ข่าวภูมิภาค

ส่องความน่ารัก “จิ้งจกดิน” จระเข้จิ๋วแห่งผืนป่า สัตว์ไวรัลตอนน้ำท่วม

รู้จักสัตว์โลกน่ารัก จิ้งจกดิน หรือ จิ้งจกเท้าใบไม้ ไวรัลจระเข้น้อยแห่งบุรีรัมย์ แต่น้องไม่ใช่จระเข้นะ แฟนพันธุ์แท้สัตว์เลื้อยคลาน ชี้คนไทยรู้ข้อมูลน้อยมาก

กลายเป็นไวรัลดังในช่วงน้ำท่วมหลังชาวบ้านจังหวัดบุรีรัมย์พบ “ลูกจระเข้” ลอยมาตามน้ำ เล่นเอาคนตกใจกันทั้งจังหวัดก่อนที่ แฟนพันธุ์แท้สัตว์เลื้อยคลาน จะออกมาชี้ว่าน้องไม่ใช่จระเข้ แต่น้องคือ “จิ้งจกดิน” ก็ทำเอาหลาย ๆ คนหายใจได้ทั่วท้องกกันบ้าง ว่าแต่เจ้าจิ้งจกดินคืออะไร ทำไมเราถึงเพิ่งรู้จักกันล่ะ ? วันนี้เรามีคำตอบมาให้ทุกคนแล้ว

ล่าสุดเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2565 นายศุภณัฐ เบญจดำรงกิจ แฟนพันธุ์แท้สัตว์เลื้อยคลาน ได้โพสต์เฟสบุ๊ค Supanut Benjadumrongkit อธิบายถึงเจ้าจระเข้น้อยตัวดังกล่าว แก้ข่าวว่าน้องนั้นไม่ใช่จระเข้นะแต่น้องคือ จิ้งจกดิน ต่างหาก โดยในโพสต์ได้ระบุว่า

“จิ้งจกดิน สัตว์เลื้อยคลานตัวจิ๋วแห่งผืนป่า”

เมื่อสักครู่ มีคนส่งข่าวมาให้ดูว่ามีสิ่งมีชีวิตคล้ายจระเข้ออกอาละวาด จริงๆมันไม่ใช่จระเข้เลยครับ แต่เป็นสัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็กที่มีชื่อว่า “จิ้งจกดิน” หรือ “จิ้งจกเท้าใบไม้” (Leaf-toed ground gecko) เป็นสัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็กที่อยู่ใกล้ตัวพอสมควรครับ แต่น้องก็หน้าตาไม่เหมือนจระเข้เท่ากิ้งก่าจระเข้จีนหรือจิ้งเหลนตาแดงเลยครับ.

– จิ้งจกดินในประเทศไทยมีทั้งสิ้น 8 ชนิด แต่ชนิดที่เด่นและเป็นชนิดที่พบได้บ่อยที่สุดนั้นมีชื่อว่า “จิ้งจกดินสยาม” (Siamese leaf-toed gecko – ???????? ?????????) ซึ่งในประเทศไทยนั้นมีชนิดเด่นที่พบแห่งเดียวในประเทศไทยด้วย ได้แก่ จิ้งจกดินระนอง (???????? ????????????????) ที่ค้นพบในปี 2020 และ จิ้งจกดินสามร้อยยอด (Sam Roi Yot leaf-toed gecko – ???????? ?????????) ที่ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่งแล้ว

– จิ้งจกดินมีชื่อสามัญแปลตรงตัวว่า “จิ้งจกเท้าใบไม้” เนื่องด้วยเท้านั้นแบนราบลักษณะคล้ายกับใบไม้ ซึ่งพัฒนามาเพื่อการเดินบนพื้นดินและก้อนหิน เท้าเล็บไม่แหลมแบบพวกตุ๊กแกเสือดาว (Leopard gecko) ที่เป็นตุ๊กแกบกที่คนรู้จักกันแพร่หลาย

– ลวดลายบนตัวของจิ้งจกดินหลายชนิดมักถูกออกแบบมาเพื่อให้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อมของพวกมันที่อาศัยอยู่ จิ้งจกดินสยามบางตัวอาจมีเฉดสีออกเข้มเพื่อกลมกลืนกับใบไม้แห้ง บางตัวก็มีลวดลายเป็นริ้วลาย บางตัวก็มีลายจุดขึ้นอีกด้วย

– จิ้งจกดินมีลักษณะเกล็ดที่ไม่เหมือนจิ้งจกและตุ๊กแกทั่วไปคือ มันมีปุ่มเกล็ดยื่นเป็นสันตามแนวลำตัวและหาง ทั้งนี้มันคือวิวัฒนาการมาเพื่อป้องกันการเสียน้ำออกจากร่างกายและทนสภาพแห้งในตอนกลางวันกับตอนกลางคืน มันจึงสามารถดำรงชีวิตได้ในสภาพดินแดนที่เป็นป่าดิบแล้งหรือแม้แต่ทุ่งหญ้า

– บิวคุงเคยมีประสบการณ์ภาคสนามสมัยอยู่มหาวิทยาลัยตอนเก็บตัวอย่างดีเอ็นเอสิ่งมีชีวิตในชีวนิเวศต่างๆ ได้เรียนรู้เพิ่มว่า จิ้งจกดินนั้นเป็นสัตว์ที่ออกหากินเวลากลางคืน พวกมันมักจะออกมาช่วงที่ลับขอบฟ้าหรือหลังฝนตกผ่านไป เพราะเป็นเวลาหากินของพวกมัน มักจะหากินอยู่ตามพื้นดิน , กองหิน , โคนต้นไม้, ตอไม้ รวมถึงผาหินในระดับต่ำ พวกมันวางไข่ครั้งละ 2 ฟอง

– ในปัจจุบัน จิ้งจกดินเป็นสัตว์เลื้อยคลานที่คนไทยยังรู้จักข้อมูลของมันน้อยมาก อันเนื่องด้วยขนาดตัวที่เล็กเลยยังไม่เป็นที่สนใจในการศึกษาพฤติกรรมจริงจังมากนักนั่นเองครับ แต่เป็นสัตว์เลื้อยคลานอีกจำพวกที่น่าสนใจไม่เบาเลยทีเดียว

สำหรับจังหวัดบุรีรัมย์นั้นเคยมีข่าวพบจระเข้ครั้งแรกเมื่อวันที่ 3 ก.ย.65 จำนวน 2 ตัวจับได้ 1 ตัว วันที่ 13 ก.ย.65 ชาวบ้านเจออีก 2 ตัวแต่จับไม่ได้ วันที่ 15 ก.ย.65 ชาวบ้านเจออีก 2 ตัว กู้ภัยจับได้ เจ้าของฟาร์มมาเอาไปคืน และวันที่ 27 ก.ย.มีชาวบ้านพบจระเข้หลุดอีก 2 ตัว

ขอบคุณข้อมูลจาก Supanut Benjadumrongkit

baesittichot

นักเขียนสายฮาอารมณ์ดี ไลฟ์สไตล์ เรื่องน่ารู้ทั่วไป ตามติดเทรนด์ฮิตที่ห้ามพลาด อัปเดตข่าวเศรษฐกิจ การเงิน ประสบการณ์งานเขียนมากกว่า 1 ปี ชอบเม้าท์มอย ส่งต่อเรื่องราวน่าสนใจผ่านตัวอักษร ผลงานทุกชิ้นจึงเป็นเหมือน 'เพื่อน' ที่อยากเล่าสิ่ง ๆ ต่างให้คุณได้รู้เป็นคนแรกเสมอ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button