ผู้ชายผู้หญิงไลฟ์สไตล์

ชวนรู้จัก มรดกคณะราษฎร 2475 เพราะประชาธิปไตยมิใช่สิ่งเดียวที่คงเหลือ

The Thaiger ขอถือโอกาส แนะนำ มรดกคณะราษฎร เนื่องในโอกาสการเวียนกลับมาของวันที่ 24 มิถุนายน 2565 รู้หรือไม่ว่าสิ่งที่คณะราษฎรทิ้งไว้ให้ลูกหลานได้รับรู้ว่า ครั้งหนึ่งเคยมีกลุ่มบุคคลที่นำพาประชาธิปไตยเข้ามาสู่ประเทศไทย มีมากมายกว่าที่คุณรู้จัก โดยมรดกดังกล่าวมีทั้งสิ่งที่ยังปรากฏอยู่ในปัจจุบัน รวมถึงมรดกที่เป็นเหลือความทรงจำ ถูกทำลาย รวมถึงถูกทำให้หายไปอีกด้วย

เมื่อพูดถึงมรดกคณะราษฎร คำตอบแรก ๆ ที่ใครจะตอบน่าจะเป็น หมุดคณะราษฎร หรือ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย แต่รู้หรือไม่ว่าจริง ๆ แล้ว สถานที่ต่าง ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับกลุ่มคณะนี้มีร่วม ๆ 50 แห่งเลยทีเดียว มาร่วมรำลึกวันเฟื่องฟูของหัวใจแห่งประชาธิปไตยในประเทศไทยไปพร้อม ๆ กับ The Thaiger กันได้เลยค่ะ

ชวนรู้จัก มรดกคณะราษฎร 2475 ร่องรอยแห่งความทรงจำ

มรดกคณะราษฎร ในที่นี้หมายถึง พื้นที่รวมถึงสถานที่ต่าง ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับคณะราษฎร ซึ่งยังคงส่งอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตในสังคมของคนไทยในปัจจุบัน รวม ๆ แล้วกว่า 53 แห่ง มีทั้งสถานที่ที่ยังปรากฏอยู่ ถูกเปลี่ยนชื่อ และหายสาบสูญไปแล้ว โดยจะแบ่งออกเป็นพื้นที่จังหวัดต่าง ๆ ดังนี้

แนะนำ มรดกคณะราษฎร ภาคกลาง

มรดกคณะราษฎรในกรุงเทพมหานคร

1. อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

อนุสาวรีย์ที่เป็นสัญลักษณ์ของการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์สู่การปกครองระบอบประชาธิปไตย ยังปรากฏอยู่ในปัจจุบัน

แนะนำ มรดกคณะราษฎร

2. หมุดคณะราษฎร

หมุดคณะราษฎร แผ่นทองคำทรงกลมที่เคยถูกฝังไว้ที่พื้นถนนหน้าลานพระบรมรูปทรงม้า พระราชวังดุสิต ในตำแหน่งที่หนึ่งในผู้นำคณะราษฎร พระยาพหลพลพยุหเสนา หรือ พจน์ พหลโยธิน ยืนอ่านประกาศคณะราษฎรฉบับที่ 1 ช่วงเวลาย่ำรุ่งของวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 เป็นหนึ่งในมรดกคณะราษฎรที่หายไป

3. โรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมไทย

โรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมไทยเกิดขึ้นเนื่องจากจอมพล ป. พิบูลสงคราม มีนโยบายให้มีโรงละครแห่งชาติ แต่โรงภาพยนตร์แห่งนี้ถูกรื้อถอนไปแล้วในปี พ.ศ. 2532 สมัยพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี

4. โรงแรมรัตนโกสินทร์ (อาคารรอบถนนราชดำเนิน)

โรงแรมระดับ 5 ดาวบนถนนราชดำเนิน การออกแบบอาคารมีการใช้รูปทรงเรขาคณิต ทำให้เกิดความสมดุลและเท่าเทียม ซึ่งเป็นแนวคิดการออกแบบที่ได้รับมาจากช่วงเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475

