พ.ร.บ.คู่ชีวิต กับ สมรสเท่าเทียม ต่างกันอย่างไร มีรายละเอียดอะไรบ้าง ทำไมชาวเน็ตและกลุ่ม LGBTQIA+ ถึงพร้อมใจติดแฮชแท็กใน twitter #ไม่เอาพรบคู่ชีวิต ก่อนสมรสเท่าเทียมเข้าสภา วันนี้ (8 มิ.ย.)
ต้อนรับเดือนมิถุนายน Pride Month ด้วยประเด็นร้อนเกี่ยวกับเรื่องเพศอย่างคึกคัก ล่าสุด (8 มิ.ย.) สภาผู้แทนราษฎรมีนัดพิจารณากฎหมาย สมรสเท่าเทียม เพื่อลงมติว่าจะรับหลักการหรือไม่ ตามาด้วยคำถามว่า พ.ร.บ.คู่ชีวิต กับ สมรสเท่าเทียม ต่างกันอย่างไร มีรายละเอียดอย่างไร วันนี้ The Thaiger จะพาคุณไปรู้จักข้อต่าง ทำไมกลุ่มคอมมู LGBTQIA+ หรือผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ ถึงไม่เห็นด้วยกับร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต จนทำให้แฮชแท็ก #ไม่เอาพรบคู่ชีวิต ติดเทรนด์ในโลก Twitter กฎหมายนี้มอบสิทธิ์ให้คู่รัก LGBTQIA+ ได้จริงหรือไม่ มาดูคำตอบกันเลยค่ะ
สมรสเท่าเทียม vs พ.ร.บ. คู่ชีวิต ต่างกันอย่างไร
พ.ร.บ.คู่ชีวิต ดูจะเป็นกฎหมายที่ทำให้เรื่องความหลากหลายทางเพศในสังคมไทยพัฒนาไปอีกขั้น แต่เมื่อพิจารณาตัวกฎหมายจริง ๆ แล้วนั้นจะพบว่ายังมีการจำกัดสิทธิ์ตามกฎหมายของคู่รัก LGBTQIA+ อยู่มาก ทำให้ พ.ร.บ.คู่ชีวิต ไม่เท่ากับสมรสเท่าเทียม นั่นเอง เปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่างชัด ๆ ดังประเด็นต่อไปนี้
สถานะตามกฎหมาย พ.ร.บ.คู่ชีวิต ให้เรียก “คู่ชีวิต” / พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม ให้เรียก “คู่สมรส“
การหมั้นและการรับหมั้น พ.ร.บ.คู่ชีวิต : ทำไม่ได้ / สมรสเท่าเทียม : ทำได้, การจัดการทรัพย์สินร่วมกัน พ.ร.บ.คู่ชีวิต : ทำได้ / สมรสเท่าเทียม : ทำได้, การรับบุตรบุญธรรม พ.ร.บ.คู่ชีวิต : ทำได้ / สมรสเท่าเทียม : ทำได้, การอุ้มบุญ พ.ร.บ.คู่ชีวิต : ทำไม่ได้ / สมรสเท่าเทียม : ทำได้, การให้-รับมรดก พ.ร.บ.คู่ชีวิต : ทำได้ / สมรสเท่าเทียม : ทำได้, การอุปการะเลี้ยงดูกันและกัน พ.ร.บ.คู่ชีวิต : ทำได้ / สมรสเท่าเทียม : ทำได้
การเรียกร้องค่าอุปการะ พ.ร.บ.คู่ชีวิต : ทำได้ / สมรสเท่าเทียม : ทำได้, การใช้นามสกุลร่วมกัน พ.ร.บ.คู่ชีวิต : ทำไม่ได้ / สมรสเท่าเทียม : ทำได้, การฟ้องหย่า พ.ร.บ.คู่ชีวิต : ทำได้ / สมรสเท่าเทียม : ทำได้, การเซ็นอนุญาตรักษาพยาบาลอีกฝ่าย พ.ร.บ.คู่ชีวิต : ทำไม่ได้ / สมรสเท่าเทียม : ทำได้, การจัดการศพอีกฝ่าย พ.ร.บ.คู่ชีวิต : ทำไม่ได้ / สมรสเท่าเทียม : ทำได้, สิทธิในกองทุนประกันสังคม กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ร.บ.คู่ชีวิต : ทำไม่ได้ / สมรสเท่าเทียม : ทำได้ การขอสัญชาติไทยกรณีที่อีกฝ่ายเป็นชาวต่างชาติ พ.ร.บ.คู่ชีวิต : ทำไม่ได้ / สมรสเท่าเทียม : ทำได้
สรุป พ.ร.บ. คู่ชีวิต และ สมรสเท่าเทียม ต่างกันอย่างไร
คำตอบก็คือ พ.ร.บ.คู่ชีวิต จะให้สิทธิและสวัสดิการแก่ “คู่ชีวิต” น้อยกว่า “คู่สมรส” มีหลายอย่างที่ไม่สามารถทำได้ ได้แก่ การหมั้น การรับหมั้น การใช้นามสกุลร่วมกัน การเซ็นอนุญาตรักษาพยาบาลอีกฝ่าย การจัดการศพอีกฝ่าย สิทธิในกองทุนประกันสังคม กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ รวมถึงการขอสัญชาติไทยกรณีที่อีกฝ่ายเป็นชาวต่างชาติ
นอกจากนี้ยังไม่นับรวมถึงสิทธิต่าง ๆ เช่น ประกันสังคม การลดหย่อนภาษี ที่ พ.ร.บ.คู่ชีวิต ไม่ได้ครอบคลุมผลประโยชน์ให้แก่คู่สมรส LGBTQIA+
สำหรับ พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม กฎหมายนี้จะมอบประโยชน์ให้แก่คู่รักทุกคู่อย่างเท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะเป็นคู่รัก Straight หรือ คู่รัก LGBTQIA+ ก็ตาม
โดยในวันนี้ (8 มิ.ย.) ช่วงเวลาประมาณ 13.00 น. จะมีการนำมติ พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม เข้าสู่สภาอีกครั้ง โดยเป็นที่น่าจับตาว่าสภาจะรับพิจารณาร่างกฎหมายฉบับนี้หรือไม่ หลังจากที่มีการร่วมรณรงค์ให้ลงชื่อสนับสนุน สมรสเท่าเทียม ผ่านทางเว็บไซต์ www.support1448.org โดยขณะนี้มีผู้ร่วมลงชื่อแล้วกว่าสามแสนสี่หมื่นรายชื่อ