ข่าวดารา

ประวัติตั้ว ศรัณยู พระเอกดังในตำนาน

ประวัติตั้ว ศรัณยู พระเอกดังในตำนาน

ศรัณยู วงษ์กระจ่าง ชื่อเล่น ตั้ว มีชื่อจริงว่า นรัณยู วงษ์กระจ่าง เกิดวันที่ 17 ตุลาคม 2503 ที่ตำบลกระดังงา อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นน้องชายร่วมสายโลหิตของ ธเนศ วรากุลนุเคราะห์ มีพี่น้อง 4 คน แต่ใช้คนละนามสกุลกัน

จบการศึกษาระดับมัธยมจาก โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รุ่นที่ 92/96 และจบการศึกษาระดับปริญญาตรีจาก คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (รหัสเข้า 21) ช่วงชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย ศรัณยูกวาดรับบทเด่นใน “ละคอนถาปัด” หรือละครเวทีโดยนิสิตคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ รวมทั้งข้ามไปเล่นให้ละครเวทีของคณะอักษรศาสตร์ด้วย

ครอบครัว

ศรัณยู สมรสกับ หัทยา เกตุสังข์ นักแสดงและดีเจชื่อดัง โดยเข้าพิธีหมั้น เมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2537 และได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้เข้ารับพระราชทานน้ำสังข์ จากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่พระตำหนักสวนจิตรลดา เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2537 ตามด้วยงานฉลองพิธีสมรสในวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2537 ทั้งคู่มีบุตรสาวฝาแฝด ชื่อ ศุภรา วงษ์กระจ่าง (ลูกหนุน) และ ศีตลา วงษ์กระจ่าง (ลูกหนัง)

การเมือง

ศรัณยูเคยเข้าร่วมชุมนุมในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พ.ศ. 2535 และเคยมีชื่อเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย รุ่นที่ 2 แต่ในวิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย พ.ศ. 2548-2550 ศรัณยูเป็นบุคคลหนึ่งที่เข้าร่วมในการขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ให้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยเข้าร่วมชุมนุมตั้งแต่วันแรกที่ก่อตั้งกลุ่ม คือ วันเสาร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 ที่ลานพระบรมรูปทรงม้า ซึ่งได้เข้าร่วมชุมนุมอยู่บ่อยครั้งและได้ขึ้นเวทีปราศรัยร่วมกับพงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง เพื่อนนักแสดงที่หน้าสยามพารากอน เมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2549

ต่อมาเมื่อเกิดวิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทยขึ้นอีกครั้ง ศรัณยูเป็นบุคคลหนึ่งที่เข้าร่วมในการขับไล่ นายสมัคร สุนทรเวช และคณะรัฐมนตรีทั้งชุดลาออกจากตำแหน่ง และได้ขึ้นเวทีร้องเพลงกับ ไก่ แมลงสาบ และวงซูซู อย่างสม่ำเสมอ จนกระทั่งถูกแต่งตั้งให้เป็นแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย รุ่นที่ 2 พร้อมกับนางมาลีรัตน์ แก้วก่า ในวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ต่อมาในวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2552 เขาได้รับเลือกให้เป็นรองเลขาธิการพรรคการเมืองใหม่ของทางกลุ่มพันธมิตรฯ

ชีวิตการทำงาน

ศรัณยูเป็นพระเอกที่มีช่วงการครองความนิยมยาวนานที่สุดคนหนึ่งของประเทศไทย เริ่มผลงานในวงการบันเทิงครั้งแรกประมาณปี พ.ศ. 2524 โดยได้รับการชักชวนให้ถ่ายแบบนิตยสารดิฉัน และมีผลงานเดินแบบ จากนั้นศรัณยูจึงได้มีผลงานพิธีกรรายการโทรทัศน์ เสียงติดดาว และ ยิ้มใส่ไข่ หลังสำเร็จการศึกษา ศรัณยูมีผลงานละครโทรทัศน์เรื่องแรกในปี 2526 คือ เลือดขัตติยา ซึ่งดัดแปลงจากบทประพันธ์ของ ทมยันตี สร้างโดย รัตนาภรณ์ อินทรกำแหง มีกำหนดออกอากาศทางช่อง 3 ทุกวันจันทร์-ศุกร์ 21.00 น.แต่ก็ไม่ได้รับอนุมัติให้ออกอากาศ ด้วยมีเนื้อหาที่อาจกระทบต่อความมั่นคง

ผลงานละครโทรทัศน์ที่ออกอากาศเรื่องแรกของศรัณยูจึงเป็นผลงานละครของ มยุรฉัตร เหมือนประสิทธิเวช เรื่อง เก้าอี้ขาวในห้องแดง ออกอากาศ 9 กุมภาพันธ์ 2527 ทางช่อง 3

