดต้นลดดอก ให้ลดลงหรือเพิ่มขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจของประเทศในทุกสามปี
วิธีคำนวณจำนวนเงินค่าเช่าซื้อ จำนวนค่าเช่าซื้อ จำนวนดอกเบี้ยที่ชำระ และจำนวนค่าภาษีมูลค่าเพิ่มที่ชำระในแต่ละงวด
กรณีที่ผู้เช่าซื้อ หรือผู้กู้ จะขอชำระเงินค่าเช่าซื้อทั้งหมดในครั้งเดียว เพื่อปิดบัญชีค่าเช่าซื้อ โดยไม่ผ่อนชำระค่าเช่าซื้อเป็นรายงวดตามสัญญาเช่าซื้อ ผู้ประกอบการให้เช่าซื้อจะต้องให้ส่วนลดแก่ผู้เช่าซื้อ ตามขั้นบันไดดังนี้
1.กรณีชำระค่างวดมาแล้วไม่เกิน 1 ใน 3 ของค่างวดเช่าซื้อที่ระบุไว้ในสัญญาให้ได้รับส่วนลดในอัตราไม่น้อยกว่า 60% ของดอกเบี้ยเช่าซื้อที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระ
2.กรณีชำระค่างวดมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 แต่ไม่เกิน 2 ใน 3 ของค่างวดเช่าซื้อที่ระบุไว้ในสัญญาให้ได้รับส่วนลดในอัตราไม่น้อยกว่า 70% ของดอกเบี้ยเช่าซื้อที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระ
3.กรณีชำระค่างวดมาแล้วเกินกว่า 2 ใน 3 ของค่างวดเช่าซื้อที่ระบุไว้ในสัญญาให้ได้รับส่วนลดทั้งหมดของดอกเบี้ยเช่าซื้อที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระ
นอกจากนี้ กรณีที่ยังไม่มีกฎหมายใดกำหนดอัตราดอกเบี้ยค่าเช่าซื้อรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ไว้เป็นการเฉพาะ ให้กำหนดอัตราดอกเบี้ยค่าเช่าซื้อรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ตามกลไกตลาดโดยคำนวณเป็นอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงต่อปี (Effective Interest Rate) ดังนี้
1.กรณีรถยนต์ใหม่ต้องไม่เกินอัตรา 10% ต่อปี
2.กรณีรถยนต์ใช้แล้วต้องไม่เกินอัตรา 15% ต่อปี
3.กรณีรถจักรยานยนต์ต้องไม่เกินอัตรา 23% ต่อปี
ทั้งนี้ คณะกรรมการว่าด้วยสัญญาอาจปรับเปลี่ยนให้ลดลงหรือเพิ่มขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจของประเทศในทุก 3 ปี