รถยนต์ EV คืออะไร ? รู้จักกับรถยนต์พลังงานไฟฟ้า ทางออกยุคน้ำมันแพง
ทำเอาคนธรรมดาผู้ขับรถไปทำงานอย่างเรา ๆ น้ำตาร่วงกันเป็นแถบ หลังเห็นราคาน้ำมันที่นับวันก็มีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ งานนี้ใครที่กำลังมองหารถดี ๆ สักคันก็คงต้องเบนเข็มไปทางรถยนต์พลังงานไฟฟ้า ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าในการขับเคลื่อน 100% กับ รถยนต์ EV ที่ตอนนี้ตลาดรถไฟฟ้ากำลังแข็งขันกันอย่างดุเดือดเลยทีเดียว วันนี้ The Thaiger จะมาพาทุกท่านไปรู้จักกับ รถยนต์ EV คืออะไร ? แตกต่างจากรถธรรมดาอย่างไร ? ช่วยให้เราประหยัดได้จริงหรือไม่ ?
| รถยนต์ EV คืออะไร ? มารู้จักกับรถรถยต์ไฟฟ้า 100% กัน
รถยนต์ EV คือ รถยนต์พลังงานไฟฟ้า 100% มีชื่อเต็มว่า Electric Vehicle ที่ตอนนี้มีแนวโน้มทางการตลาดดูจะเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้วยนวัตกรรมที่ใช้เพียงพลังงานไฟฟ้าอย่างเดียว ในการขับเคลื่อน และสามารถชาร์จไฟได้อย่างสม่ำเสมอเมื่อแบตเตอรี่หมด โดยรถยนต์ไฟฟ้านี้จะมีองค์ประกอบหลักสำหรับการขับเคลื่อนคือ แบตเตอรี่ อุปกรณ์แปลงกระแสไฟฟ้า และ มอเตอร์ไฟฟ้า
การเคลื่อนที่ของรถยนต์ EV ขับเคลื่อนโดยมอเตอร์ไฟฟ้าแทนการใช้เครื่องยนต์ที่มีการเผาไหม้แบบสันดาป โดยรถยนต์ EV จะใช้พลังจากไฟฟ้าแทนการใช้มันน้ำหรือพลังงานอื่น ๆ ระบบรถไฟฟ้าจะเก็บพลังงานเอาไว้ในแบตเตอรี่ที่สามารถชาร์จได้ และแปลงพลังงานจากแบตเตอรี่มาใช้ในการขับเคลื่อนรถ ทำให้ไม่ต้องมีกลไกลอะไรที่มากเหมือนขับเคลื่อนอย่างเช่นรถยนต์ที่ใช้น้ำมัน ที่ต้องใช้การจุดระเบิดเผาไหม้ในการขับเคลื่อน
ขั้นตอนการทำงานของรถยนต์ไฟฟ้า มีจุดเริ่มต้นจากแบตเตอรี่ที่เป็นแหล่งเก็บพลังงานไฟฟ้ากระแสตรง ต่อมาตัวแปลงกระแสไฟฟ้าจะดึงพลังงานจากแบตเตอรี่ไปเปลี่ยนเป็นไฟฟ้ากระแสสลับและส่งต่อไปยังตัวมอเตอร์เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนรถยนต์ ต่อไปทำให้เครื่องยนต์เงียบ และไม่มีไอเสียจากการเผาผลาญพลังงาน
| รถยนต์ EV ในปี 2022 มีกี่ประเภท ?