ผลงานการแสดง

ละครโทรทัศน์

ช่อง 3

  • 2526 เลือดขัตติยา (อโณทัย) คู่กับ วาสนา สิทธิเวช (ไม่ได้ออกอากาศ)
  • 2527 เก้าอี้ขาวในห้องแดง (บูรพา / เปี๊ยก)
  • 2529 กามนิต-วาสิฏฐี (กามนิต) คู่กับ จริยา สรณะคม
  • 2530 อวสานของเซลส์แมน (ชนะพล / พล ) คู่กับ จริยา สรณะคม
  • 2531 อาศรมสาง (นักสิทธิ์ สุรเมธี)
  • 2531 ทายาท คู่กับ ชุดาภา จันทเขตต์
  • 2531 เกมกามเทพ (กำนันภู) คู่กับ จริยา สรณะคม
  • 2531 เจ้าสาวของอานนท์ (อานนท์ วิทยาธร) คู่กับ จริยา สรณะคม
  • 2532 ดอกฟ้าและโดมผู้จองหอง (โดม) คู่กับ นาถยา แดงบุหงา
  • 2532 รัตติกาลยอดรัก (ดร.จักรกฤษณ์ อิสราลักษณ์) คู่กับ ปาหนัน ณ พัทลุง
  • 2533 โหด เลว อ้วน
  • 2533 วนาลี (ผู้กองศยาม / เสือมืด) คู่กับ ลลิตา ปัญโญภาส
  • 2533 เทพธิดาบาร์ 21
  • 2533 สมหวัง มนุษย์ทดลอง (สมหวัง)
  • 2533-34 รอยมาร (อุปมา / มาร์ค) คู่กับ เพ็ญ พิสุทธิ์
  • 2534 วนิดา (พันตรีประจักษ์ มหศักดิ์ / ใหญ่) คู่กับ ลลิตา ปัญโญภาส
  • 2535 ไฟโชนแสง (ชาติชาย) คู่กับ มาช่า วัฒนพานิช
  • 2536 อยู่กับก๋ง (เพ้ง) คู่กับ เพชรี พรหมช่วย
  • 2540 ทานตะวัน (สาริศ) คู่กับ บุษกร พรวรรณะศิริเวช
  • 2540 ตะวันยอแสง (ศักดิ์ระพี / อาเล็ก) คู่กับ ซอนย่า คูลลิ่ง
  • 2541 ดวงยิหวา (อาแมน) คู่กับ ศิริลักษณ์ ผ่องโชค
  • 2541 เทพนิยายนายเสนาะ

ละคร วนิดา พ.ศ. 2534

ช่อง 5

  • 2528 มงกุฎเพชร (กฤช) ร่วมกับ นิรุตติ์ ศิริจรรยา, อาภาพร กรทิพย์, ปนัดดา โกมารทัต, สุพรรษา เนื่องภิรมย์
  • 2533 เธอคือดวงดาว (สันติภาพ – ชื่อละครเปลี่ยนจาก “คนขายคน” ถ่ายทำเมื่อ พ.ศ. 2531 ไม่ผ่าน กบว.)
  • 2535 เมียนอกกฎหมาย (นเรนทร์) คู่กับ แสงระวี อัศวรักษ์
  • 2538 เรือนแพ (เจน) คู่กับ นุสบา วานิชอังกูร
  • 2540 เขมรินทร์ อินทิรา (เขมรินทร์) คู่กับ แคทรียา อิงลิช
  • 2540 แก้วจอมแก่น
  • 2542 ละครเทิดพระเกียรติ พ่อ ตอน ชีวิตที่พอเพียง (ชูชีพ)
  • 2549 ลอดลายมังกร (เหลียง) คู่กับ บุษกร พรวรรณะศิริเวช

