ย้อนดู ผลงาน ราจิต แสงชูโต ผู้กำกับโฆษณา และเจ้าของบริษัทโฆษณามาโช แมงโก้ ผู้มีปรัชญาแห่งความสุขที่ไม่เหมือนใคร
พาคุณรู้จักเจ้าของผลงานโฆษณาติดกระแส ราจิต แสงชูโต ย้อนชมผลงานต่าง ๆ และรู้จักตัวตนของเขาผ่านประวัติ ผู้กำกับสายภาพยนตร์โฆษณาคนนี้คือใคร หลังจากที่สร้างผลงานจนเป็นที่กล่าวถึงไปทั่วโลกอินเทอร์เน็ต มาทำความรู้จักเขาไปพร้อม ๆ กันเลย
ราจิต แสงชูโต ผู้กำกับโฆษณาหนังสั้นมือทอง
ราจิต แสง-ชูโต เป็นที่รู้จักในบทบาทของผู้กำกับสายอาร์ตสุดติสท์ ผลงานส่วนมากของเขามักจะเป็นงานโฆษณาหนังสั้น นอกจากการเป็นผู้กำกับแล้ว ราจิตยังได้เปิดบริษัททำโฆษณาเป็นของตัวเองอีกด้วย ในชื่อ Macho Man (มาโช แมงโก้)
ผลงาน ราจิต แสงชูโต ร้อยเรียงเรื่องเล่าผ่านภาพ
เชื่อว่าคนไทยหลายคนต้องเคยได้รับชมผลงานการกำกับโฆษณาของ ราจิต แสง-ชูโต มามากกว่า 1 ชิ้นแน่นอน เพราะราจิตได้สร้างสรรค์ผลงานโฆษณาให้กับแบรนด์ชื่อดังต่าง ๆ ในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ FORD, ผลิตภัณฑ์อาหาร BETAGRO, เครื่องดื่มผสมวิตามิน Mansome, เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ Johnnie Walker ฯลฯ
ล่าสุดกับผลงานที่ราจิตได้จัดทำขึ้น ร่วมกับบริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด และบริษัทในเครือ เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 วันที่ 28 กรกฎาคม 2565 ผลงานดังกล่าวเป็นที่กล่าวถึงอย่างมาก หนังโฆษณาความยาวหนึ่งนาที เล่าเรื่องของประชาชนไทยกับถุงพระราชทานที่ได้รับ โดยในโลกอินเทอร์เน็ตจะกล่าวเรียกโฆษณาชุดนี้ว่า “มื้อที่สุขที่สุด”
นอกจากนี้ยังสามารถติดตามผลงานอื่น ๆ ฝีมือกำกับโดยราจิตได้ที่เพจเฟซบุ๊ก Macho Mango ซึ่งเป็นเพจเฟซบุ๊กรวมผลงานที่จัดทำโดยบริษัทของราจิตนั่นเอง
ชีวิตส่วนตัวของ ราจิต แสง-ชูโต
ด้านชีวิตรักส่วนตัว ราจิตเคยผ่านชีวิตคู่มาแล้ว 2 ครั้งด้วยกัน โดยครั้งแรกเขาแต่งงานกับนักแสดงสาวมากความสามารถ แอน สิเรียม ภักดีดำรงฤทธิ์ ในปี พ.ศ. 2548 ก่อนจะหย่าร้างกันในปี 2551 จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2552 ราจิตก็ได้ปลูกต้นรักครั้งใหม่ เข้าพิธีวิวาห์อีกครั้งกับ เต้ อรินทม์ ทับทิมเทพ
เรียกได้ว่า ราจิต แสงชูโต คือคนคุ้นเคยของวงการโฆษณาเมืองไทยอีกคนหนึ่งเลยทีเดียว ด้วยการเล่าเรื่องผ่านภาพในช่วงเวลาสั้น ๆ แต่ทำให้ผู้ชมจับใจความได้ว่าสิ่งที่เขาต้องการจะสื่อผ่านผลงานคืออะไร
นอกจากนี้ราจิตยังเป็นผู้กำกับสุดติสท์ที่มีปรัชญาความสุขไม่เหมือนใคร เพราะเขาเคยได้ให้สัมภาษณ์ไว้ว่าตรงกลางเป็นสิ่งที่ดีที่สุด มีความสุขมากไปก็มีความทุกข์มาก ดังนั้นแล้วราจิตจึงสามารถหยิบยกมุมมองความสุขเล็ก ๆ มาใส่ไว้ในผลงานจนเป็นที่กล่าวถึงได้นั่นเอง