โดยทั่วไปแล้วนั้น รถยนต์ไฟฟ้า EV สามารถแบ่งได้หลากหลายประเภทตามแต่ละเทคโนโลยีที่ทางค่ายรถจะพัฒนาออกมา โดยจะเป็นการแบ่งกลุ่มของการใช้พลังงานในการขับเคลื่อน ตั้งแต่การใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเพียงอย่างเดียว จนถึงการใช้ระบบไฟฟ้าเพียงอย่างเดียวในการขับเคลื่อน และยังมีรถยนต์ชนิด Fuel Cell Vehicles (FCV) ซึ่งขับเคลื่อนด้วยไฮโดรเจน ในปัจจุบันรถยนต์ EVสามารถแบ่งตามเทคโนโลยีออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
1.รถยนต์ไฟฟ้าแบบไฮบริด (Hybrid Electric Vehicle : HEV)
เทคโนโลยีไฮบริด เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีของพลังงานไฟฟ้าที่เข้ามามีบทบาทยาวนานที่สุดในประเทศไทย การทำงานของ รถยนต์ชนิดนี้เป็นแบบน้ำมันเชื้อเพลิงผสมกับพลังงานไฟฟ้าหรือแบบลูกผสม โดยเครื่องยนต์หลักที่ใช้จะเป็นตัวเครื่องยนต์สันดาปภายใน ทำงานผสมผสานกับระบบมอเตอร์ไฟฟ้าในการขับเคลื่อน และระบบจะเลือกทำงานด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าหรือเครื่องยนต์เองโดยอัตโนมัติ เพื่อให้เกิดการขับขี่ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด
2.รถยนต์ไฟฟ้าแบบปลั๊ก-อิน ไฮบริด (Plug-in Hybrid Electric Vehicle : PHEV)
รถยนต์ประเภทนี้มีระบบ น้ำมันเชื้อเพลิง และระบบไฟฟ้า เช่นเดียวกับรถยนต์ไฮบริด แต่สามารถเสียบปลั๊กชาร์จไฟได้จากภายนอกหรือ Plug-in ทำให้เมื่อเสียบชาร์จพลังงานแล้วรถก็สามารถวิ่งไปได้ในระยะทางที่มากกว่าระบบไฮบริดแบบเดิม และแบตเตอรี่ ยังสามารถชาร์จไฟเพิ่มเพื่อกักเก็บประจุได้ตามต้องการ และเมื่อแบตเตอรี่หมดลงรถจะทำงานคล้ายกับระบบแบบไฮบริด (HEV )
3.รถยนต์ไฟฟ้าแบบใช้แหล่งพลังงานไฟฟ้าอย่างเดียวในการขับเคลื่อน (Plug-in Electric Vehicles : PEVs)
รถยนต์ไฟฟ้าประเภทนี้จะคล้ายคลึงกับรถยนต์ไฟฟ้าแบบปลั๊ก-อิน ไฮบริด (PHEV) เพียงแต่จะมีแบตเตอรี่ขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานหลักเพียงอย่างเดียว เมื่อแบตเตอรี่หมดลงจะต้องเสียบปลั๊กเพื่อชาร์จประจุใหม่ สามารถแยกตามการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าประเภทนี้ ดังนี้
- รถยนต์ไฟฟ้าที่ใช้วิ่งในระยะสั้น เป็นรถยนต์ไฟฟ้า EV ที่ใช้สำหรับการวิ่งในระสั้นเพียงเท่านั้น ไม่เหมาะแก่การวิ่งหรือเดินทางข้ามจังหวัด หรือต่างเมือง มีช่วงการขับขี่ต่ำและทำงานที่ความเร็วต่ำ ตัวอย่างเช่น GEM Electric Motorcar
