รู้จัก บ้านออมเงิน คืออะไร ? เผยกลโกง ออมเงินดอกเบี้ยสูง ระวังเงินหายวับ
รู้ทันมิจฉาชีพ บ้านออมเงิน คืออะไร ? ออมเงินได้ดอกสูง ล่อใจเหยื่อก่อนเชิดเงินหนี เบื้องหน้าเงินดี ที่แท้ก็แค่แชร์ลูกโซ่นี่เอง
เชื่อว่าในช่วงเวลานี้หลาย ๆ คนอาจจะประสบปัญหาทางการเงิน ชักหน้าไม่ถึงหลัง จนต้องพึ้งทางเลือกนอกระบบที่แสนจะเสี่ยง หนึ่งในนั้นก็คือ “บ้านออมเงิน” ที่ล่าสุดเมื่อวันที่ 23 มิ.ย. 2565 ไฮโซสาวอุบล วัย 25 ปี เปิดบ้านออมเงิน ปันผล 15 วัน ก่อนเชิดเงินหนี สูญเงินกว่า 600 ล้านบาท มีผู้เสียหายกว่า 400 คน ซึ่งนี่ไม่ใช้ครังแรกกับการโดนโกงในรูปแบบ บ้านออมเงิน
- หญิงไก่ จ่อฟ้องกลับ ปมกล่าวหาฉ้อโกง ฝากตรวจสอบอดีตครู
- เตรียมออกหมายเรียกคนในวงแชร์ ‘บ้านออมเงิน’ ตำรวจพบเส้นทางการเงินโยงเด็ก 17 ชิงทอง
- ‘บ้านออมเงิน Milk Milk’ หลอกออมเงินออนไลน์ ผู้เสียหาย 300 คน สูญเงินร่วม 300 ล้าน
เพื่อเป็นการเตือภัย ไม่ให้คนอื่น ๆ โดนโกง วันนี้ The Thaiger จะพาทุกคนมารู้จักกับ บ้านออมเงิน ทริกโกงของมิจฉาชีพ คืออะไร ? ใครหวังเงินก้อน ระวังเงินหายไม่รู้ตัว
เตือนภัย บ้านออมเงิน คืออะไร ? ออมเงินดอกเบี้ยนสูง หวังเงินก้อน ระวังเงินหาย สุดท้ายเป็นแชร์ลูกโซ่
| บ้านออมเงิน คืออะไร ?
บ้านออมเงิน คือ การชวนลงทุน โดยอ้างว่าเอาเงินมาลงออมไว้กินดอก เป็นกลลวงของมิจฉาชีพ เพียงแค่การฝากเงินเฉย ๆ แบบไม่มีความเสี่ยง แต่จะได้รับผลตอบแทนสูงมาก สม่ำเสมอ และได้เร็วตั้งแต่ครั้งแรก ที่ลงทุน เงินต่อเงิน ที่ไม่ใช่เรื่องของการลงทุนจริง ๆ
เบื้องหลังของการให้ดอกเบี้ยสูงลิบในช่วงแรกคือ การนำเงินของสมาชิกใหม่มาเวียนเป็นผลตอบแทนให้สมาชิกเก่า เพื่อสร้างความหน้าเชื่อถือ แต่เมื่อไม่สามารถหาสมาชิกใหม่มาลงทุนเพิ่มได้ก็จะไม่มีเงินมาจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนตามที่สัญญาไว้ ในที่สุดก็เริ่มเบี้ยวผลตอบแทน และปิดบ้านไป
| 5 ข้อสังเกตุ ลงทุนอย่างนี้เข้าข่าย บ้านออมเงิน หรือไม่ ?