5. ศาลฎีกา (เดิม)

ได้รับแนวคิดการสร้างอาคารจาก จอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งเป็นหลวงพิบูลสงครามในขณะนั้น เน้นความเรียบง่ายตามแนวคิดประชาธิปไตย แต่ภายหลังถูกบูรณะใหม่โดยเน้นความเป็นไทยมากขึ้น

6. สวนสราญรมย์ (ที่ทำการคณะราษฎร)

อดีตเคยเป็นที่ทำการของ สโมสรคณะราษฎรสราญรมย์ และถูกใช้เป็นสถานที่จัดงานรื่นเริง เช่น การจัดงานฉลองรัฐธรรมนูญ แต่ปัจจุบันไม่ปรากฏแล้ว

7. กรมศิลปากร

มรดกคณะราษฎรที่มีวัตถุประสงค์ในการก่อตั้ง คือ เพื่อสืบทอดและดำรงศิลปะและวัฒนธรรม

8. มหาวิทยาลัยศิลปากร (ท่าพระ)

มหาวิทยาลัยศิลปะแห่งแรกของประเทศ ที่ก่อตั้งขึ้นตาม พรบ.มหาวิทยาลัยศิลปากร

9. มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง

มหาวิทยาลัยที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อสนองต่อหนึ่งในหลัก 6 ประการของคณะราษฎร คือ การศึกษา ในปัจจุบันได้ถอดคำว่า “การเมือง” ออกจากชื่อมหาวิทยาลัย โดยสถานที่แห่งนี้ถือเป็นมรดกที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ทางการเมืองอย่าง 14 ตุลา และ 6 ตุลา เป็นอย่างมาก

แนะนำ มรดกคณะราษฎร

10. มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์

ปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อเป็น มหาวิทยาลัยมหิดล เกิดขึ้นเพราะมีการจัดระเบียบการศึกษาในกรมมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์

11. กรมพละศึกษา

ปัจจุบันเปลี่ยนการสะกดชื่อเป็น กรมพลศึกษา ก่อตั้งขึ้นเพื่อผลิตบุคลากรด้านพลศึกษาโดยเฉพาะ

12. พื้นที่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

มีการนำพื้นที่นี้มาทำเป็นสถานศึกษา เนื่องจากการประกาศใช้ พรบ. โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินอันเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์

13. อนุสาวรีย์จอมพล ป. (สถาบันการบินพลเรือน)

14. ศาลคดีเด็กและเยาวชน

15. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ตั้งขึ้นเพื่อใช้เป็นสถานศึกษาวิชาเกษตรระดับสูง ตาม พรบ. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 2486

16. วัดพระศรีมหาธาตุ

จอมพล ป. ได้เสนอให้สร้างวัดเพื่อเป็นอนุสรณ์ของการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย โดยวัดแห่งนี้ยังเป็นที่บรรจุอัฐิของคณะผู้เปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยชื่อเดิมคือ วัดประชาธิปไตย

วัดพระศรีมหาธาตุ มรดกคณะราษฎร

17. อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ

18. คุรุสภา

19. กองศึกษาผู้ใหญ่

20. กรมประชาศึกษา

21. กรมสามัญศึกษา

22. กรมวิชาการ

มรดกคณะราษฎรจังหวัดสมุทรสาคร

23. อนุสาวรีย์รัฐธรรมนูญ (สมุทรสาคร)

สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์สถานเช่นเดียวกับอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยในกรุงเทพมหานคร

มรดกคณะราษฎรจังหวัดปทุมธานี

24. โรงเรียนคณะราษฎร์บำรุงปทุมธานี

เป็นโรงเรียนที่ได้รับความอนุเคราะห์ในการสร้างอาคารเรียนจากสโมสรคณะราษฎร์ โดยก่อนหน้าจะใช้ชื่อนี้ เคยมีชื่อว่า “โรงเรียนสตรีปทุมธานี คณะราษฎร์บำรุง 3” มาก่อน

มรดกคณะราษฎรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

25. ศาลากลางหลังเก่า (พระนครศรีอยุธยา)

มรดกคณะราษฎรจังหวัดลพบุรี

26. ผังเมืองลพบุรี

27. วงเวียนศรีสุริโยทัย (วงเวียนสระแก้ว)

28. โรงละครทหารบก

29. สวนสัตว์ลพบุรี

30. โรงแรมทหารบก

31. โรงเรียนพิบูลวิทยาลัย

32. โรงพยาบาลอานันทมหิดล

33. กองพลทหารปืนใหญ่ ค่ายพิบูลสงคราม (ลพบุรี)

34. อาคารสโมสรนายทหาร

35. ตึกชาโต้

36. อนุสาวรีย์พระยาพหลฯ (ค่ายพหลโยธิน)

37. ศูนย์การทหารปืนใหญ่ ค่ายพหลโยธิน (ลพบุรี)

38. พิพิธภัณฑ์พลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา (ค่ายพหลโยธิน)

มรดกคณะราษฎรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน)

มรดกคณะราษฎรจังหวัดนครราชสีมา

39. อนุสาวรีย์รัฐธรรมนูญ (นครราชสีมา)

มรดกคณะราษฎรจังหวัดบุรีรัมย์

40. วงเวียนรัฐธรรมนูญ

มรดกคณะราษฎรจังหวัดสุรินทร์

41. อนุสาวรีย์รัฐธรรมนูญ (สุรินทร์)

มรดกคณะราษฎรจังหวัดชัยภูมิ

42. อนุสาวรีย์รัฐธรรมนูญ (ชัยภูมิ)

มรดกคณะราษฎรจังหวัดขอนแก่น

43. อนุสาวรีย์รัฐธรรมนูญ (ขอนแก่น)

มรดกคณะราษฎรจังหวัดมหาสารคาม

44. อนุสาวรีย์เทอดรัฐธรรมนูญ

มรดกคณะราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ด

45. อนุสาวรีย์รัฐธรรมนูญ (ร้อยเอ็ด)

มรดกคณะราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี

46. สะพานเสรีประชาธิปไตย 2497

มรดกคณะราษฎรจังหวัดอุดรธานี

47. อนุสาวรีย์รัฐธรรมนูญ (อุดรธานี)

มรดกคณะราษฎร 2475 อีสาน

มรดกคณะราษฎรภาคเหนือ

มรดกคณะราษฎรจังหวัดเชียงราย

48. ถนนพหลโยธิน

49. บ้านจอมพล ป.​ (เชียงราย)

มรดกคณะราษฎร 2475

มรดกคณะราษฎรภาคใต้

มรดกคณะราษฎรจังหวัดสงขลา

50. อนุสาวรีย์รัฐธรรมนูญ (สงขลา)

51. ถนนเพชรเกษม

มรดกคณะราษฎรจังหวัดปัตตานี

52. อนุสาวรีย์รัฐธรรมนูญ (ปัตตานี)

มรดกคณะราษฎรจังหวัดยะลา

53. โรงเรียนคณะราษฎร จังหวัดยะลา

มรดกคณะราษฎร 2475 ใต้

คณะราษฎร 2475
ภาพจาก พิพิธภัณฑ์รัฐสภา
คณะราษฎร 2475
ภาพจาก พิพิธภัณฑ์รัฐสภา

Lalita C.

นักเขียนคอนเทนต์ SEO แห่งทีมไทยเกอร์ไทย คลุกคลีกับการเขียนตั้งแต่สมัยเรียน ชอบการใช้ความคิดสร้างสรรค์ ติดตามข่าวสารจากโลกออนไลน์ นำมาสรุป เล่าเรื่องให้เข้าใจง่าย ผ่านมุมมองน่าสนใจที่คนมักจะมองข้าม ทั้งข่าวบันเทิง บทความ งานเขียนแนวไลฟ์สไตล์ รวมถึงทุกอย่างที่อยากให้นักอ่านได้รู้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button