การเงิน

เงินทดแทนการขาดรายได้ ประกันสังคม จ่ายอย่างไร เช็กเงินโอนเข้าเมื่อไหร่ ตอบให้

ประกันสังคม พร้อมจ่ายเงินชดเชย เงินทดแทนการขาดรายได้ เงื่อนไขใด กรณีไหนจึงจะได้รับเงิน เช็กคุณสมบัติและเงื่อนไขของประกันสังคมแต่ละมาตราได้เลยที่นี่ เอกสารที่ต้องใช้ยื่น ใช้เวลานานแค่ไหนจึงจะได้รับเงินชดเชย The Thaiger สรุปคำตอบมาให้คุณแล้ว

เงินทดแทนการขาดรายได้ ประกันสังคม จ่ายชดเชยกรณีใดบ้าง

Advertisements

สำหรับหลักพิจารณาในการจ่ายเงินชดเชยการขาดรายได้ของประกันสังคม จะแตกต่างกันไปตามแต่ละมาตรา ดังนี้

เงินทดแทนการขาดรายได้ ประกันสังคมมาตรา 33

ในกรณีที่ผู้ประกันตนมาตรา 33 มีการหยุดรักษาตัว หรือ ลาป่วยเกิน 30 วัน รับค่าจ้าง 30 วันแรกจากนายจ้าง ตั้งแต่วันที่ 31 เป็นต้นไป จึงจะสามารถเบิกเงินกรณีขาดรายได้จากประกันสังคมได้ โดยจะได้รับเงินทดแทนร้อยละ 50 ของค่าจ้าง ไม่เกิน 15,000 บาท ครั้งละไม่เกิน 90 วัน และปีละไม่เกิน 180 วัน ยกเว้นโรคเรื้อรังไม่เกิน 365 วัน โดยให้ยื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (สปส. 2-01)

ในส่วนของเอกสารสำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 ยื่นขอเงินทดแทนการขาดรายได้จากประกันสังคม มีรายละเอียดต่าง ๆ ดังนี้

Advertisements
  1. แบบคำขอประโยชน์ทดแทน (สปส.2-01)
  2. บัตรประจำตัวประชาชน
  3. สำเนาบัตรประกันสังคม (ต่างชาติ/ต่างด้าว)
  4. สำเนาหนังสือเดินทาง (Passport) หรือสำเนาหนังสือเดินทางชั่วคราว หรือเอกสารรับรองบุคคลที่ทางราชการออกให้ (ต่างชาติ/ต่างด้าว)
  5. ใบรับรองแพทย์ตัวจริงที่ระบุวันหยุดงาน
  6. หนังสือรับรองของนายจ้าง เพื่อยืนยันว่าได้รับค่าจ้างในวันที่ลาป่วยครบ 30 วันใน 1 ปีปฏิทิน (ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน) และแพทย์มีคำสั่งให้หยุดงานต่ออีก
  7. สำเนาสมุดบัญชีธนาคาร ประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ที่มีชื่อและเลขที่บัญชี
  8. สำเนาเอกสารใบเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุล (กรณีเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุล)

สามารถดาวน์โหลดแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (สปส. 2-01) ได้ที่เว็บไซต์ sso.go.th

เงินทดแทนการขาดรายได้ ประกันสังคมมาตรา 39

สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 39 จะได้รับเงินทดแทนขาดรายได้ร้อยละ 50 โดยคิดจากฐานอัตราการนำส่งเงินสมทบ (4,800 บาท) ครั้งละไม่เกิน 90 วัน และปีละไม่เกิน 180 วัน โดยให้ยื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (สปส. 2-01)

เอกสารสำหรับผู้ประกันตนมาตรา 39 ยื่นขอเงินทดแทนการขาดรายได้จากประกันสังคม มีดังนี้

  1. แบบคำขอประโยชน์ทดแทน (สปส.2-01)
  2. บัตรประจำตัวประชาชน
  3. สำเนาบัตรประกันสังคม (ต่างชาติ/ต่างด้าว)
  4. สำเนาหนังสือเดินทาง (Passport) หรือสำเนาหนังสือเดินทางชั่วคราว หรือเอกสารรับรองบุคคลที่ทางราชการออกให้ (ต่างชาติ/ต่างด้าว)
  5. ใบรับรองแพทย์ตัวจริงที่ระบุวันหยุดงาน
  6. สำเนาสมุดบัญชีธนาคาร ประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ที่มีชื่อและเลขที่บัญชี
  7. สำเนาเอกสารใบเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุล (กรณีเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุล)

สามารถดาวน์โหลดแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (สปส. 2-01) ได้ที่เว็บไซต์ sso.go.th

เงินทดแทนการขาดรายได้ ประกันสังคมมาตรา 40

สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 40 จะได้รับเงินทดแทนขาดรายได้ตามทางเลือก 1-2-3 โดยต้องนำส่งสมทบมาแล้วอย่างน้อย 3 เดือน ภายในระยะเวลา 4 เดือน ก่อนเดือนที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย โดยให้ยื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (สปส. 2-01/ม.40)

เอกสารสำหรับผู้ประกันตนมาตรา 40 ยื่นขอเงินทดแทนการขาดรายได้จากประกันสังคม มีดังนี้

1. แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนผู้ประกันตนมาตรา 40 (สปส. 2-01/ม.40)
2. บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริง พร้อมสำเนา
3. ใบรับรองแพทย์ตัวจริง หรือ สำเนาเวชระเบียน (ต้องให้เจ้าหน้าที่เวชระเบียนเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง พร้อมประทับตราสถานพยาบาล)
4. สำเนาสมุดบัญชีธนาคาร ประเภทออมทรัพย์

สามารถดาวน์โหลดแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (สปส. 2-01/ม.40) ได้ที่เว็บไซต์ sso.go.th

เงินทดแทนการขาดรายได้จากประกันสังคม เข้าวันไหนหลังจากยื่นคำขอ

สำหรับเงินชดเชยการขาดรายได้จะถูกโอนเข้าบัญชีผู้ยื่นคำขอเมื่อไหร่นั้น ทางประกันสังคมตอบว่าขึ้นอยู่กับจำนวนผู้ยื่นขอ โดยเจ้าหน้าที่จะพิจารณาคำขอตามลำดับ หากยื่นขอช้าประกอบกับมีผู้ยื่นเรื่องจำนวนมาก เงินก็อาจโอนล่าช้าได้ แต่ทั้งนี้หากยื่นเอกสารครบ เงื่อนไขสมบูรณ์ ก็จะได้รับอนุมัติและได้รับหนังสือแจ้งผล พร้อมเงินตัดเข้าบัญชีภายใน 5 – 7 วันทำการ

หากท่านใดมีข้อสงสัย สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.sso.go.th หรือสายด่วน 24 ชั่วโมง 1506

อ้างอิงจาก (1)

Lalita C.

นักเขียนคอนเทนต์ SEO แห่งทีมไทยเกอร์ไทย คลุกคลีกับการเขียนตั้งแต่สมัยเรียน ชอบการใช้ความคิดสร้างสรรค์ ติดตามข่าวสารจากโลกออนไลน์ นำมาสรุป เล่าเรื่องให้เข้าใจง่าย ผ่านมุมมองน่าสนใจที่คนมักจะมองข้าม ทั้งข่าวบันเทิง บทความ งานเขียนแนวไลฟ์สไตล์ รวมถึงทุกอย่างที่อยากให้นักอ่านได้รู้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button