ช่อง 7

  • 2527 บ้านสอยดาว (เอื้อตะวัน)
  • 2528 ระนาดเอก (เอก)
  • 2528 มัสยา (ร้อยโทลักษณ์ รัตนมหาศาล) คู่กับ มนฤดี ยมาภัย
  • 2529 จิตรกร คู่กับ ปวีณา ชารีฟสกุล
  • 2530 บ้านทรายทอง (ม.ร.ว.ภราดาพัฒน์ระพี สว่างวงศ์ / ชายกลาง) คู่กับ มนฤดี ยมาภัย
  • 2530 พจมาน สว่างวงศ์ (ม.ร.ว.ภราดาพัฒน์ระพี สว่างวงศ์ / ชายกลาง) คู่กับ มนฤดี ยมาภัย
  • 2531 บริษัทจัดคู่ (อารมย์) คู่กับ สาวิตรี สามิภักดิ์
  • 2536 น้ำเซาะทราย (ภีม ประการพันธ์) คู่กับ สินจัย เปล่งพานิช / ปรียานุช ปานประดับ
  • 2537 ทวิภพ (คุณหลวงอัครเทพวรากร – ได้รับรางวัลเมขลาผู้แสดงนำชายดีเด่นปี 2537) คู่กับ สิเรียม ภักดีดำรงฤทธิ์
  • 2537 ปลายฝนต้นหนาว (ลายคราม) คู่กับ รชนีกร พันธุ์มณี
  • 2538 ปราสาทสีขาว (ตรีพิมาย / ตรี) คู่กับ สิเรียม ภักดีดำรงฤทธิ์
  • 2538 มนต์รักลูกทุ่ง (คล้าว) คู่กับ ณัฐริกา ธรรมปรีดานันท์
  • 2539 ด้วยแรงอธิษฐาน (กฤตย์) คู่กับ สุวนันท์ คงยิ่ง
  • 2541 พ่อม่ายทีเด็ด (พายัพ) คู่กับ สินิทธา บุญยศักดิ์
  • 2541 พลังรัก (อธิวัฒน์) คู่กับ ชไมพร จตุรภุช
  • 2542 โดมทอง (อดิศวร์ ศิโรดม(ปัจจุบัน) /เจ้าพระยาสรรักษ์ไกรณรงค์ (อดีต) ) คู่กับ ณัฐริกา ธรรมปรีดานันท์
  • 2542 คุณปู่ซู่ซ่า คู่กับ ธัญญาเรศ รามณรงค์
  • 2543 ดั่งสายน้ำไหล (พีรภัทร) คู่กับ มัณฑนา โห่ศิริ
  • 2544 นายฮ้อยทมิฬ (นายฮ้อยเคน) คู่กับ น้ำฝน โกมลฐิติ
  • 2544 รักของฟ้า (พีรพล) คู่กับ รชนีกร พันธุ์มณี (ละครพิเศษวันพ่อแห่งชาติ)
  • 2546 มหาเฮง (เฮง)
  • 2547 หลังคาแดง (ผู้อำนวยการโรงพยาบาลผู้ป่วยโรคจิต (นายแพทย์สินเงิน)) คู่กับ สินจัย เปล่งพานิช
  • 2548 มิตร ชัยบัญชา มายาชีวิต รับบทเป็น ส.อาสนจินดา

ช่อง ทรูโฟร์ยู

  • 2560 ศรีอโยธยา รับบทเป็น สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ / สมเด็จพระภูมินทรมหาราชาบรมโกศ

ช่อง จีเอ็มเอ็ม 25

  • 2560 ไดอารีตุ๊ดซีส์ เดอะซีรีส์ ซีซั่น 2 รับบทเป็น พ่อของวิน (รับเชิญ)
  • 2561 Club Friday the Series 9 รักครั้งหนึ่ง ที่ไม่ถึงตาย

ละคร นายฮ้อยทมิฬ พ.ศ. 2544

ภาพยนตร์

  • 2530 อย่าบอกว่าเธอบาป (สุชาติ)
  • 2532 โกย
  • 2532 หัวใจ 4 สี (วัชระ)
  • 2532 ขอชื่อสุธีสามสี่ชาติ (สุธี)
  • 2533 เล่นกับไฟ (ปราย)
  • 2536 ท่านขุนน้อยน้อย แห่งสยาม
  • 2537 กาเหว่าที่บางเพลง
  • 2538 บินแหลก (ยิ่งศักดิ์ / โย)
  • 2538 มหัศจรรย์แห่งรัก (พัฒน์)
  • 2539 เรือนมยุรา (พระนาย)
  • 2543 สตางค์ (โรจน์)
  • 2544 สุริโยไท (พระเฑียรราชา / สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ)
  • 2545 เกิร์ลเฟรนด์ 14 ใสกำลังเหมาะ
  • 2548 ซุ้มมือปืน (อิฐ อัมพวา)
  • 2549 อำมหิตพิศวาส (ชัย)
  • 2549 13 เกมสยอง (สุรชัย)
  • 2550 ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๑ องค์ประกันหงสา (สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ)
  • 2551 สลัดตาเดียวกับเด็ก 200 ตา (กัปตันฤทธิ์)
  • 2551 องค์บาก 2 (พระยาราชเสนา)
  • 2552 สวยซามูไร (วายิบ)
  • 2553 องค์บาก 3 (พระยาราชเสนา)
  • 2562 ตุ๊ดซีส์ แอนด์ เดอะเฟค รับบทเป็น พ่อของวิน (รับเชิญ)

