เศรษฐกิจ

IBank เปิดตัว สินเชื่อบ้านชายแดนใต้ วงเงินสูงสุด 5 ล้านบาท

IBank ทำการเปิดตัว สินเชื่อบ้านชายแดนใต้ สำหรับผู้ที่ต้องการสินเชื่อที่อยู่อาศัยในพื้นที่ 5 จว. ชายแดนภาคใต้ โดยวงเงินสูงสุดถึง 5 ล้านบาท

(24 มิ.ย. 2565) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (IBank) สนับสนุนให้ชาวใต้มีบ้านได้ง่ายขึ้นด้วย สินเชื่อบ้านชายแดนใต้ สำหรับผู้ที่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัยในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือกำลังมองหาสินเชื่อเพื่อซ่อม สร้าง ไถ่ถอน หรือซื้อที่ดินเพื่อก่อสร้างที่อยู่อาศัย กำหนดรายได้รวมขั้นต่ำ 10,000 บาทต่อเดือน ให้วงเงินสินเชื่อสูงสุด 5,000,000 บาท ส่วนผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ไม่กำหนดรายได้ขั้นต่ำ ให้วงเงินสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมรับสิทธิ์ อัตรากำไรพิเศษเริ่มต้นที่ 3.00% ต่อปี และฟรีค่าธรรมเนียมจัดทำนิติกรรมสัญญา

Advertisements

โครงการสินเชื่อบ้านชายแดนใต้เป็นโครงการสินเชื่อสำหรับผู้ที่ต้องการซื้อบ้าน สร้างบ้าน ซ่อมแซม ต่อเติม ไถ่ถอนที่อยู่อาศัย หรือซื้อที่ดินเพื่อก่อสร้างที่อยู่อาศัยในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ ปัตตานี นราธิวาส ยะลา สงขลา และสตูล

โดยผู้ขอสินเชื่อต้องมีสัญชาติไทย มีภูมิลำเนาอาศัยอยู่ที่ใดก็ได้ในประเทศไทย และนับถือศาสนาใดก็ได้ มีรายได้ขั้นต่ำรวม 10,000 บาทต่อเดือน ให้วงเงินสินเชื่อสูงสุด 5,000,000 บาท ผ่อนได้นานสูงสุด 35 ปี คิดอัตรากำไรเริ่มต้นที่ 3.25% ต่อปี ใน 2 ปีแรก

พิเศษ! สำหรับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ไม่กำหนดรายได้ขั้นต่ำ ให้วงเงินสูงสุด 1,000,000 บาท อัตรากำไรเริ่มต้นที่ 3.00% ต่อปี ใน 2 ปีแรก ผ่อนได้นานสูงสุด 35 ปี พร้อมฟรีค่าธรรมเนียมจัดทำนิติกรรมสัญญา

ทั้งนี้หากทำประกันตะกาฟุลคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ MRTA, MLTA เต็มวงเงิน 100% ของสินเชื่อที่ได้รับอนุมัติ ระยะเวลาคุ้มครองขั้นต่ำ10 ปี หรือตลอดอายุสัญญา ลดอัตรากำไรลงอีก 0.25% ในปีแรก

ผู้สนใจสามารถติดยื่นขอสินเชื่อได้แล้วตั้งแต่วันนี้ – 31 ธันวาคม 2565 ที่ ไอแบงก์ ทุกสาขาในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ iBank Call Center 1302 หรือ แชททาง Messenger : Islamic Bank of Thailand – ibank (@ibank.th) และ Line : iBank 4 all (@ibank)

Advertisements

*หมายเหตุ:

1. “อัตรากำไร/ผลตอบแทน ผลิตภัณฑ์ธนาคารมิใช่ดอกเบี้ยหรือเป็นคำเรียกแทนดอกเบี้ย แต่มาจากหลักการที่ใช้ในการทำธุรกรรมที่ถูกต้องตามหลักการอิสลาม”

2. อัตราผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับ คืออัตราที่คำนวณได้จากประมาณการรายได้ของธนาคารและอัตราสัดส่วนการแบ่งผลตอบแทนเงินฝาก ซึ่งอัตราผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับอาจจะต่ำกว่าหรือสูงกว่าอัตราผลตอบแทนเงินฝากที่ธนาคารประกาศเมื่อครบกำหนดการฝาก

 

แหล่งที่มาของข่าว : Facebook Page – กระทรวงการคลัง

สามารถติดตามข่าวการเงินเพิ่มเติมได้ที่นี่ : ข่าวการเงิน

 

 

N. Siripariyasak

นักเขียนคอนเทนต์ จับประเด็นด้านเศรษฐกิจ-การเงิน, เทคโนโลยี, ไอที และเกมส์ อัปเดตข่าวทั้งจากในประเทศไทย และต่างประเทศ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button