1.ผลตอบแทนสูงเกินจริง
ความสำคัญสื่อถึงการสร้างผลตอบแทนที่ได้มาง่าย ๆ ยิ่งลงทุนเยอะ ยิ่งมีโอกาสได้ผลตอบแทนสูง เป็นจุดสังเกตหลักที่ต้องเอะใจทันทีที่ได้รับคำเชิญชวนเหล่านี้ เพราะการลงทุนที่ได้รับผลตอบแทนสูงลิบในระยะเวลาสั้นๆ เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ยากมาก
อย่างเช่นในกรณีล่าสุดอย่าง บ้านออมเงิน ชื่อ บ้านฟองน้ำ จ.อุบลราชธานี ที่ไฮโซสาวผู้ต้องหา เชิญชวนผู้ที่สนใจลงทุนออมเงิน โดยให้ผลตอบแทนเป็นกำไรร้อยละ 5 เปอร์เซ็นต์ต่อ 15 วัน และ 10 เปอร์เซ็นต์ ต่อ 30 วัน นับว่าเป็นกำไรที่ก้าวกระโดดจนแทบจะเป้นไม่ได้เลยในวงการธุรกิจ
2.ให้ลงทุนเยอะ ๆ แต่ไม่พูดถึงความเสี่ยง
ขึ้นชื่อว่าการลงทุน จะมากจะน้อยเท่าไหร่ยังไงก็มีความเสี่ยง ดังนั้นก่อนการลงทุนจึงมีกฎหมายกำหนดให้ทำแบบประเมินความเสี่ยงเบื้องต้น เพื่อให้รู้ว่าทรัพย์สินที่เรากำลังจะลงทุนมีโอกาสขาดทุนอยู่เท่าไร
ดังนั้น คำเชิญชวนลงทุน หรือทำธุรกิจใด ๆ ที่จะนำมาซึ่งผลกำไรสูง ๆ แบบไร้ความเสี่ยงหรือเสี่ยงต่ำแบบไม่สอดคล้องกับผลตอบแทนเป็นอีกหนึ่งสัญญาเตือนว่าคุณนั้นอาจจะกำลังขาดทุนแบบย่อยยับได้ในอนาคต
3.เน้นหาเครือข่าย ที่ดูคล้ายจะเป็นแชร์ลูกโซ่
กลวิธีที่กลุ่มมิจฉาชีพนำมาใช้อยู่เสมอ คือการชักชวนให้หาคนมาร่วมลงทุนเยอะๆ โดยมีแรงจูงใจคือ ใครที่สามารถหาคนมาร่วมลงทุนได้ จะให้ผลตอบแทนเป็นเงินนั่นเอง ซึ่งจริง ๆ แล้ววิธีนี้ก็คือการเพิ่มสภาพคล่องให้ขบวนการนำเงินไปหมุนเวียนเป็นผลตอบแทนให้สมาชิกในช่วงแรก ๆ ก่อนปิดบ้านเชิดเงินหนีนี่เอง
4.กดดันให้รีบตัดสินใจ อ้างว่าวงใกล้เต็ม
เมื่อคุณได้ฟังข้อเสนอจากมิขฉาชีพ ทริกต่อมาที่เหล่าคนโกงชอบใช้นั่นก็คือ การหว่านล้อม ให้รีบลงทุนเพื่อลดโอกาสในการไตร่ตรอง หรือตรวจสอบข้อมูลรีบตัดสินใจภายในวันนี้วันเดียว ไม่งั้นจะไม่ได้เรตราคานี้ ไม่ได้ผลตอบแทนสูงเท่านี้แล้ว เจอแบบนี้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าการลงทุนนี้อาจไม่โปร่งใสอย่างแน่นอน
5.อ้างคนมีชื่อเสียง ร่วมลงทุนอยู่ในบ้านออมเงินนี้ด้วย
แน่นอนว่าการที่เราจะเลือกลงทุนสักอย่าง การที่มีคนดัง มีชื่อเสียงร่วมลงทุนในบ้านออมเงินนั้น เป็นอีกหนึ่งความน่าเชื่อถือที่ทำให้หลาย ๆ คนตัดสินใจร่วม ซึ่งเราไม่ทางรู้เลยว่าชื่อที่กล่าวอ้างมานั้น อยู่ในบ้านออมเงินจริง ๆ หรือไม่ เป็นอีกหนึ่งจุดสังเกตุที่ต้องคอยระมัดระวังเป็นอย่างมาก
หากพบข้อสงสัยหรือต้องการร้องเรียนเกี่ยวกับ บ้านออมเงิน แชร์ลูกโซ่ สามารถติดช่องทางต่าง ๆ ได้ ดังนี้
- ติดต่อด้วยตนเองที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI)
- ติดต่อผ่านสายด่วน 1202 หรือ 02-831-9888
- ติดต่อผ่านเว็บไซต์ www.dsi.go.th หรือ opm.1111.go.th
- ติดต่อผ่านเฟซบุ๊ก กรมสอบสวนคดีพิเศษ
- ติดต่อผ่านตู้สีขาว DSI
- ติดต่อผ่านศูนย์ปฏิบัติการคดีพิเศษภาคทั่วประเทศ
- ติดต่อผ่านแอปพลิเคชัน DSI Map Extended