ละครเวที

  • ละคอนถาปัด “น่านเจ้า” พ.ศ. 2523
  • ละครเวทีอักษรศาสตร์ จุฬาฯ “คนดีที่เสฉวน” (Good Woman of Setzuan) โรงละครอักษรศาสตร์ จุฬาฯ
  • ละครเวทีอักษรศาสตร์ จุฬาฯ “พรายน้ำ” โรงละครอักษรศาสตร์ จุฬาฯ
  • ละคอนถาปัด “น่านเจ้า” ครั้งที่ 2 วันที่ 14 กันยายน 2526 โรงละครแห่งชาติ
  • สู่ฝันอันยิ่งใหญ่ (Man of La Mancha) 28 ส.ค. – 2 ก.ย. พ.ศ. 2530 ณ โรงละครแห่งชาติ (เซรบานเตส/ดอน กิโฮเต้) ร่วมกับ นรินทร ณ บางช้าง
  • ไร่แสนสุข พ.ศ. 2530 ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งชาติ (โรงใหญ่) จำนวน 10 รอบ ร่วมกับ ใหม่ เจริญปุระ
  • บ้าก็บ้าวะ (One Flew Over the Cuckoo’s Nest) ปี 2530
  • พันท้ายนรสิงห์ พ.ศ. 2532 ณ ศาลาเฉลิมไทย (พันท้ายนรสิงห์) ร่วมกับ พิศาล อัครเศรณี นาถยา แดงบุหงา
  • ปรัชญาชีวิต (The Prophet) ณ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมแสงอรุณ ร่วมกับ รวิวรรณ จินดา สินจัย หงษ์ไทย
  • สัญญาณเลือดสัญญารัก (Dial M For Murder) 20-22 และ 27-29 กันยายน 2334 ณ โรงละคร A.U.A. จำนวน 10 รอบ ร่วมกับ ลีลาวดี วัชโรบล
  • ซินเดอเรลล่า 22-24 พฤศจิกายน 2534 ณ โรงละครแห่งชาติ (โรงใหญ่) (เจ้าชายฟิลิป) จำนวน 5 รอบ ร่วมกับ ขวัญฤดี กลมกล่อม
  • อภินิหาร แม่มดแฝด
  • กระจกเงา
  • ไอ้หมี มารยาททราม ละครเวทีฉายทางโทรทัศน์
  • ทึนทึก 27-28 มีนาคม 2535 และ 8-10 พฤษภาคม 2535 ณ โรงละคร A.U.A. (มงคล/หมง) จำนวน 20 รอบ ร่วมกับ ธิติมา สังขพิทักษ์ อัจฉราพรรณ ไพบูลย์สุวรรณ
  • ตะลุยเมืองตุ๊กตา 3-12 กรกฎาคม 2535 ณ โรงละครแห่งชาติ (โรงใหญ่) จำนวน 20 รอบ ร่วมกับ แสงระวี อัศวรักษ์ และกลับมาอีกครั้ง ณ โรงละครแห่งชาติ (โรงใหญ่) วันที่ 5-7, 12-14 กุมภาพันธ์ 2536 จำนวน 10 รอบ
  • จิ้งจอกลอกลาย (Little Foxes) 18-20, 25-27 และ 29-30 กันยายน 2535 ณ โรงละคร A.U.A. จำนวน 12 รอบ ร่วมกับ ชุดาภา จันทเขตต์ รัญญา ศิยานนท์ สุภาภรณ์ คำนวณศิลป์
  • ทู้ตซี่ (Tootsie) 7-9 และ 14-16 พฤษภาคม 2536 ณ โรงละคร A.U.A. (โดโรธี ไมเคิล) จำนวน 10 รอบ ร่วมกับ ลีลาวดี วัชโรบล และกลับมาอีกครั้ง ณ โรงละครกรุงเทพ วันที่ 6-8, 13-15 และ 27-29 สิงหาคม 2536 จำนวน 20 รอบ
  • แฮมเล็ต 4-10 พฤษภาคม 2538 ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ร่วมกับ สินจัย เปล่งพานิช
  • อมาดิอุส 13-15, 20-22, 27-29 กันยายน 2539 ณ โรงละครกรุงเทพ จำนวน 15 รอบ ร่วมกับ แอน ทองประสม อัษฎาวุธ เหลืองสุนทร
  • นางพญางูขาว พ.ศ. 2542 ณ โรงละครกรุงเทพ (หลวงจีนฟาไห่) ร่วมกับ สิริยากร พุกกะเวส นาเดีย นิมิตรวานิช อชิรวุธ สุพรรณเภสัช
  • ART 2-11 มิถุนายน 2543 ณ โรงละครกรุงเทพ
  • Black Comedy เรื่องลับๆตอนดับไฟ 23 กรกฎาคม – 1 สิงหาคม 2547 ณ โรงละครกรุงเทพ ร่วมกับ เมทนี บุรณศิริ เคลลี่ ธนพัฒน์ นาเดีย นิมิตรวานิช เอมี่ กลิ่นประทุม
  • วิวาห์คาบาเรต์ 22-23 และ 29-30 กรกฎาคม 2549 ณ โรงละครกรุงเทพเมโทรโพลิส ร่วมกับ เมทนี บุรณศิริ
  • ฟ้าจรดทราย เดอะมิวสิคัล 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 ถึง 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 ณ เมืองไทยรัชดาลัย เธียเตอร์ (กษัตริย์อาเหม็ด) จำนวน 53 รอบ ร่วมกับ ปฏิภาณ ปฐวีกานต์ มีเรีย เบนเนเดดตี้
  • ทึนทึก 2 40 ปีผ่านคานเพิ่งขยับ 20-23 พฤศจิกายน 2551 ณ เอ็มเธียเตอร์
  • แผ่นดินของเรา เดอะมิวสิคัล 12 – 28 มิถุนายน 2558 ณ เมืองไทยรัชดาลัย เธียเตอร์
  • ละครเชิงตำนานประวัติศาสตร์ล้านนา “เฉลิมขวัญนพบุรี 700 ปี นครเชียงใหม่” เพื่อเฉลิมฉลองเมืองเชียงใหม่ มีอายุครบ 700 ปี ในปี พ.ศ. 2539 วันพุธที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540 ณ วัดสวนดอก (บุปผาราม) จ.เชียงใหม่
  • การแสดงแสง สี เสียง “แม่น้ำของแผ่นดิน” (ปีที่ 3) ชุด”มหาราชจอมราชัน” (The River of Kings III: The Great Conquerors) 15-28 กุมภาพันธ์ 2545 ณ ท่าราชวรดิษ