- รถยนต์ไฟฟ้าประเภท Battery Electric Vehicle (BEV) เป็นรถยนต์ EV ที่ให้พลังงานในการวิ่งจากแบตเตอรี่ไฟฟ้า 100% ดังนั้นก้อนแบตเตอรี่จึงจะมีขนาดใหญ่ เพื่อให้เก็บไฟฟ้าไวว้ได้เยอะ และสามารถวิ่งได้ระยะทางไกลต่อการชาร์จต่อหนึ่งครั้ง โดยรถประเภทนี้จะใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่เพียงอย่างเดียว โดยไม่มีเครื่องยนต์สันดาปภายในจึงไม่ทำให้เกิดสารก่อมลพิษ แต่มีข้อเสียอยู่ที่มีระยะทางการวิ่งจำกัด โดยระยะทางในการขับขี่จะขึ้นอยู่กับขนาดของแบตเตอรี่ และปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ ในการใช้งาน และเส้นทางวิ่ง
- รถยนต์ไฟฟ้าแบบเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell Electric Vehicle – FCEV) เป็นรถยนต์ไฟฟ้าที่ขับเคลื่อน และใช้พลังงานไฟฟ้าจากเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell) โดยเชื้อเพลิงไฮโดรเจนจากการเติมเชื้อเพลิงภายนอก ไม่มีการปล่อยมลพิษ และคาร์บอนไดออกไซด์โดยตรง จะมีเพียงการปลดปล่อยน้ำเท่านั้น ในปัจจุบันรถยนต์แบบ FCEV ได้มีการพัฒนาเพิ่มมากขึ้น และคาดว่าจะมีการเติบโตขึ้นในเร็ววัน
| เปรียบเทียบข้อดี vs ข้อเสีย ของรถยนต์ไฟฟ้า EV |
ข้อดีของรถยนต์ EV
1. ประหยัดค่าเชื้อเพลิง แม้ว่ารถไฟฟ้า EV ในปัจจุบันจะมีราคาค่อนข้างสูงอยู่พอสมควร แต่เมื่อเทียบกับรถที่ใช้น้ำมัน จะเห็นว่าแนวโน้มราคาของรถไฟฟ้า EV เริ่มจะถูกลงเรื่อย ๆ และเนื่องจากพลังงานของรถไฟฟ้า EV มาจากการชาร์จประจุไฟฟ้าเข้าไปที่ตัวแบตเตอรี่ ทำให้อัตราค่าใช้จ่ายเรื่องเชื้อเพลิงของรถไฟฟ้าก็ถูกกว่าเชื้อเพลิงน้ำมันเช่นกัน
2. เครื่องยนต์เงียบ ไม่มีเสียงรบกวน เป็นเพราะกลไกในการขับเคลื่อนไม่มากเท่ารถที่ใช้เชื้อเพลิงน้ำมัน ที่ต้องใช้การจุดระเบิดเพื่อเผาไหม้ ถึงจะสามารถขับเคลื่อนได้ ทำให้รถยนต์ไฟฟ้า EV มีเสียงเงียบกว่ารถที่ใช้น้ำมันเป็นพลังงานน้ำมันเป็นเชื้อเพลิง
3. รักษาสิ่งแวดล้อม และด้วยการที่ไม่ต้องจุดระเบิดเพื่อขับเคลื่อน ทำให้รถยนต์แบบ EV ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะ เพราะไม่มีไอเสียจากการเผาผลาญพลังงานอย่างเช่นเครื่องยนต์ ที่มีการเผาไหม้แบบสันดาป ลดการปล่อนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ต้นเหตุหลักของภาวะเรือนกระจกได้อีกด้วย
ข้อเสียของรถยนต์ EV
1. รถยนต์มีราคาสูง ถึงแม้ว่าจะมีอัตราค่าใช้จ่ายเรื่องเชื้อเพลิงที่ต่ำ แต่กระบวนการผลิตจนถึงการวางจำหน่ายจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีที่มีราคาสูง ทำให้ตัวรถมีราคาสูงตามไปด้วย ในขณะที่เมื่อมีราคาสูงทำให้จำนวนผู้ใช้งานน้อยลงไปด้วย ทำให้ราคาของรถยนต์ EV สูงไปด้วย
2. ระยะทางจำกัด และมีสถานีให้บริการชาร์จไฟน้อย เนื่องจากรถไฟฟ้า EV จำเป็นต้องพึ่งพาพลังงานจากแบตเตอรี ทำให้มีข้อจำกัดในการใช้งานในเรื่องของประจุไฟฟ้า ส่งผลต่อระยะทางในการขับขี่ที่ถูกจำกัดลงไปด้วย และในประเทศไทย ยังมีสถานบริการชาร์จไฟยังไม่ทั่วถึงมากนัก ทำให้บริการชาร์จไฟที่อาจจะไม่เพียงพอต่อการใช้งาน
