สนค. แจง การส่งออก ช่วง ต.ค. ดีกว่าที่คาด -6.71% เชื่อปีหน้าฟื้นตัว
สนค. ได้มีการชี้แจงยอด การส่งออก ในช่วงเดือนตุลาคม 2563 ได้ลดลงไป 6.71% ที่ถือว่าดีขึ้นกว่าในช่วงที่ผ่านมา และได้มีการคาดการณ์ว่ายอดในปีหน้าจะเป็นบวก มีการฟื้นตัวขึ้นอย่างแน่นอน
นางสาว พิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) ได้ทำการเปิดเผย ยอด การส่งออก ของประเทศไทยในเดือนตุลาคม 2563 ว่ามีมูลค่าทั้งสิ้น 19,376.68 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยลดลงไป 6.71% ซึ่งทำได้ดีกว่าที่คาดการณ์เอาไว้ และถือว่าเป็นสัญญาณที่ดี เพราะการส่งออกที่เพิ่มขึ้นจากการฟื้นตัวของภาคการผลิตจริง
ในส่วนของการนำเข้ามีมูลค่าอยู่ที่ 17,330.15 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงไป 14.32% ทำเกิดดุลการค้า 2,046.53 ล้านเหรียญสหรัฐ
ขณะที่การส่งออกในรอบ 10 เดือนตั้งแต่ ม.ค. – ต.ค. ของปี 2563 นั้นมีมูลค่าอยู่ที่ 192,372.77 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงไปโดยรวม 7.26% ในส่วนของการนำเข้าในกรอบเวลาเดียวกันนั้น มีมูลค่า 169,702.56 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงไป 14.61% โดยยังคงเกินดุลการค้ามูลค่า 22,670.21 ล้านเหรียญสหรัฐ
ปัจจัยที่ส่งผลให้การส่งออกเริ่มมีการฟื้นตัวขึ้นนั้น มาจากการที่เศรษฐกิจโลกเริ่มมีการปรับตัวดีขึ้น หลายประเทศเริ่มมีการผ่อนคลายในการเดินทางและการขนส่ง ส่งผลให้การผลิตเริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ โดยสินค้าที่ทำการส่งออกได้ดีของไทยนั้น ได้แก่ สินค้าอาหาร สินค้าอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน
โดยทาง น.ส. พิมพ์ชนก ได้กล่าวว่า ในช่วง 2 เดือนที่เหลือของการส่งออกภายในปีนี้นั้น จะส่งผลให้ยอดการส่งออกในปี 2563 นี้เกิน 7% หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับมูลค่าการส่งออกโดยเฉลี่ยต่อเดือนนั้นจะเกินหรือน้อยกว่า 19,000 ล้านเหรียญสหรัฐ
ทั้งนี้สถานการณ์การค้าโลกคาดว่าจะกลับมาดีขึ้นภายหลังจากการชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐของ โจ ไบเดน ที่คาดว่าจะลดความดุเดือดของสงครามระหว่างสหรัฐและจีนลงไปได้บ้าง และการพัฒนาของวัคซีนป้องกัน Covid-19 รวมไปถึงความตกลงกุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (อาร์เซ็ป)
แต่ก็ยังมีปัจจัยเสี่ยงอยู่ด้วยเช่นกันไม่ว่าจะเป็นการกลับมาระบาดในรอบที่ 2 ของ Covid-19 การขาดแคลนตู้ขนถ่ายสินค้า อีกทั้งค่าเงินบาทที่มีความแข็งค่าและผันผวน รวมไปถึงค่าน้ำอีกด้วย
แหล่งที่มาของข่าว : เว็บไซต์ข่าว ผู้จัดการออนไลน์
- ครม. เคาะงบเพิ่มเติมในส่วน เงินประกันรายได้ ข้าว เช็คได้วันที่ 23 พ.ย. นี้
- สภาองค์กรนายจ้าง คาด ตลาดแรงงาน 64 ยังเปราะบาง แรงงาน เร่งปรับตัว