ละคร ทวิภพ พ.ศ. 2537

ผลงานพิธีกร

  • รายการ ยิ้มใส่ไข่
  • รายการ เสียงติดดาว
  • รายการ คืนวันอาทิตย์ (พ.ศ. 2536) (ช่อง 3)
  • รายการ เจาะโลกมหัศจรรย์ (ช่อง 5)
  • รายการ เจ็ดเจ็ดสี่สิบก้าว พิธีกรคู่กับ หนู คลองเตย (พ.ศ. 2540) (ช่อง 7)
  • รายการ แข่งร้อยได้ล้าน พิธีกรคู่กับ เบญจพล เชยอรุณ (ช่อง 7)
  • รายการ เกมลวงบันลือโลก พิธีกรคู่กับ ไดอาน่า จงจินตนาการ (พ.ศ. 2543) (ช่อง 5)
  • รายการ แชมเปี้ยนเกม (7 ตุลาคม พ.ศ. 2543 – ตุลาคม พ.ศ. 2546) (ช่อง 5)
  • รายการ EX Game (เกมอะไรก่อน) (2546) (ช่อง 5)
  • รายการ เรื่องจริงผ่านจอ (2 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 – 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2551) (ช่อง 7)
  • รายการ บิ๊ก บราเธอร์ (2 เมษายน พ.ศ. 2548 – พ.ศ. 2549 รวม 2 ซีซั่น) (ช่อง ไอทีวี)
  • รายการ จอเหลือง (10 มกราคม พ.ศ. 2552) (ช่อง เอเอสทีวี)
  • รายการ The Audition (พ.ศ. 2552)
  • รายการ ชีวาสยาม (ปัจจุบัน) (ช่อง เอเอสทีวี)
  • รายการ เด็ดยอดกีฬามันส์ (ช่อง 5)
  • รายการ สตาร์คอนเทสต์

ผลงานเพลง

อัลบั้ม

  • 2535 : อัลบั้ม ครั้งหนึ่ง ศรัณยู วงษ์กระจ่าง
  • 2538 : อัลบั้ม รวมเพลงประกอบละคร มนต์รักลูกทุ่ง ชุดที่ 1 และ ชุดที่ 2
  • 2539 : อัลบั้ม หัวใจลูกทุ่ง ศรัณยู วงษ์กระจ่าง
  • 2544 : อัลบั้ม เพลงประกอบละคร นายฮ้อยทมิฬ ชุดที่ 1 และ ชุดที่ 2
  • 193 วัน รำลึก
  • 7 ตุลา รำลึก