3. ระยะเวลาในการชาร์จไฟที่ถี่ และใช้เวลาในการชาร์จนาน เพราะการชาร์จไฟฟ้าไม่เหมือนการเติมน้ำมันที่เติมเพียง 2 – 3 นาที ในขณะที่รถไฟฟ้าต้องใช้เวลาชาร์จนานกว่า 30 นาที หรือในบางรุ่นอาจใช้เวลานานถึง 4 ชั่วโมงเลยทีเดียว
4. ตัวเลือกยังน้อย ถึงแม้ว่าค่ารถยนต์แต่ละค่าย ต่างก็ส่งรถยนต์ EV ของตัวเองออกมาสู่ตลาด แต่เมื่อย้อนกลับไปที่ข้อ 1. ในเรื่องของราคาก็ยังคงสูงอยู่ กลายเป็นคนไม่สามารถเข้าถึงรถยนต์ไฟฟ้า EV ได้ทุกคน รวมถึงตัวเลือที่ราคาเท่ากันเมื่อเทียบกับรถที่ใช้น้ำมัน ที่ในราคาเท่ากันมีออฟชั่นให้เลือกเยอะกว่า ก็ทำให้หลาย ๆ คนหันไปสนใจกับรถน้ำมันมากกว่ารถยนต์ไฟฟ้า
สถานการณ์รถยนต์ EV ในไทยปี 2022
สำหรับสถานการณ์รถยนต์ไฟฟ้า EV ในประเทศไทยนั้น เรียกได้ว่ากำลังอยู่ในช่วงขาขึ้นเลยก็ว่าได้ ไม่ว่าจะเป็นทั้งรถมือหนึ่ง หรือมือสอง เพราะเมื่อเปรียบเทียบจากจำนวนรถ EV ในไทย ปี 2021 จะสังเกตุได้ว่าคนไทยนั้นเริ่มให้ความสนใจกับตลาดรถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น ส่วนหนึ่งก็มาจากปัจจัยด้านราคาน้ำมันที่กำลังพุ่งสูงอย่างต่อเนื่อง ทำให้สถานนีบริการชาร์จไฟต่าก็เริ่มผุดขึ้นมาเป็นดอกเห็ด กระจายอยู่ทั่วไป
เหตุนี้เอง เป็นจุดที่ทำให้ค่ายรถยักษ์ใหญ่หลายแบรนด์ ต่างมุ่งที่จะต้องการทำการตลาดรถยนต์ไฟฟ้า EV ในประเทศไทย ปี 2022 ไม่ว่าจะเป็นทั้งเจ้าตลาดอย่าง Honda ที่ประเดิมรถ EV เต็มรูปแบบคันแรกอย่าง Honda e 2021 และคู่แข่งตลอดกาลอย่าง Toyota ที่กำลังซุ่มพัฒนารถ EV ของตัวเองเช่นกันอย่าง Toyota bZ4X เป็นรถที่พัฒนาร่วมกับแบรนด์ Subaru
ในส่วนของแบรนด์น้องใหม่อย่าง MG ก็ไม่น้อยหน้าส่ง MG EP ตัดหน้าแบรนด์ใหญ่ ๆ หลายรุ่น ด้วยรถยนต์พลังงานไฟฟ้าแบบ 100% มาแล้ว น้องเล็กสุดอย่าง GWM ที่เพิ่งเข้ามาทำการตลาดในไทย แต่ก็ตกลูกค้าไปได้หลายรายอย่าง ORA Good Cat ก็มีแนวโน้มที่จะเป็นรถ EV ยอดฮิตของไทยได้ไม่ยาก นอกจากนี้ยังมี Mini Cooper SE มรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นแรกจากทาง Mini Cooper ก็เริ่มเห็นบนท้องถนนกันบ้างแล้วเช่นกัน
เรื่อง : สิทธิโชติ ลังกากาศ
บรรณาธิการ : ทศพล ถิรเจริญสกุล
- Netflix เผยสถิติปุ่ม Skip Intro โดยมีผู้ใช้งานแล้ว 136 ล้านครั้ง
- Samsung จะเปิดตัว ทีวี ใหม่ ที่ใช้หน้าจอ Neo QLED 8K อาทิตย์หน้า
- Google ซื้อกิจการสตาร์ทอัพ microLED ที่ใช้งานในแว่น AR
- iOS 15.4 ส่งผลให้ แบตหมดไว / แบตไหล ในผู้ใช้งานบางราย
- เปรียบเทียบ iPhone SE 3 กับ SE 2 ความเหมือนที่แตกต่าง