เตือนคอดำห้ามขัด หาหมอด่วน! อาจเป็นเบาหวาน
คอดำ ห้ามขัด เพจดังแนะหาหมอด่วน อาจเสี่ยง โรคเบาหวาน หลังเกิดกรณี ผู้บริโภคนำน้ำมัน E85 มาขัด เชื่อทำให้คราบที่คอ ออกไวขึ้น
จากกรณีที่ “ผู้บริโภค” เฟซบุ๊กแฟนเพจขวัญใจผู้ซื้อ เปิดเผยเรื่องราวที่มีคนนำน้ำมัน E85 น้ำมันเชื้อเพลิงที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ 85% ขัดหลังคอ โดยมีความเชื่อว่าจะทำให้คราบที่ลำคออกได้ไวขึ้น ก่อนที่ทางเพจจะแนะนำว่า ไม่ควรใช้น้ำมันขัดเพราะอาจจะส่งผลเสียกับผิวได้
ขณะที่ความเห็นชาวเน็ตมีการให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับคราบดำ หรือ คอดำ นอกจากเรื่องของน้ำหนักตัว ความอ้วน จะเป็นหนึ่งในสาเหตุแล้ว คราบดังกล่าวที่บริเวณลำคอยังเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงโรคเบาหวานได้ด้วย โดยเฟซบุ๊กแฟนเพจ Dramma-addict ออกมาให้ข้อมูลสนับสุนเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเด็นนี้ว่า “จากประเด็นของเพจผู้บริโภค จริงๆก็เห็นคลิปคนที่มีปัญหาคอดำ แล้วเอาอะไรไปขัดให้คราบดำหลุดออกจนคอแดงไปหมด หรือเอาน้ำมันหรือสารเคมีอื่นๆไปทา หวังให้มันหายดำบ่อยเหมือนกัน”
“อยากบอกว่า ไม่ต้องเสียเวลาครับ ไปหาหมอดีกว่า อันนี้เรียกว่า Acanthosis nigricans”
“ภาษาไทยเรียก โรคผิวหนังช้าง คือผิวจะเป็นดื้นดำหนาคล้ายๆผ้ากำมะหยี่ มักขึ้นตามซอกแขน ซอกขา ข้อพับ หลังคอ ไรงี้ เป็นอาการนำอย่างนึงของโรคเบาหวานครับ มักพบในคนที่มีปัญหาดื้ออินซูลิน เช่น เป็นเบาหวาน เป็นโรคอ้วน มีความเสี่ยงกำลังจะเป็นเบาหวาน หรือโรคอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับพวกต่อมไร้ท่อและฮอร์โมน ในบางรายอาจเกิดจากมะเร็งบางชนิดก็ได้”
“ดังนั้นถ้ามีอาการแบบนี้ ก็หาหมอครับ จะได้หาสาเหตุและรักษาต้นตอของโรคกัน แล้วพอรักษาต้นตอของโรคได้ ก็มีครีมทารักษาอาการพวกนี้ แต่ถ้าไม่ไปหาหมอ เอานู่นนี่มาขัดคอ ถูคอ พอกคอ ต้นตอของโรคที่ทำให้คอดำยังอยู่ มันก็ไม่หายไปนะครับ”
คอดํา เกิดจาก ?
ทั้งนี้ สาเหตุที่ทำให้คอดำนั้น อ้างอิงข้อมูลจาก MedThai เว็บไซต์เฉพาะทางด้านสุขภาพ มีอยู่ด้วยกันหลายสาเหตุ แต่ส่วนใหญ่มักจะเกิดจากการเสียดสีไปมาของคนที่มีน้ำหนักตัวมาก ๆ เป็นหลัก นอกจากนี้ยังสาเหตุอื่น ๆ อีก เช่น คราบขี้ไคล แสงแดด จุดด่างดำต่าง ๆ ภาวะหรือโรคบางชนิด ที่ส่งผลทำให้บริเวณคอมีสีที่หมองคล้ำกว่าที่ควรจะเป็น
- ข่าวปลอม! ดื่มน้ำ รักษาความชุ่มชื้นของเยื่อเมือกลำคอ ป้องกันโควิด-19
- ช็อก! หนุ่มขอนแก่น หัวใจวายขณะ มีเพศสัมพันธ์กับสุนัข
- เศร้า! เด็ก 4 ขวบถูก โต๊ะหนีบคอ ทางบ้านเผยไม่คิดว่าเป็นอันตราย
- กรมบัญชีกลาง ปรับปรุง การเบิกค่ารักษาพยาบาล กรณีเสี่ยง หรือติดเชื้อ โควิด-19