เพลง

ปี ชื่อเพลง รายละเอียด
2527 อยากลืม เพลงที่ร้องโดยตัวละคร “บูรพา” ในละคร เก้าอี้ขาวในห้องแดง
เพียงความทรงจำ
2531 เกมกามเทพ เพลงประกอบละคร เกมกามเทพ
2531 รักนิรันดร์ เพลงประกอบละคร เจ้าสาวของอานนท์
2533 วนาสวาท (ร้องคู่กับ รัญญา ศิยานนท์) เพลงประกอบละคร วนาลี
2533 รอยมาร (เวอร์ชันคู่ ร้องกับ เพ็ญ พิสุทธิ์) เพลงประกอบละคร รอยมาร
รอยมาร (เวอร์ชันเดี่ยว)
2534 บุพเพสันนิวาส (เวอร์ชันเดี่ยว) เพลงประกอบละคร วนิดา
บุพเพสันนิวาส (เวอร์ชันคู่ ร้องกับ รัญญา ศิยานนท์)
ยามรัก
ยามชัง
2535 ไฟโชนแสง เพลงประกอบละคร ไฟโชนแสง
2537 ปลูกรัก เพลงประกอบละคร ทวิภพ
2538 สัญญาก่อนลา (ร้องคู่ ณัฐริกา ธรรมปรีดานันท์) เพลงประกอบละคร มนต์รักลูกทุ่ง ชุดที่ 1
สิบหมื่น
เปิดหัวใจ (ร้องคู่ ณัฐริกา ธรรมปรีดานันท์)
แม่ร้อยใจ
ลาก่อนเพื่อนยาก
ทวงสัญญา (ร้องคู่ ณัฐริกา ธรรมปรีดานันท์) เพลงประกอบละคร มนต์รักลูกทุ่ง ชุดที่ 2
ลุยกรุง (ร้องคู่ อนันต์ บุนนาค)
2539 ทุกสิ่งสำคัญที่ใจ เพลงประกอบภาพยนตร์ เรือนมยุรา
2542 รักนิรันดร์ (ร้องคู่ ณัฐริกา ธรรมปรีดานันท์) เพลงประกอบละคร โดมทอง
2544 เกี่ยวก้อยสัญญา (ร้องคู่ น้ำฝน โกมลฐิติ) เพลงประกอบละคร นายฮ้อยทมิฬ ชุดที่ 1
คนขายควาย (ร้องร่วมกับ ไมค์ ภิรมย์พร & ดิเรก อมาตยกุล)
อภัยอ้ายด้วย
ต้อนควาย เพลงประกอบละคร นายฮ้อยทมิฬ ชุดที่ 2
ใจคนจร

