สิทธิว่าง คนไม่มีบัตรทอง 30 บาท ต้องเช็ก ก่อนป่วยจนเสียสิทธิรักษา
สปสช. ชวนทำความเข้าใจ “สิทธิว่าง” สิทธิการรักษาพยาบาล สำหรับคนที่ยังไม่มีสิทธิสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลที่รัฐจัดให้ และยังไม่ได้ลงทะเบียนสิทธิหลักประกันสุขภาพ 30 บาท หรือ สิทธิบัตรทอง
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ สปสช. ออกมาให้ข้อมูลวันนี้ (21 ก.ย.65) เกี่ยวกับบุคคลสัญชาติไทยที่ยังขาดสิทธิสิทธิรักษาพยาบาลฟรี ที่มาจากสวัสดิการด้านการารักษาพยาบาลที่รัฐจัดให้ ผู้ที่ยังไม่ได้ลงทะเบียนสิทธิหลักประกันสุขภาพ 30 บาท หรือ สิทธิบัตรทอง
รีบทำความเข้าใจความหมายของคำว่า สิทธิว่าง คืออะไร ? เพื่อกลุ่มคนที่คุณสมบัติเข้าเกณฑ์แต่ยังไม่ได้รับสิทธิดังกล่าว ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบการรักษาที่หน่วยงานภาครัฐจัดให้เป็นสัวสดิการโดยทั่วไปของประชาชนคนไทย
สำหรับคำว่า “สิทธิว่าง” หมายถึง ประชาชนไทยที่ยังไม่มีสิทธิสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลที่รัฐจัดให้ และยังไม่ได้ลงทะเบียนสิทธิหลักประกันสุขภาพ 30 บาท หรือ สิทธิบัตรทอง เลือกหน่วยบริการประจำตามสิทธิของตนเอง
สำหรับประชาชนที่มี “สิทธิว่าง” หากมีอาการเจ็บป่วย สามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลที่หน่วยบริการ(สถานพยาบาล) ในระบบหลักประกันสุขภาพได้ทุกแห่ง โดยยืนบัตรประชาชน(กรณีเป็นเด็กใช้สูติบัตร) โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล
แนะนำให้ดำเนินการลงทะเบียนเลือกหน่วยบริการ(สถานพยาบาล) ตามสิทธิ ได้ตามที่พักอาศัยจริงไม่จำเป็นต้องตามทะเบียนบ้าน สามารถลงทะเบียนและรับการรักษาได้ทันทีไม่ต้องรอ 15 วัน
ขั้นตอนการลงทะเบียนสิทธิหลักประกันสุขภาพ 30 บาท หรือ สิทธิบัตรทอง ดังนี้
– ช่องทางที่ 1 แอปพลิเคชัน สปสช. โดยดาวน์โหลดได้ทั้งระบบ IOS และ Android ลงทะเบียนให้เรียบร้อย และไปที่ “ลงทะเบียนเปลี่ยนหน่วยบริการ”
– ช่องทางที่ 2 Line official สปสช. หากไม่มีสามารถกดเพิ่มเพื่อนโดยพิมพ์ว่า @nhso หรือคลิก https://lin.ee/zzn3pU6หลังจากนั้นไปที่แชท และเลือก “เปลี่ยนหน่วยบริการ”
– ช่องทางที่ 3 นำเอกสารการลงทะเบียน ติดต่อด้วยตนเองได้ที่สถานที่ลงทะเบียน (กรุงเทพ ติดต่อที่ สปสช. ชั้น 2 อาคารบี ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ ถ.แจ้งวัฒนะ กทม.
ส่วนต่างจังหวัด ติดต่อโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) หรือโรงพยาบาลของรัฐที่ใกล้ที่สุด)
ทั้งนี้ สอบถามเพิ่มเติมการใช้สิทธิบัตรทอง สายด่วน สปสช. 1330 หรือช่องทางระบบออนไลน์ทั้งไลน์ สปสช. @nhso หรือคลิก https://lin.ee/zzn3pU6 และ Facebook : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ https://www.facebook.com/NHSO.Thailand