ละคร ด้วยแรงอธิษฐาน พ.ศ. 2539

ผลงานเบื้องหลัง

ผู้จัดละครและผู้กำกับการแสดง

ละครโทรทัศน์ ละครเวที และภาพยนตร์
ปี เรื่อง ประเภท ผลิตโดย ออกอากาศ/สถานที่เปิดแสดง นักแสดงนำ อ้างอิง
2541 เทพนิยายนายเสนาะ ละครโทรทัศน์ ช่อง 3
2545 น้ำพุ ละครโทรทัศน์ คลิค เทเลวิชั่น จำกัด ช่อง 7 สินจัย เปล่งพานิช / จิรายุส วรรธนะสิน / ตะวัน จารุจินดา / เฌอมาลย์ บุญยศักดิ์
ถนนสายหัวใจ ละครโทรทัศน์ คลิค เทเลวิชั่น จำกัด ช่อง ไอทีวี ดนัย สมุทรโคจร / ภัครมัย โปตระนันทน์ / แอนนี่ บรู๊ค / สราวุฒิ พุ่มทอง / ชรัส เฟื่องอารมย์ / กาญจนาพร ปลอดภัย
2546 สุภาพบุรุษลูกผู้ชาย ละครโทรทัศน์ คลิค เทเลวิชั่น จำกัด ช่อง 7 ตะวัน จารุจินดา / วรนุช ภิรมย์ภักดี / มาติกา อรรถกรศิริโพธิ์ / ศิวัฒน์ โชติชัยชรินทร์
2547 หลังคาแดง ละครโทรทัศน์ คลิค เทเลวิชั่น จำกัด ช่อง 7 ดนุพร ปุณณกันต์ / จีรนันท์ มะโนแจ่ม / สินจัย เปล่งพานิช / ศรัณยู วงษ์กระจ่าง
2548 ร.ศ. 112 คนไทยรักแผ่นดิน ละครโทรทัศน์ (ละครพิเศษ) แชนแนลซี ช่อง 5 สินจัย เปล่งพานิช / ชไมพร จตุรภุช / อนุชิต สพันธุ์พงษ์ / พิมลรัตน์ พิศลยบุตร
2549 อำมหิตพิศวาส ภาพยนตร์ สหมงคลฟิล์ม ศรัณยู วงษ์กระจ่าง / บงกช คงมาลัย / ตะวัน จารุจินดา / ปรางทอง ชั่งธรรม
2551 ตราบสิ้นดินฟ้า ละครพีเรียด บริษัท เอ็กแซ็กท์ จำกัด ช่อง 5 ยุรนันท์ ภมรมนตรี / คัทลียา แมคอินทอช / อนุวัฒน์ นิวาตวงศ์
/ วิทวัส สิงห์ลำพอง / เมย์ เฟื่องอารมย์ / ณหทัย พิจิตรา
2554 คนโขน ภาพยนตร์ สหมงคลฟิล์ม นิรุตติ์ ศิริจรรยา / สรพงศ์ ชาตรี / เพ็ญพักตร์ ศิริกุล / พิมลรัตน์ พิศลยบุตร
/ นันทรัตน์ ชาวราษฎร์ / อภิญญา รุ่งพิทักษ์มานะ / ขจรพงศ์ พรพิสุทธิ์
2555 หลังคาแดง ละครเวที สามัญการละคร M Theatre โทนี่ รากแก่น / อริย์กันตา มหาพฤกษ์พงศ์
2556 สุภาพบุรุษลูกผู้ชาย ละครโทรทัศน์ สามัญการละคร ช่อง 7 ศรัณย์ ศิริลักษณ์ / ธัญญะสุภางค์ จิรปรีชานนท์ / ณัฐชา นวลแจ่ม / ปิยพันธ์ ขำกฤษ / กรเศก โคนินทร์
2557 หัวใจเถื่อน ละครโทรทัศน์ สามัญการละคร ช่อง 7 อรรคพันธ์ นะมาตร์ / อุษามณี ไวทยานนท์ / พิชยดนย์ พึ่งพันธ์ / รัญดภา มันตะลัมพะ
/ สุรวุฑ ไหมกัน / พิมพ์พรรณ ชลายนคุปต์ / ศรัณย่า ชุณหศาสตร์
2558 รอยรักแรงแค้น ละครโทรทัศน์ สามัญการละคร ช่อง 7 ภัทรเดช สงวนความดี / ฝนทิพย์ วัชรตระกูล / ธัญญะสุภางค์ จิรปรีชานนท์ / วัชรบูล ลี้สุวรรณ
/ นวพล ภูวดล / รัญดภา มันตะลัมพะ / พลรัตน์ รอดรักษา / ปิติศักดิ์ เยาวนานนท์
2559 บัลลังก์หงส์ ละครโทรทัศน์ สามัญการละคร ช่อง 7 ภัทรเดช สงวนความดี / พิมพ์ชนก ลือวิเศษไพบูลย์ / วีรคณิศร์ กานต์วัฒนกุล / รัญดภา มันตะลัมพะ / เพ็ญพักตร์ ศิริกุล / พีรกร โพธิ์ประเสริฐ / ปทิตตา อัธยาตมวิทยา / อนิสา นูกราฮา / พรรัมภา สุขได้พึ่ง / ฐิตินันท์ สุวรรณถาวร
จงรักภักดี ละครเทิดพระเกียรติ สามัญการละคร ช่อง 7 ศิวัฒน์ โชติชัยชรินทร์ / กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า / วริฏฐิสา ลิ้มธรรมมหิศร / อนุวัฒน์ ชูเชิดรัตนา / จิณณะ นวรัตน์ / ศรัณย่า ชุณหศาสตร์
2561 สัมผัสรัตติกาล ละครโททัศน์ สามัญการละคร จีเอ็มเอ็ม 25 อนุวัฒน์ ชูเชิดรัตนา / มชณต สุวรรณมาศ / ณัฐ ศักดาทร / ธันย์ชนก ฤทธินาคา / นิรุตติ์ ศิริจรรยา / วิลลี่ แมคอินทอช / สันติสุข พรหมศิริ
Club Friday the Series 10 รักนอกใจ ตอน รักที่ไม่อยากเลือก ละครซีรีส์ สามัญการละคร จีเอ็มเอ็ม 25 อนุวัฒน์ ชูเชิดรัตนา / นิดา พัชรวีระพงษ์ / ณัฏฐ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา / ศรุชา เพชรโรจน์
2562 ดงผู้ดี ละครโทรทัศน์ สามัญการละคร ช่อง 8 เรืองศักดิ์ ลอยชูศักดิ์ / กฤษฎา พรเวโรจน์ / ณัฐชา เจกะ / พิมพ์พรรณ ชลายนคุปต์ / สุพจน์ จันทร์เจริญ / อริสรา ทองบริสุทธิ์/ เดือนเต็ม สาลิตุล / มยุริญ ผ่องผุดพันธ์
ปาฏิหาริย์กาลเวลา ละครโทรทัศน์ สามัญการละคร พีพีทีวี อนุวัฒน์ ชูเชิดรัตนา / คะนึงนิจ จักรสมิทธานนท์

ผลงานพากย์เสียง

  • 2541 : ภาพยนตร์ The X-Files Fight The Future (บท Fox Mulder)
  • 2542 : ภาพยนตร์ Three Kings (บท Major Archie Gates)

รางวัล

รางวัลหลัก

ปี (พ.ศ.) รางวัล ผลงานที่ได้เข้าชิง สาขา ผล อ้างอิง
2537 รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี หรือ รางวัลตุ๊กตาทอง ครั้งที่ 26 ภาพยนตร์ มหัศจรรย์แห่งรัก นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม เสนอชื่อเข้าชิง
2537 รางวัลเมขลา ครั้งที่ 14 ละคร ทวิภพ ผู้แสดงนำชายดีเด่น ชนะ
2537 รางวัลโทรทัศน์ทองคำ ครั้งที่ 9 รายการ คืนวันอาทิตย์ ผู้ดำเนินรายการชายดีเด่น ชนะ
2538 รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 5 ภาพยนตร์ บินแหลก นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม เสนอชื่อเข้าชิง
2543 รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี หรือ รางวัลตุ๊กตาทอง ครั้งที่ 24 ภาพยนตร์ สตางค์ ผู้แสดงประกอบชายยอดเยี่ยม เสนอชื่อเข้าชิง
2549 รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี หรือ รางวัลตุ๊กตาทอง ครั้งที่ 36 ภาพยนตร์ The Passion อำมหิตพิศวาส นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม เสนอชื่อเข้าชิง
2549 รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 16 ภาพยนตร์ The Passion อำมหิตพิศวาส ผู้แสดงนำชายยอดเยี่ยม เสนอชื่อเข้าชิง
2556 รางวัลนาฏราช ครั้งที่ 5 ละคร สุภาพบุรุษลูกผู้ชาย ผู้กำกับยอดเยี่ยม เสนอชื่อเข้าชิง
กำกับภาพยอดเยี่ยม เสนอชื่อเข้าชิง
บทโทรทัศน์ยอดเยี่ยม เสนอชื่อเข้าชิง
2556 รางวัลโทรทัศน์ทองคำ ครั้งที่ 28 ละคร สุภาพบุรุษลูกผู้ชาย ผู้กำกับละครดีเด่น เสนอชื่อเข้าชิง
2556 คมชัดลึก อวอร์ด ครั้งที่ 11 ละคร สุภาพบุรุษลูกผู้ชาย ผู้กำกับละครโทรทัศน์ยอดเยี่ยม เสนอชื่อเข้าชิง
2559 รางวัลโทรทัศน์ทองคำ ครั้งที่ 30 ละคร รอยรักแรงแค้น องค์ประกอบศิลป์ดีเด่น เสนอชื่อเข้าชิง
2559 คมชัดลึก อวอร์ด ครั้งที่ 13 ละคร รอยรักแรงแค้น ผู้กำกับละครยอดเยี่ยม เสนอชื่อเข้าชิง
บทละครโทรทัศน์ยอดเยี่ยม เสนอชื่อเข้าชิง
2559 รางวัลนาฏราช ครั้งที่ 7 ประจำปี พ.ศ. 2558 ละคร รอยรักแรงแค้น รางวัลผู้กำกับยอดเยี่ยม เสนอชื่อเข้าชิง

รางวัลโหวต

  • รางวัลดราม่าอวอร์ด 2013 สาขาผู้กำกับละครยอดเยี่ยม จากละคร สุภาพบุรุษลูกผู้ชาย (2556)
  • รางวัล EFM Awards ประจำเดือน กรกฎาคม สาขาละครยอดนิยม จากละคร หัวใจเถื่อน (2557)
  • เข้าชิงรางวัล เฉลิมไทยอวอร์ด ครั้งที่ 4 ประจำปี 2549 (25/2/2550) ภาพยนตร์ The Passion อำมหิตพิศวาส

ที่มาและภาพ: วิกิพีเดีย

P. Wanutch

อัพเดททุกความบันเทิง ทั้งไทย ต่างประเทศ K-pop รีวิวหนัง เพลง คอนเสิร์ต พร้อมนำเสนอเรื่องราวที่น่าสนใจและหลากหลาย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button